พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกแม้ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และการวางค่าฤชาธรรมเนียม
ตามกรมธรรม์ จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าทดแทนในนามของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ แต่ก็มีข้อสัญญาพิเศษว่า จำเลยร่วมจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัยหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด เมื่อจำเลยร่วมได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์ต่อจำเลยที่ 2 เพราะเป็นกรณีซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ต้องใช้เงินจำนวนที่จำเลยร่วมได้จ่ายไปคืนให้แก่จำเลยร่วม ซึ่งมีความหมายว่า กรณีที่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันเกิดจากการขับขี่ของบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในจำนวนเงินที่จำกัดความรับผิดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แล้วไปไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ไม่เกินวงเงินประกันที่จำกัดความรับผิดไว้
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดต่อค่ารักษาพยาบาลบุคคลภายนอก และการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มีข้อสัญญาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอก เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิต เป็นสัญญาประกันชีวิตเพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 ซึ่งกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย แต่เงินส่วนที่โจทก์จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลก่อนตายและค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บซึ่งเป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลงคุ้มครองหาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของผู้เอาประกันภัยในคดีประกันภัยรถยนต์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เอาประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัย จำเลยที่ 2 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ขณะเกิดเหตุยังอยู่ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อทำให้รถยนต์โจทก์ถูกชนได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันเกิดเหตุ ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จึงอาจต้อง รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ ข้อที่ว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้จากผู้ใดเป็น ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ทราบดีอยู่แล้ว และเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่ จำต้องบรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์สูญหายจากลักทรัพย์: ศาลมีอำนาจพิพากษาให้บริษัทประกันภัยรับผิดได้ แม้จะไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรง
ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) จำเลยร่วมจึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่สามารถยกข้อต่อสู้ขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้อย่างไม่มีจำกัด และศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาถึงความรับผิดของคู่ความทุกฝ่ายไปได้ในคราวเดียวกันโดยไม่จำต้องให้โจทก์ไปฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีเรื่องใหม่ เมื่อจำเลยร่วมมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีรถยนต์สูญหายแก่โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่ถือว่าเกินคำขอของโจทก์
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูกภ. ลักไปโดยจำเลยที่1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่1 จะทราบว่าภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูกภ. ลักไปโดยจำเลยที่1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่1 จะทราบว่าภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์กรณีรถหายจากการลักทรัพย์ แม้ผู้เอาประกันภัยทราบว่ารถถูกนำไปจำนำ
ตารางกรมธรรม์ประกันภัยระบุการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาในรายการของตาราง เมื่อได้ความว่ารถยนต์พิพาทถูก ภ. ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของน้องชายจำเลยที่ 1 ลักไปโดยจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะทราบว่าภ. นำรถยนต์พิพาทไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน แต่เมื่อจำเลยที่ 1ไม่สามารถนำรถยนต์คันพิพาทกลับคืนมาได้ย่อมถือได้ว่ารถยนต์คันพิพาทได้สูญหายไปโดยเหตุอันเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดในการซ่อมรถและข้อยกเว้นค่าขาดประโยชน์
ทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียวโดยมิได้สนใจต่อพันธะที่ตนมีต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีการับวินิจฉัยให้
แม้กองมรดกของผู้ตายจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของทายาทในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
แม้สัญญาประกันภัยจะเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งออกแบบและควบคุมโดยกรมการประกันภัย แต่คู่สัญญาอาจทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม โดยทำเป็นหนังสือแนบท้ายไว้ได้เมื่อข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ชัดว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์แล้วได้รถยนต์คืนมาผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอรับรถคืน โดยคืนเงินที่ได้รับชดใช้ไปทั้งหมดแก่ผู้รับประกันภัย ถ้ารถยนต์นั้นเกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยต้องจัดการซ่อมก่อนคืนโดยไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อค่าซ่อมรถยนต์คันพิพาทซึ่งเสียหายให้โจทก์
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้ทำละเมิดชิงทรัพย์เอารถยนต์คันพิพาทไป หากแต่ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยทั้งตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ปรากฏข้อตกลงชัดแจ้งว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองถึงความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ ดังนี้จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ไม่
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีการับวินิจฉัยให้
แม้กองมรดกของผู้ตายจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่เป็นการตัดอำนาจของทายาทในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
แม้สัญญาประกันภัยจะเป็นสัญญาสำเร็จรูปซึ่งออกแบบและควบคุมโดยกรมการประกันภัย แต่คู่สัญญาอาจทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม โดยทำเป็นหนังสือแนบท้ายไว้ได้เมื่อข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ชัดว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์แล้วได้รถยนต์คืนมาผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอรับรถคืน โดยคืนเงินที่ได้รับชดใช้ไปทั้งหมดแก่ผู้รับประกันภัย ถ้ารถยนต์นั้นเกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยต้องจัดการซ่อมก่อนคืนโดยไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อค่าซ่อมรถยนต์คันพิพาทซึ่งเสียหายให้โจทก์
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้ทำละเมิดชิงทรัพย์เอารถยนต์คันพิพาทไป หากแต่ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยทั้งตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ปรากฏข้อตกลงชัดแจ้งว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองถึงความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ ดังนี้จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7470/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของบริษัทประกันภัยต่อค่าซ่อมรถและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หลังเกิดอุบัติเหตุ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ 15 ธันวาคม 2540 ทนายโจทก์และทนายจำเลยตกลงนัดวันสืบพยานไว้ล่วงหน้า 2 นัด คือวันที่ 22 มกราคมและ 23 กุมภาพันธ์ 2541 ชอบที่ทนายจำเลยจะเอาใจใส่ไม่นัดความซ้ำซ้อนหากพลั้งเผลอไปนัดวันซ้ำซ้อนก็ควรรีบร้องขอเลื่อนคดีแต่เนิ่น ๆ เพราะศาลชั้นต้นในคดีนี้อาจไม่ให้เลื่อนคดีก็ได้ ซึ่งทนายจำเลยก็ยังไปร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลชั้นต้นในคดีอื่นที่ตนนัดซ้ำซ้อนกับคดีนี้ไว้ได้ อีกทั้งวันที่ 22 มกราคม 2541 ทนายจำเลยก็หาได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีในนัดหน้าต่อศาลชั้นต้นไม่ การที่เพิ่งมอบหมายให้ผู้รับมอบฉันทะมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2541 โดยอ้างว่าทนายจำเลยติดว่าความอยู่ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และในวันใกล้เคียงกันก่อนหน้านี้ก็ติดว่าความอยู่ที่ศาลจังหวัดเชียงรายด้วย จึงจำต้องขอเลื่อนคดีเพื่อสะดวกแก่การเดินทางไปขึ้นศาลทางภาคเหนือในคราวเดียวกันแสดงว่าทนายจำเลยมุ่งแต่คำนึงถึงความสะดวกของตนฝ่ายเดียว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีชอบแล้ว
แม้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่ตัดอำนาจของทายาทที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกได้
แม้กองมรดกของผู้ตายมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้วก็ไม่ตัดอำนาจของทายาทที่จะใช้สิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7217/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากประกันภัยรถยนต์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เป็นสัญญาที่โจทก์ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่วินาศภัยเกิดขึ้นโดยคุ้มครองผู้โดยสารในวงเงินคุ้มครองคนละ 50,000 บาท ต่อคนต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนอันเป็นค่ารักษาพยาบาลให้แก่ บ. ผู้โดยสารในรถที่เกิดอุบัติภัยซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยไปเป็นเงิน 34,466 บาท ไปแล้ว โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิ บ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ครอบครองทำประกันภัยรถยนต์ แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ศาลยืนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
แม้ ม.ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์ คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้าย ทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์และครอบครอง ใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิ ครอบครองรถยนต์คันพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา 1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับ เป็นปกติ ทั้งผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ไว้แก่จำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนค์ คันพิพาทที่ เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์: การฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนและอำนาจฟ้องของคู่สัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทไว้กับจำเลย โดยกำหนดวงเงินเป็นจำนวนแน่นอน ต่อมาระหว่างอายุสัญญารถยนต์คันดังกล่าวได้สูญหายไปในขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ได้ร้องทุกข์และแจ้งให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าเป็นสัญญาประกันภัยประเภทใด กรมธรรม์เลขที่เท่าใด เริ่มคุ้มครองและสิ้นสุดเมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้แนบกรมธรรม์ประกันภัยมาด้วย แต่มีคู่ฉบับอยู่ที่จำเลยแล้ว จึงเป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ทำสัญญาเช่ารถยนต์จากบริษัท ภ. และได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยโดยให้บริษัท ภ. เป็นผู้รับประโยชน์ โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก มีผลให้บุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ และเมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังไม่ได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375 อย่างไรก็ดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโจทก์มิได้สิ้นสิทธิที่จะฟ้องจำเลย เมื่อระหว่างระยะเวลาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวได้สูญหายไปขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์และจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ในฐานะเป็นคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่า บริษัท ภ. ผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาแล้วหรือไม่ และโจทก์ต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์อยู่อีกหรือไม่
โจทก์ทำสัญญาเช่ารถยนต์จากบริษัท ภ. และได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยโดยให้บริษัท ภ. เป็นผู้รับประโยชน์ โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก มีผลให้บุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ และเมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังไม่ได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375 อย่างไรก็ดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโจทก์มิได้สิ้นสิทธิที่จะฟ้องจำเลย เมื่อระหว่างระยะเวลาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวได้สูญหายไปขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์และจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ในฐานะเป็นคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่า บริษัท ภ. ผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาแล้วหรือไม่ และโจทก์ต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์อยู่อีกหรือไม่