พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินประกันการทำงานของลูกจ้างภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: เงื่อนไขและข้อยกเว้น
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 ไม่ได้ห้ามนายจ้างเรียกเงินประกันการทำงานอย่างเด็ดขาดในทุกกรณี บางกรณีนายจ้างก็ยังมีสิทธิเรียกเงินประกันการทำงานได้ ถ้าลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ดังนั้น เมื่อได้ความว่า นางสาว อ. มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมทรัพย์สินภายในร้านสะดวกซื้อของโจทก์ จึงเข้าลักษณะงานที่โจทก์จะเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ โจทก์ได้หักค่าจ้างของนางสาว อ. ไว้เป็นเงินประกันและได้นำเงินประกันดังกล่าวไปฝากไว้ที่บริษัท ก. จำกัด อันเป็นสถาบันการเงินในนามนางสาว อ. แม้โจทก์ไม่ได้แจ้งชื่อสถาบันการเงิน ชื่อบัญชี และเลขบัญชีให้นางสาว อ. ทราบซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมก็ไม่มีผลกระทบต่อการเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานที่โจทก์ เรียกเก็บจากนางสาว อ. โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำเงินประกันดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายที่นางสาว อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองจากผู้จำนองที่ดินเพื่อประกันการทำงานของลูกหนี้ แม้หนี้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ผู้จำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับจำนองจากการกระทำของจำเลยที่ 1 คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยในศาลชั้นต้นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคือมีสิทธิบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 ได้หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งแต่ก็หาตัดสิทธิโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่จะบังคับชำระหนี้อันเกิดจากความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นตามสัญญาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม) และมาตรา 745ไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยแก่จำเลยที่ 2ได้ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินตามฟ้องของจำเลยที่ 2 มาจำนองเป็นประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ก่อความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาทจำเลยที่ 2 จึงมิใช่มีฐานะเป็นเพียงผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เท่านั้นแต่เป็นผู้จำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 อาจก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วย ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้นั้นจากทรัพย์สินที่จำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189(เดิม)(มาตรา 193/27 ใหม่)และมาตรา 745 ได้ไม่ว่าหนี้ที่ค้ำประกันนั้นจะขาดอายุความหรือไม่ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1ด้วยการทำสัญญารับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ทั้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แปลงหนี้ใหม่ โดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้เห็นหรือยินยอมด้วยจำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นความรับผิด ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันการทำงานเลิกสัญญาได้ ผู้จำนองชำระหนี้ได้ สัญญาจำนองระงับ
สัญญาจำนองคดีนี้เป็นการจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำงานและหนี้สินของ อ. ในอนาคต ไม่มีกำหนดเวลา มีลักษณะเป็นการประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันอาจเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 699 และสัญญาจำนองรายการนี้ก็มิได้มีข้อตกลงว่า ผู้จำนองจะต้องผูกพันประกันหนี้ตามสัญญาตลอดไป ดังนั้น ถ้าผู้จำนองได้บอกกล่าวเลิกสัญญานั้นแก่เจ้าหนี้แล้ว ผู้จำนองย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ซึ่งมีอยู่เพื่อให้สัญญาจำนองระงับสิ้นไปได้ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้จำนองขอชำระหนี้โดยแจ้งความประสงค์เลิกประกันหนี้รายนี้ต่อไป และได้มีการชำระหนี้ซึ่งมีอยู่ในขณะนั้นแล้ว สัญญาจำนองย่อมระงับสิ้นไป จำเลยต้องจดทะเบียนถอนจำนองให้โจทก์ ไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องนำเงินสดมาวางแทนการจำนอง และเมื่อสัญญาจำนองมิได้มีข้อตกลงว่าผู้จำนองจะต้องรับผิดเกี่ยวกับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน จึงไม่ผูกพันโจทก์ที่จะต้องรับผิดเกี่ยวกับเงินชดเชยดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12620/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันการทำงาน นายจ้างหักค่าใช้จ่ายอื่นไม่ได้ ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติว่าในกรณีนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันเพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้าง หมายความว่านายจ้างต้องคืนเงินหลักประกันให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างจะหักไปชำระหนี้อื่นที่ไม่ใช่ค่าเสียหายจากการทำงานให้แก่นายจ้างไม่ได้
แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยหักเงินหลักประกันการทำงานของโจทก์ไปชำระค่าประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลของโจทก์ ซึ่งเป็นการยินยอมให้จำเลยไม่ต้องคืนเงินหลักประกันให้แก่โจทก์ทั้งที่ไม่ใช่หนี้ค่าเสียหายจากการทำงานให้แก่จำเลยขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องคืนเงินหลักประกันการทำงานแก่โจทก์เต็มจำนวน
มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติให้นายจ้างคืนเงินหลักประกันการทำงานให้ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่คืนภายในกำหนดนั้นจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยหักเงินหลักประกันการทำงานของโจทก์ไปชำระค่าประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลของโจทก์ ซึ่งเป็นการยินยอมให้จำเลยไม่ต้องคืนเงินหลักประกันให้แก่โจทก์ทั้งที่ไม่ใช่หนี้ค่าเสียหายจากการทำงานให้แก่จำเลยขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องคืนเงินหลักประกันการทำงานแก่โจทก์เต็มจำนวน
มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติให้นายจ้างคืนเงินหลักประกันการทำงานให้ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่คืนภายในกำหนดนั้นจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันการทำงานและการคิดดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กรณีนายจ้างอ้างประกาศขัดต่อกฎหมาย
จำเลยหักเงินประกันการทำงานจากโจทก์ไว้ โดยจำเลยมีประกาศ เรื่อง ระเบียบการค้ำประกันพนักงาน เอกสารหมาย ล.11 กำหนดจะคืนเงินประกันการทำงานให้แก่พนักงานที่ลาออกภายใน 4 เดือน หลังจากวันทำงานสุดท้าย และประกาศ เรื่องระเบียบค้ำประกันพนักงานเอกสารหมาย ล.12 กำหนดจะคืนเงินประกันการทำงานให้แก่พนักงานที่ลาออกภายใน 6 เดือน หลังจากวันทำงานสุดท้าย ซึ่งจำเลยอ้างสิทธิตามประกาศดังกล่าวจึงยังไม่คืนเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์ แต่เมื่อประกาศดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง ที่กำหนดให้นายจ้างคืนเงินประกันการทำงานให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างลาออก อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามประกาศดังกล่าว จำเลยต้องคืนเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ลาออก เมื่อจำเลยไม่คืนจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง, 10 วรรคสอง สำหรับเงินเพิ่มซึ่งนายจ้างจะต้องเสียให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างจงใจหรือไม่จ่ายเงินดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนพ้นกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ลาออกยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยจงใจไม่จ่ายเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์หรือไม่จ่ายเงินดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์