คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิเสธชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสัญญาซื้อขาย, หนี้ค่าตั๋วโดยสาร, สิทธิปฏิเสธการชำระหนี้บางส่วน, สัญญาค้ำประกัน
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทาง กรุงเทพมหานคร-ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้นตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วนจำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุผลเลิกจ้างสมเหตุสมผล & การปฏิเสธรับชำระหนี้ทำให้เป็นฝ่ายผิดนัด
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยไม่มีความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์ต่อไป การที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมีความจำเป็นต้องยุบเลิกตำแหน่งของโจทก์เพื่อปรับภาวะทางเศรษฐกิจของจำเลย จึงเป็นสาเหตุเดียวกันแม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยสาเหตุอื่นมาด้วย ก็ไม่เป็นการนอกเหนือเหตุในหนังสือเลิกจ้าง และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
จำเลยเสนอที่จะจ่ายเงินจำนวน 78,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโดยไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย แต่โจทก์ไม่สนองรับโดยมีหนังสือถึงธนาคารที่รับฝากเงินเดือนของโจทก์ห้ามมิให้รับเงินที่จำเลยจะจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพันนับแต่วันที่โจทก์ปฏิเสธ จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
จำเลยเสนอจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับจำนวนตามฟ้องโดยจะนำเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ แต่โจทก์กลับมีหนังสือถึงธนาคารมิให้ยอมรับเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่รับชำระโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าชดเชยนับแต่วันที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 221.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389-390/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็ค การพิจารณาคดีความเกี่ยวพัน และการปฏิเสธชำระหนี้โดยชอบธรรม
คดีความผิดเกี่ยวพันกัน เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25 หาจำต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอไม่
จำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง เพื่อนำไปลงทุนรับเหมาก่อสร้างอาคารของกรมตำรวจครั้งแรกกู้ 150,000 บาท จำเลยทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 18 พ.ย. 2499 ลงจำนวนเงิน 150,000 บาท ให้โจทก์ไว้ กับทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์ไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจด้วย ครั้งที่ 2 กู้ 490,000 บาท ทำสัญญากู้และออกเช็คล่วงหน้าลงวันที่ 28 ก.พ. 2500 ลงจำนวนเงิน 490,000 บาท กับทำหนังสือมอบฉันทะมอบให้โจทก์เหมือนอย่างกู้ครั้งแรก ต่อมาวันที่ 26 ก.ย. 2499 โจทก์นำใบมอบฉันทะนั้นไปรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมตำรวจเป็นเงิน 249,000 บาท โดยโจทก์มิได้นำเงินนั้นมามอบให้จำเลยหรือเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคาร จึงต้องถือว่าเป็นเงินที่จำเลยชำระหนี้ ให้โจทก์ในมูลหนี้เงินกู้ทั้ง 2 ราย และไม่พอชำระหนี้ได้หมดทั้ง 2 ราย เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ต้องถือว่า หนี้รายไหนถึงกำหนดก่อน เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ดังนั้น หนี้เงินกู้รายแรกซึ่งถึงกำหนดชำระก่อน ก็ต้องถือว่าได้ถูกชำระหนี้หมดสิ้นไปแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามมิให้ธนาคารจ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็คฉบับแรก นั้นได้ ส่วนเงินที่โจทก์รับแทนจำเลยจากกรมตำรวจนั้น เมื่อหักหนี้เงินกู้ทั้ง 2 รายแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เพียง 391,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ให้เต็มจำนวน 490,000 บาท ตามเช็คฉบับหลังได้ เมื่อโจทก์เอาเช็คฉบับหลังไปขึ้นเงิน เพื่อเอาชำระหนี้ตนเกินกว่าที่ตนมีสิทธิจำเลยย่อมปฏิเสธชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คฉบับหลัง จึงไม่ใช่เป็นการห้ามโดยเจตนาทุจริต การที่โจทก์นำเช็ค 2 ฉบับ ดังกล่าวไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดเมื่อเจ้าหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้โดยไม่มีเหตุผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701
บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการวางทรัพย์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพื่อที่ลูกหนี้จะได้หลุดพ้นจากความรับผิดเป็นคนละเรื่องกับการที่ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 โดยไม่ต้องมีการวางทรัพย์
การที่จำเลยที่ 3 นำแคชเชียรเช็คพร้อมเงินสดตามจำนวนที่ได้รับแจ้งจากพนักงานของธนาคารโจทก์ไปชำระ ณ สาขาของโจทก์ที่รับผิดชอบเรื่องหนี้สินรายพิพาท จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถึงกำหนดโดยชอบ เมื่อพนักงานของโจทก์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 3 เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคสอง