พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีเทปวีดีโอซีดี: สาระสำคัญคือการกระทำผิดฐานประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่การใช้ของกลางในการกระทำความผิด
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ฯ มาตรา 34 นั้น สาระสำคัญในการกระทำความผิดอยู่ที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน แผ่นวีดีโอซีดีของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลจะพึงมีอำนาจสั่งริบได้ ตาม ป.อ. มาตรา 33 และประเด็นนี้เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบแผ่นวีดีโอซีดีดังกล่าวมาในคำฟ้อง แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานต่างประเทศ: จำเลยต้องประกอบธุรกิจจริง จึงจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จัดหางานหมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างโดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้น การที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้จะต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน โจทก์จึงต้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางาน หรือดำเนินการเพื่อส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศแต่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ เพราะจำเลยไม่เคยไปติดต่อหาสถานที่ทำงานในต่างประเทศมาก่อนเลย แสดงว่าจำเลยมิได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30วรรคหนึ่งและมาตรา 82 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจในไทย การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบธุรกิจมีผลต่ออำนาจฟ้อง
การฟ้องให้ล้มละลายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 7 โดยลูกหนี้ต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ล้มละลายหรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น แม้ตามอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินเดียเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ข้อ 5 อนุ 4 ที่โจทกอ้างจะถือได้ว่าจำเลยมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แต่คำว่า "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาดังกล่าว ข้อ 5 อนุ 1 และ 2 หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และหมายความรวมถึง (ก) สถานจัดการ (ข) สาขาสำนักงาน (ง) โรงงาน (จ) โรงช่าง...และตามอนุ 4 (ค) หมายถึง บุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับคำสั่งซื้อซึ่งกระทำในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของการดำเนินการในการประกอบธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรแก่บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย ตาม พ.ร.ฏ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ไม่เกี่ยวกับระยะเวลาในการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพราะใบอนุญาตสิ้นอายุไปแล้ว จึงไม่มีการประกอบธุรกิจ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ส่วนการประกอบธุรกิจในประเทศนั้น เมื่อใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสิ้นอายุแล้ว จำเลยไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปอีกได้ ทั้งจำเลยปิดการประกอบธุรกิจไปแล้ว และโจทก์เพิ่งฟ้องคดีหลังจากจำเลยยื่นอุทธรณ์การประเมินเกือบ 10 ปี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรในขณะที่มีการขอให้ล้มละลาย หรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การมีภูมิลำเนา/ประกอบธุรกิจ ต้องมีในขณะฟ้องหรือภายใน 1 ปี ก่อน
ตามอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดียถือได้ว่าบริษัทจำเลยมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แต่คำว่า "สถานประกอบการถาวร"ตามอนุสัญญาดังกล่าว เป็นเรื่องเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ไม่เกี่ยวกับระยะเวลาในการประกอบธุรกิจดังนั้น เมื่อใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยของจำเลยสิ้นอายุไปแล้ว ไม่มีการประกอบธุรกิจ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทย การที่ใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2533 และกรมสรรพากรโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ก็มิใช่กรณีที่จำเลยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรในขณะที่มีการขอให้ล้มละลายหรือภายในหนึ่งปีก่อนนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า: ลูกหนี้ประกอบธุรกิจ อายุความ 5 ปี
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5)ที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 193/34(1) ต้องคำนึงถึงสถานะภาพของฝ่ายลูกหนี้เป็นสำคัญ คือหากลูกหนี้เป็นผู้อุปโภคหรือบริโภคเองแล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะให้ลูกหนี้ชำระหนี้มีกำหนดอายุความสองปี แต่ถ้าลูกหนี้ได้ใช้ ประกอบธุรกิจของลูกหนี้ต่อไปอีกต่อหนึ่งแล้ว สิทธิเรียกร้องดังกล่าว มีกำหนดอายุความห้าปี เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อแผ่นพลาสติก จากโจทก์เพื่อใช้เอง แต่ได้ใช้ประกอบกิจการค้าของจำเลยทั้งสอง เพื่อแสวงหากำไรต่อไปอีกทอดหนึ่ง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมี อายุความห้าปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง แม้ชักชวนไปทำงานต่างประเทศ
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อ ไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน จัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหา ลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทน หรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คน หางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้วจำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหา ลูกจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อ เป็นเหตุหลอกลวง จ. ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ที่ใช้อยู่ในขณะ ที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจากพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 34ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวง ผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวงต้องระวางโทษ แต่พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 มิถุนายน 2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อชำระหนี้และประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นการค้ามีหน้าที่เสียภาษี แม้จะครอบครองเกิน 5 ปี
แม้โจทก์จะโอนที่ดินใช้หนี้ให้แก่ ส. ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีเงินได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินแล้ว การที่โจทก์ประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้านขายพร้อมที่ดินและที่ดินที่โจทก์โอนตีใช้หนี้เป็นที่ดินแปลงหนึ่งในจำนวนหลายแปลงที่โจทก์จัดสรรขายเพียงแต่วิธีการชำระเงินให้โจทก์เป็นการหักกลบลบหนี้ต่อกันเท่านั้น ดังนั้น การโอนที่ดินตีใช้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นการขายสินค้าอย่างหนึ่ง โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในประเภท 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อโจทก์มีอาชีพประกอบการค้าที่ดินแล้ว แม้จะครอบครองมาเกิน 5 ปีก็ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการค้าหรือหากำไร ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์แล้ว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมิน เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการประกอบกิจการของโจทก์เลย โจทก์เพิ่งมายื่นแบบชำระภาษีเนื่องจากมีการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ยื่นแบบ ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนา หลีกเลี่ยงการเสียภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บตามการประเมิน คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีกส่วนเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 และ 89 ทวิที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาคมการค้ามิอาจประกอบธุรกิจค้าหรือวิสาหกิจ การยืมชื่อเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทสมาคมการค้าตาม พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ.2509 มาตรา 11 โจทก์เสนอต่อที่ประชุมกรรมการจำเลยที่ 1ขอเข้าทำโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์การค้าอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยขอยืมชื่อจำเลยที่ 1 มาใช้ โดยโจทก์เป็นผู้รับผิดชอบในด้านการลงทุนการก่อสร้างการจัดจำหน่าย และอื่น ๆ อีก ที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ลงมติอนุมัติตามที่โจทก์เสนอ ดังนี้ ลักษณะที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ยืมชื่อจำเลยที่ 1ไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายตามที่โจทก์เสนอขอยืมนั้นก็เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายอาคารดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการรู้เห็นร่วมกันเพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายอาคารในนามของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจการค้าหรือประกอบวิสาหกิจในนามของจำเลยที่ 1นั่นเอง ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ.2509 มาตรา 22การกระทำของโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยวิธีการที่กล่าวมาแล้วเห็นได้ชัดว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทกฏหมายดังกล่าวอันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อห้ามมิให้สมาคมการค้าดำเนินการใด ๆ ที่จะเป็นผลกระทบกระเทือนการค้าเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การกระทำของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เช่นนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม และศาลฎีกามีอำนาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้เองตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1อนุมัติให้โจทก์ยืมชื่อจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายอาคารดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกัน จึงไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์เช่นนั้นต่อกันและเป็นการกระทำที่เสียเปล่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่ในฐานะเดิมเหมือนมิได้มีการกระทำดังกล่าวต่อกันเลย ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว หาใช่สัญญาต่างตอบแทนที่จะมีผลบังคับกันได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาคมการค้าประกอบธุรกิจขัดกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ
การที่จำเลยที่1อนุมัติให้โจทก์ยืมชื่อจำเลยที่1ก็เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายอาคารในนามของจำเลยที่1การกระทำของโจทก์กับจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นการรู้เห็นร่วมกันเพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารและจัดจำหน่ายในนามของจำเลยที่1อันเป็นการประกอบธุรกิจการค้าหรือประกอบวิสาหกิจในนามของจำเลยที่1ซึ่งตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้าพ.ศ.2509มาตรา22กำหนดห้ามมิให้สมาคมการค้ากระทำการ(1)ประกอบวิสาหกิจโดยสมาคมการค้านั้นเองดังนี้เมื่อจำเลยที่1เป็นสมาคมการค้าจึงต้องห้ามมิให้ประกอบวิสาหกิจโดยสมาคมการค้านั้นเองวิธีการของโจทก์กับจำเลยที่1จึงเห็นชัดว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวอันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อห้ามมิให้สมาคมการค้าดำเนินการใดๆที่จะเป็นผลกระทบกระเทือนการคาเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศไทยจึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการกระทำของโจทก์กับจำเลยที่1จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ดังนั้นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกันจึงไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ต่อกันและเป็นการกระทำที่เสียเปล่าโจทก์กับจำเลยที่1ยังคงอยู่ในฐานะเดิมเหมือนมิได้มีการกระทำดังกล่าวต่อกันเลยข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1หาใช่สัญญาต่างตอบแทนที่จะมีผลบังคับกันได้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสิบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7416/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเทปวีดีโอลามกประกอบธุรกิจให้เช่า ไม่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลดโทษรอการลงโทษ
การที่จำเลยมีไว้ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันลามกในการประกอบธุรกิจให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ดังกล่าว อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ย่อมเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ. 2530 มาตรา 6,34 อยู่ในตัว มิใช่ความผิดที่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 19 ปีเศษ เป็นชาวต่างจังหวัดเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างในกรุงเทพมหานครและเรียนหนังสือเป็นนักศึกษานอกโรงเรียนสามัญ ย่อมมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจึงยังไม่มีเหตุอันควรที่จะลดมาตราส่วนโทษให้ แต่จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนมีเหตุอันควรที่จะรอการลงโทษ เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีจะได้ศึกษาเล่าเรียนต่อไป โดยต้องวางโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วยเพื่อให้หลาบจำ