พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและการร่วมรับผิดของเจ้าของรถ กรณีเกิดอุบัติเหตุจากความประมาทของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง มีรถบรรทุกประกอบการถึง 30 คัน โดยไม่ใช่รถบรรทุกของจำเลยที่ 1 เลย แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีรายได้และผลประโยชน์มาจากรถบรรทุกที่เข้าร่วมประกอบการขนส่ง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 4จดทะเบียนเข้าร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1 และด้านข้างรถก็พ่นสีระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมผูกพันตนเข้าร่วมกิจการและรับผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขับรถบรรทุกคันดังกล่าวในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 โดยประมาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 5เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในผลแห่งละเมิดนั้น ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),1087
จำเลยที่ 6 เป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกที่ให้จำเลยที่ 4 เช่าซื้อไปจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองใช้รถคันดังกล่าวจึงมีอำนาจนำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 1ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 และแม้ว่าจำเลยที่ 2จะเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 6 และร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนตั้งจำเลยที่ 1 ขึ้นมาเพื่อประกอบการขนส่งก็ตาม ก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและเป็นกิจการของจำเลยที่ 1โดยลำพัง ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 6 ร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 6 เป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกที่ให้จำเลยที่ 4 เช่าซื้อไปจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองใช้รถคันดังกล่าวจึงมีอำนาจนำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 1ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 และแม้ว่าจำเลยที่ 2จะเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 6 และร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนตั้งจำเลยที่ 1 ขึ้นมาเพื่อประกอบการขนส่งก็ตาม ก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและเป็นกิจการของจำเลยที่ 1โดยลำพัง ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 6 ร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: การประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตทำให้เจ้าของรถต้องรับผิดร่วม
จำเลยที่ 2 ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลรถบรรทุกคันเกิดเหตุ จึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ กฎกระทรวงเงื่อนไข คำสั่งและระเบียบ ซึ่งออกโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวและตามที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลระบุไว้ และต้องเป็นการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ควรทราบดีว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุการที่จำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปประกอบการขนส่ง จึงเป็นการประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 2 อาจทำให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเข้าใจว่าเป็นการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลน้ำหนักไม่เกิน 1.6 ตัน ไม่ต้องขออนุญาตประกอบการขนส่ง
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 มาตรา 4 กำหนดให้รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ไม่ต้องถูกควบคุมตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ เมื่อรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่จำเลยใช้บรรทุกขนส่งคนโดยสารมีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม จึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้จำเลยจะนำรถคันนั้นมาประกอบการขนส่งประจำทางบรรทุกคนโดยสารเพื่อสินจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 ประกอบด้วยมาตรา 126.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งเมื่อยินยอมให้ผู้อื่นใช้รถในการขนส่ง และการเป็นลูกจ้างในทางการที่จ้าง
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ จึงต้องใช้รถสำหรับทำการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของจำเลยที่ 3 เท่านั้น เพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 จะได้โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปแล้ว ก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ของรถเมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้บอกเลิกประกอบการขนส่ง แต่กลับยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่งตามใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งของจำเลยที่ 3 ได้อีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันประกอบการขนส่ง และถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อการละเมิดของลูกจ้าง แม้จะโอนกรรมสิทธิ์รถไปแล้ว
จำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำขอประกอบการขนส่งรถยนต์บรรทุกที่เช่าซื้อมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดช. และตามใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ระบุชัดแจ้งว่าผู้ขอจะใช้รถสำหรับทำการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของผู้ขอเท่านั้น จะไม่นำรถหรือยินยอมให้บุคคลอื่นนำรถไปทำการรับจ้างขนส่งสินค้าหรือบุคคลแต่ประการใด แม้จำเลยที่ 3 ได้โอนสิทธิการเช่าซื้อรถดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ไปแล้ว ก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ของรถเท่านั้นจำเลยที่ 3 หาได้บอกเลิกการประกอบการขนส่งที่เป็นสิทธิเฉพาะ ตัวของจำเลยที่ 3 แก่ทางราชการไม่ กลับยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปประกอบการขนส่งในชื่อ จำเลยที่ 3 ได้อีกเมื่อรถคันดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับขี่ได้กระทำละเมิดแก่โจทก์ได้รับความเสียหาย พฤติการณ์จึงถือว่าจำเลยที่ 3 และที่ 2 ร่วมกันประกอบการขนส่ง และถือว่าจำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ที่ปฏิบัติการไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดกับจำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 12 ที่นั่ง ไม่ต้องขออนุญาตประกอบการขนส่ง
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้มาแล่นรับส่งคนโดยสารเพื่อสินจ้างอันมีลักษณะเป็นการประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่บริษัทขนส่ง จำกัด ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางนั้น เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินสิบสองคน ซึ่งมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 5(2) บัญญัติไว้ว่าเป็นรถยนต์ที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อละเมิดของตัวแทนและใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. และจำเลยที่ 3 ประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองและเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 4 ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลรถยนต์คันเกิดเหตุ รวมทั้งจำเลยที่ 4 เป็นตัวการของ ส. และจำเลยที่ 3 โดยยินยอมให้ ส. และจำเลยที่ 3 นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 4 ตามคำฟ้องจึงเป็นการขอให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ ส. ตัวแทนกระทำการตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะเป็นตัวการ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น