พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8292/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนประกันภัยต่อ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันและนำไปประกันภัยต่อผ่านจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทประกันวินาศภัยในต่างประเทศเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นและโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว จึงฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อเช่นนี้ ความรับผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องเป็นความรับผิดในฐานะผู้รับประกันวินาศภัย การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ต้องถืออายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8292/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนประกันภัยต่อ: ความรับผิดในฐานะตัวแทน vs. ผู้รับประกันภัยโดยตรง
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันและนำไปประกันภัยต่อผ่านจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทประกันวินาศภัยในต่างประเทศเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นและโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว จึงฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อเช่นนี้ ความรับผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องเป็นความรับผิดในฐานะผู้รับประกันวินาศภัยการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ต้องถืออายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยายในสัญญาประกันภัยต่อ: ความรับผิดของตัวแทนเมื่อตัวการต่างประเทศ
ถึงจำเลยจะเป็นเพียงบริษัทนายหน้าในการประกันภัย และที่ปรึกษาประกันภัย แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยแสดงออกในการติดต่อให้โจทก์นำเอาความเสี่ยงภัยที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปประกันภัยต่อแก่ผู้รับประกันภัยซึ่งอยู่ต่าง-ประเทศนั้นเกินเลยกว่าการเป็นนายหน้า แม้ผู้รับประกันภัยต่อมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนให้กระทำในกิจการดังกล่าว แต่การปฏิบัติของผู้รับประกันภัยต่อได้ยินยอมให้จำเลยปฏิบัติงานแทนตนตลอดมา จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสองในกรณีเช่นนี้ตัวการไม่จำต้องแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา798 เมื่อตัวการซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต่ออยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่าง-ประเทศ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยต่อแทนตัวการ จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อตามลำพังตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกตามความหมายในหมวดที่ว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกจำเลยไม่มีสิทธิรับประกันภัยตามกฎหมายเพราะไม่มีใบอนุญาตและไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกตามความหมายในหมวดที่ว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกจำเลยไม่มีสิทธิรับประกันภัยตามกฎหมายเพราะไม่มีใบอนุญาตและไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนประกันภัยต่อต่างประเทศ: ความสัมพันธ์ทางกฎหมายและการรับผิดในสัญญา
การที่จำเลยเข้ามาติดต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศรับโอนการเสี่ยงภัยของโจทก์เพื่อเฉลี่ยความรับผิดที่อาจจะเกิดมีขึ้นต่อทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยตามความต้องการของโจทก์นั้น การกระทำของจำเลยเกินเลยกว่าหน้าที่ของนายหน้าซึ่งเป็นเพียงผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้เขาได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอกเท่านั้น แม้ที่หัวกระดาษหนังสือตอบโต้ของจำเลยระบุว่า จำเลยเป็นนายหน้าและที่ปรึกษาประกันภัยก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยแสดงออกตั้งแต่มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆในกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศให้โจทก์ทราบ การรับเบี้ยประกันภัยจากโจทก์ การจ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของผู้เอาประกันภัยตามจำนวนที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบและจำเลยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามที่เรียกร้องอีกทั้งเมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยจ่ายคืนเบี้ยประกันภัยส่วนที่เกินจำเลยก็แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากำลังติดต่อเร่งรัดบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศอยู่ และในการติดต่อบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศของโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบมาทุกระยะ และเมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศดำเนินการต่าง ๆ ก็กระทำผ่านจำเลย ดังนี้ แม้ว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนให้กระทำในกิจการดังกล่าวแต่การปฏิบัติของบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้ยินยอมให้จำเลยปฏิบัติงานแทนตนตลอดมา จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโดยปริยายตาม ป.พ.พ.มาตรา 797 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ตัวการไม่จำต้องแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ และไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 798 เมื่อตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยต่อแทนตัวการ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อตามลำพังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยายในสัญญาประกันภัยต่อ ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการต่างประเทศ
ถึงจำเลยจะเป็นเพียงบริษัทนายหน้าในการประกันภัย และที่ปรึกษาประกันภัย แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยแสดงออกในการติดต่อให้โจทก์นำเอาความเสี่ยงภัยที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปประกันภัยต่อแก่ผู้รับประกันภัยซึ่งอยู่ต่างประเทศนั้นเกินเลยกว่าการเป็นนายหน้า แม้ผู้รับประกันภัยต่อมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนให้กระทำในกิจการดังกล่าว แต่การปฏิบัติของผู้รับประกันภัยต่อได้ยินยอมให้จำเลยปฏิบัติงานแทนตนตลอดมา จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ตัวการไม่จำต้องแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 798 เมื่อตัวการซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต่ออยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยต่อแทนตัวการ จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อตามลำพังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 จำเลยฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกตามความหมายในหมวดที่ว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก จำเลยไม่มีสิทธิรับประกันภัยตามกฎหมายเพราะไม่มีใบอนุญาตและไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส่วนลดรับ-จ่ายจากการประกันภัยต่อ ไม่ใช่เบี้ยประกันภัยที่จะนำไปคำนวณเงินสำรองตามกฎหมายภาษีอากร
เงินส่วนลดรับและส่วนลดจ่ายเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาหรือจ่ายไปในกรณีที่โจทก์รับประกันภัยต่อหรือเอาประกันภัยต่อ ถ้าโจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้วได้ไปเอาประกันภัยต่อกับบริษัทอื่นอีก เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยมาแล้วก็ต้องจ่ายให้บริษัทที่รับประกันภัยต่อ บริษัทที่รับประกันภัยต่อก็จะจ่ายเงินส่วนหนึ่งตอบแทนให้โจทก์ เรียกว่าส่วนลดรับ ในกรณีกลับกันเมื่อบริษัทอื่นรับประกันภัยไว้แล้ว ได้เอามาประกันภัยต่อกับโจทก์ เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยแล้ว โจทก์ก็จะจ่ายเงินตอบแทนให้แก่บริษัทนั้น ซึ่งเป็นเงินส่วนลดจ่าย ทั้งสองกรณีเห็นได้ชัดว่าเป็นเงินตอบแทนในเมื่อมีประกันภัยต่อ มิใช่เบี้ยประกันภัยที่จะนำไปคำนวณลดหรือเพิ่มจากเบี้ยประกันภัยของโจทก์ในการกำหนดเงินสำรอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1) (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส่วนลดรับ-จ่ายในการประกันภัยต่อ ไม่ถือเป็นเบี้ยประกันภัยที่จะนำไปคำนวณเงินสำรองภาษี
เงินส่วนลดรับและส่วนลดจ่ายเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาหรือจ่ายไปในกรณีที่โจทก์รับประกันภัยต่อหรือเอาประกันภัยต่อ ถ้าโจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้ว ได้ไปเอาประกันภัยต่อบริษัทอื่นอีก เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยมาแล้วก็ต้องจ่ายให้บริษัทที่รับประกันภัยต่อ บริษัทที่รับประกันภัยต่อก็จะจ่ายเงินส่วนหนึ่งตอบแทนให้โจทก์ เรียกว่าส่วนลดรับ ในกรณีกลับกันเมื่อบริษัทอื่นรับประกันภัยไว้แล้ว ได้เอาประกันภัยต่อกับโจทก์เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยแล้วโจทก์ก็จะจ่ายเงินตอบแทนให้แก่บริษัทนั้น ซึ่งเป็นเงินส่วนลดจ่าย ทั้งสองกรณีเห็นได้ชัดว่าเป็นเงินตอบแทนในเมื่อมีประกันภัยต่อ มิใช่เบี้ยประกันภัยที่จะนำไปคำนวณลดหรือเพิ่มจากเบี้ยประกันภัยของโจทก์ในการกำหนดเงินสำรอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1)(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ถือเป็นค่าบริการตามประมวลรัษฎากร
เมื่อคดีฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จ ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง กรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) โดยไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลย