คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิรูปที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายและการส่งมอบการครอบครองทำให้จำเลยมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะพยายามปฏิรูปที่ดิน
ป. ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทได้ขายที่ดินพิพาทและได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่โจทก์จะประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย แล้วจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่า ป. ได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนที่ดินพิพาทโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย จำเลยรับโอนมาโดยชอบติดต่อกันมา จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 แม้ต่อมา ป. จะยื่นคำร้องต่อโจทก์ขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและโจทก์ได้พิจารณาจัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ได้ตามขอ แต่เมื่อในขณะโจทก์จัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น ป. มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยไปแล้ว จึงไม่ใช่เกษตรกรผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไป การจัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ตลอดจนการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้ ป. จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศของโจทก์เองที่กำหนดให้ผู้ขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินต้องเป็นเกษตรกรผู้ได้เข้าทำประโยชน์หรือครอบครองที่ดินนั้นอยู่ก่อน โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อการเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินทำประโยชน์ สิทธิครอบครองย่อมเกิดขึ้นก่อนสิทธิปฏิรูปที่ดิน การจัดให้ผู้ไม่สิทธิครอบครองเข้าทำประโยชน์จึงไม่ชอบ
ป. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และมาตรา 1778 การที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์จัดให้ ป. ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงขัดต่อหลักเกณฑ์ตามประกาศของโจทก์ข้อ 1 ข. (1) เพราะขณะโจทก์จัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์นั้นเป็นการกระทำภายหลังวันที่ 19 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันออกประกาศอันเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป. ได้มอบการครอบครองให้จำเลยไปแล้ว ป. จึงไม่ใช่เกษตรกรผู้ครอบครองที่ดิน การจัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ตลอดจนการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้ ป. จึงไม่ชอบ
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์ฟ้องว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดย ป. สละการครอบครองให้ มิได้ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นโจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท และไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะ แม้จะอ้างอิง พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน
จำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อจำเลยที่ 1 จัดซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ผู้ที่มิใช่เจ้าของ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายจึงตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 36 ทวิ ประกอบมาตรา 37 มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินปฏิรูปการเกษตร: เกษตรกรต้องไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอ
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีเจตนารมณ์เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและเกษตรกรผู้นั้นจะต้องไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว จำนวน 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา โดยทำนาทั้งแปลงจึงถือได้ว่าโจทก์มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพแล้ว โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับโอนที่ดินพิพาทแม้ทางมรดกตกทอดของบิดาโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิจะได้รับมรดกที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะถึงแม้ได้รับมาก็ไม่มีมีสิทธิรับโอนอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้รับโอนสิทธิทำกินในเขตปฏิรูปที่ดิน: เกษตรกรต้องไม่มีที่ดินทำกินพอเลี้ยงชีพ
โจทก์เป็นเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา โดยทำนาทั้งแปลง ถือได้ว่าโจทก์มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองและมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพแล้ว โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับโอนที่ดินพิพาทแม้ทางมรดกตกทอด จำเลยซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชอบที่จะไม่ออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ต้องมีการส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. ก่อน
พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4) บัญญัติว่า "ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น" ดังนั้น ที่ดินพิพาทเมื่อยังมิได้มีการ ส่งมอบพื้นที่ให้แก่ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้วก็ตาม พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ในทันที พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติด้วยพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปที่ดิน: การส่งมอบพื้นที่เป็นสำคัญ
ที่ดินพิพาทอยู่ในโซนซีของป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ยังมิได้ส่งมอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้วแต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที ยังคงป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม ที่พิพาทจึงยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติโดย พ.ร.ฎ.ปฏิรูปที่ดิน และผลกระทบต่อความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ภายหลังเกิดเหตุ มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ที่ดินที่พิพาทตั้งอยู่ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพของป่าสงวนแห่งชาติในเขตตำบลอันเป็นท้องที่เกิดเหตุตามพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4) ที่ดินที่เกิดเหตุไม่เป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกต่อไป และถือได้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกความผิดของจำเลยทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ระบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินที่เกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของผู้แจ้งการครอบครองค้าง, การออกโฉนด, และความสัมพันธ์กับ พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ซึ่ง พ. ยังไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อเนื่องตลอดมา เมื่อมีการประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดิน โจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทต่อเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 27 ตรี เนื่องจากโจทก์เดินทางไปประกอบอาชีพที่อื่น แต่โจทก์ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อนำสำรวจรังวัดออกโฉนดที่ดินเมื่อมีการเดินสำรวจแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ให้รออยู่ก่อน ครั้นเมื่อไปพบตามกำหนดก็ได้รับแจ้งว่าหมดโครงการเดินสำรวจแล้ว แสดงว่าเหตุขัดข้องซึ่งทำให้ไม่มีการสำรวจรังวัดที่ดินพิพาทตามวันเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ปิดประกาศมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ ทั้งโจทก์ได้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดแล้ว ถือได้ว่า โจทก์ยังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินพิพาทและเป็นผู้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี แห่ง ป.ที่ดิน ซึ่งยังไม่พ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์จึงเป็นกรณีผู้ตกค้างการแจ้งการครอบครองสามารถขอออกโฉนดเป็นการเฉพาะรายได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 59 ทวิ วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ไม่ได้ยกเลิกสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดโดยจำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดที่ดินได้ เห็นควรออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการรังวัดตรวจสอบรายละเอียดและดำเนินการตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะปฏิเสธไม่ยอมออกโฉนดในที่ดินพิพาทเพียงเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการขอเอกสารสิทธิในที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 อีก เพราะโจทก์มีสิทธิดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดินได้อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การขอออกโฉนดกรณีตกค้างการแจ้งการครอบครอง แม้มีเขตปฏิรูปที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก พ.ซึ่งก่อนหน้านี้พ. ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 โจทก์ เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อเนื่องตลอดมา เมื่อมีการประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการเดินสำรวจ เพื่อออกโฉนดที่ดินโจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาท ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 27 ตรี เนื่องจากโจทก์เดินทางไปประกอบอาชีพที่อื่น แต่โจทก์ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อนำสำรวจรังวัดออกโฉนดที่ดินเมื่อมีการเดินสำรวจแล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้รออยู่ก่อนครั้นเมื่อไปพบตามกำหนดก็ได้รับแจ้งว่าหมดโครงการเดินสำรวจแล้ว แสดงว่าเหตุขัดข้องซึ่งทำให้ไม่มีการสำรวจรังวัดที่ดินพิพาท ตามวันเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ปิดประกาศ มิใช่เป็นความผิด ของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานที่ดิน ไปทำการรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อขอออกโฉนด ย่อมถือได้ว่า โจทก์ยังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินพิพาทและเป็นผู้ปฏิบัติตาม มาตรา 27 ตรี ซึ่งยังไม่พ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด การขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์จึงเป็นกรณีผู้ตกค้างการแจ้ง การครอบครองสามารถขอออกโฉนดเป็นการเฉพาะรายได้ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 59 ทวิ วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518ไม่ได้ยกเลิกสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ แต่อย่างใดเมื่อโจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กฎหมายกำหนดโดยจำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยมิได้แจ้งการครอบครองว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดที่ดินได้และเห็นควร ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการ รังวัดตรวจสอบรายละเอียดและดำเนินการตามระเบียบ ของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะปฏิเสธไม่ยอมออกโฉนดที่ดินพิพาทเพียงเพื่อให้โจทก์ไป ดำเนินการขอเอกสารสิทธิในที่ดินพิพาทตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ อีก เพราะโจทก์มีสิทธิดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ ได้อยู่แล้ว
of 4