พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้บริษัทผู้รับอาวัลถูกระงับกิจการ และมีกระบวนการปฏิรูปสถาบันการเงิน
จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการบริษัทเงินทุนเป็นผู้รับอาวัลให้แก่โจทก์ แม้ก่อนที่ตั๋วสัญญาใช้เงินจะถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ และต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (คณะกรรมการ ปรส.) ได้มีประกาศเรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ก็ตาม คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดังกล่าวมิได้มีผลให้หนี้ระหว่างจำเลยที่ 2 และโจทก์ระงับไป จำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่เช่นเดิม ส่วนการบังคับชำระหนี้จะดำเนินการโดยวิธีใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 26 แห่ง พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงินจะเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายบัญญัติห้ามไว้แต่เฉพาะจะฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลาย ในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ปรส. ไม่ได้เท่านั้น ส่วนประกาศของคณะกรรมการ ปรส. ว่าด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ก็มิได้บังคับว่า เจ้าหนี้จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการ ปรส. เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้จากการปฏิรูปสถาบันการเงิน ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดทางอาญา
แม้สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยจะรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัท ก. ไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินพ.ศ. 2540 มาตรา 27 ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงิน ย่อมถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามสัญญากู้เงินที่จำเลยได้ออกเช็คนั้นสิ้นผลผูกพัน โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะสามารถดำเนินกิจการและรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่ คดีจึงไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้จากการปฏิรูปสถาบันการเงิน ไม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คลดลง
แม้สัญญากู้เงินซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามจะรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ของโจทก์ซึ่งถูกองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการและได้ขายให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ที่ออกเช็คที่ถูกบังคับโอนตามพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 27ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทแต่อย่างใดจนกว่าจะได้มีการใช้เงิน เมื่อจำเลยทั้งสามยังมิได้ชำระเงินตามสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ที่ออกเช็คดังกล่าวมูลหนี้ตามสัญญากู้เงินยังไม่สิ้นผลผูกพัน ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะสามารถดำเนินกิจการและรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้หรือไม่คดีจึงไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39