คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันสังคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกินกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ไม่ตัดสิทธิ
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดเห็นว่าตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีใด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 และประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น และให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายพิจารณาสั่งการโดยเร็ว" วรรคสอง "ประโยชน์ทดแทนตามวรรคหนึ่งที่เป็นตัวเงินถ้าผู้ประกันตนหรือบุคคลซึ่งมีสิทธิไม่มารับภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน" จะเห็นได้ว่าแม้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น แต่ก็มิได้บัญญัติว่า หากผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนไม่ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนแล้วจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนระงับสิ้นไป ดังนั้น การยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีจึงเป็นกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนโดยเร็วเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิและไม่ใช่ขั้นตอนและวิธีการที่ต้องปฏิบัติก่อนจึงจะดำเนินการในศาลแรงงานได้แต่อย่างใด กรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจะเสียสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน จะต้องเป็นไปตามมาตรา 56 วรรคสอง กล่าวคือผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน และสำนักงานประกันสังคมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับ แล้วแจ้งให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนมารับประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินดังกล่าว แต่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิไม่มารับภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานประกันสังคม ประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินนั้นจึงจะตกเป็นของกองทุน ดังนั้น แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้นตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ก็ไม่ถูกตัดสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมเกินกำหนด ไม่ตัดสิทธิ หากยังไม่ถึงกำหนดรับเงิน
ระยะเวลายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีนั้น เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนโดยเร็วเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิและไม่ใช่ขั้นตอนและวิธีการที่ต้องปฏิบัติก่อนจึงจะดำเนินการในศาลแรงงานได้แต่อย่างใด กรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจะเสียสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทนจะต้องเป็นไปตามมาตรา 56 วรรคสอง กล่าวคือผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนและสำนักงานประกันสังคมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับ แล้วแจ้งให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนมารับประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงิน แต่บุคคลดังกล่าวไม่มาภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินนั้นจึงจะตกเป็นของกองทุน ส่วนมาตรา 84 ทวิ เป็นกรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนซึ่งทราบถึงสิทธิและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ไปขอรับสิทธิแล้วแต่บุคคลดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทยแต่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถไปดำเนินการขอรับสิทธิตามกำหนดเวลานั้นได้ จึงยื่นคำร้องขอเลื่อนกำหนดเวลายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 56 ออกไปเพื่อรักษาประโยชน์ของตนเท่านั้น จึงมิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตรวจรักษาทางการแพทย์ไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ หากแพทย์ทำงานอิสระและไม่มีวันเวลาทำงานปกติ
คำว่า ค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 5 มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ค่าจ้างต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ประการที่สอง เงินที่จ่ายดังกล่าวนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และประการที่สาม ให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานด้วย ดังนั้น แม้เงินค่าตรวจรักษาจะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานตามหลักเกณฑ์ประการแรก แต่เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทน แล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ เงินค่าตรวจรักษาดังกล่าวจึงเป็นเงินที่แพทย์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามหลักเกณฑ์ ประการที่สอง และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สาม และเมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้วความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยานบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างและมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตรวจรักษาทางการแพทย์ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เนื่องจากเป็นรายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร "นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และ "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร คำว่า ค่าจ้างตามพระราชบัญญัตินี้จึงมีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ค่าจ้างต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ประการที่สอง เงินที่จ่ายดังกล่าวนายจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และประการที่สาม ให้หมายความรวมถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานด้วย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเหมือนกับพนักงานอื่น ไม่ต้องลงเวลาทำงาน จะมาทำงานตามที่แพทย์สะดวกซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดเอง สามารถหยุดงานได้โดยไม่ต้องแจ้งให้สถานพยาบาลทราบล่วงหน้า หากไม่มาปฏิบัติหน้าที่ก็ไม่ถือว่ามีความผิด การทำงานของแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์จึงไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ อีกทั้งเงินค่าตรวจรักษาที่เรียกเก็บจากผู้เข้ารับการรักษา แพทย์ผู้ตรวจจะเป็นผู้กำหนดเองว่าเรียกจำนวนเท่าใด โจทก์จะเป็นผู้เก็บรักษาไว้โดยแพทย์จะได้รับค่าตรวจตามจำนวนเปอร์เซนต์ที่ตกลงกับโจทก์และโจทก์จะมอบให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาภายในวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ได้รับจากผู้เข้ารับการรักษาโดยใช้สถานพยาบาลของโจทก์เป็นที่ตรวจรักษาตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ ดังนั้น แม้เงินค่าตรวจรักษาจะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานตามหลักเกณฑ์ประการแรก แต่เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทน แล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ เป็นเงินที่แพทย์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สอง และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สาม เงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มแต่อย่างใด เมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษา จึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยเฉพาะในส่วนที่วินิจฉัยให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมในส่วนของค่าแพทย์นั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตรวจรักษาแพทย์อิสระมิใช่ค่าจ้างตามพรบ.ประกันสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาลและแพทย์จึงไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง
เงินค่าตรวจรักษาที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์มีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์ โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทนแล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างได้ทำสำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงาน เงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มและเมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างและมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนทางประกันสังคมไม่ระงับ แม้ยื่นคำขอหลังหนึ่งปี มาตรา 56 วรรคหนึ่งเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัด
แม้ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทนให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน แต่ก็มิได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนระงับสิ้นไป ดังนั้นระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีจึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ซึ่งต่างจากมาตรา 56 วรรคสอง อันเป็นกรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน และสำนักงานประกันสังคมได้แจ้งให้บุคคลดังกล่าวมารับประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินแล้ว แต่บุคคลดังกล่าวไม่มารับภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินนั้นจึงจะตกเป็นของกองทุนประกันสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการประกันสังคม: กิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ต้องใช้รหัสการผลิต แม้แยกสถานที่ผลิตและขาย
ตามคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์ปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ โดยนำเอาวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของขนมปังเบเกอรี่มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยแรงงานคนและเครื่องจักร เปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป คือขนมปัง เบเกอรี่ อันเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นงานในส่วนของโรงงานผลิตของโจทก์ โจทก์นำสินค้าสำเร็จรูปไปกำหนดราคาแสวงหากำไรจากสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อได้สินค้าสำเร็จรูปแล้วฝ่ายขายจึงนำไปแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินตรา หากปราศจากสินค้าสำเร็จรูป พนักงานฝ่ายขายก็ไม่สามารถปฏิบัติงานขายได้ การที่พนักงานฝ่ายขายติดต่อรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วแจ้งฝ่ายโรงงานผลิต เป็นวิธีการกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าและกำหนดจำนวนสินค้าสำเร็จรูปที่ฝ่ายโรงงานผลิตต้องจัดส่งไปให้ฝ่ายขาย กิจการฝ่ายโรงงานผลิตกับฝ่ายขายของโจทก์ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกันได้ ตามลักษณะการดำเนินงานกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตจึงเป็นงานหลัก การกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ จึงมีได้เพียงรหัสเดียวตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่ง โดยอยู่ในหมวด 0200 การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ รหัส 0203 ประเภทกิจการการผลิตเครื่องดื่ม การผลิต การถนอมอาหาร ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง ตามตาราง 1 ท้ายประกาศที่แก้ไขตามประกาศ ฉบับที่ 2 ฯ การประกอบกิจการของโจทก์ไม่ใช่การซื้อวัตถุดิบมาแล้วขายไปในสภาพวัตถุดิบ ไม่ใช่การซื้อมาขายไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสภาพสินค้า ซึ่งเป็นลักษณะร่วมของประเภทกิจการร้านสรรพสินค้าและร้านสินค้าเบ็ดเตล็ดตามที่ระบุไว้ในรหัส 1503 หมวด 1500 การค้า จึงไม่ใช่การค้าซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นตามที่ระบุไว้ในรหัส 1503 กิจการของโจทก์จึงไม่ใช่ประเภทที่อยู่ในรหัส 1503 การที่โจทก์แยกสถานที่ตั้งของฝ่ายโรงงานผลิตและสถานที่ตั้งของฝ่ายขายและฝ่ายอื่นๆ ออกจากกัน กับโจทก์ได้แยกการทำงานของแต่ละสถานที่ออกจากกัน ไม่ทำให้ลักษณะการดำเนินกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตแยกออกโดยไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขายและฝ่ายอื่นๆ ได้ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เป็นรหัส 0203 ได้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการประกันสังคม: กิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ต้องใช้รหัสการผลิตอาหาร ไม่ใช่รหัสการค้า
โจทก์ประกอบกิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่โดยนำวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของขนมปังเบเกอรี่มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยแรงงานคนและเครื่องจักร เปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปคือขนมปังเบเกอรี่ อันเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นงานในส่วนของโรงงานผลิตของโจทก์ โจทก์นำสินค้าสำเร็จรูปไปกำหนดราคาแสวงหากำไรจากสินค้าสำเร็จรูปนั้น แล้วฝ่ายขายจึงนำไปแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินตรา หากปราศจากสินค้าสำเร็จรูปพนักงานฝ่ายขายก็ไม่สามารถปฏิบัติงานขายได้ การที่พนักงานฝ่ายขายติดต่อรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วแจ้งฝ่ายโรงงานผลิต เป็นวิธีการกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าและกำหนดจำนวนสินค้าสำเร็จรูปที่ฝ่ายโรงงานผลิตต้องจัดส่งไปให้ฝ่ายขาย ฝ่ายขายไม่อาจปฏิบัติงานได้ถ้าไม่มีสินค้าสำเร็จรูปไปขาย กิจการฝ่ายโรงงานผลิตกับฝ่ายขายของโจทก์ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกันได้ ตามลักษณะที่กล่าวมากิจการของฝ่ายโรงงานผลิตจึงเป็นงานหลัก การกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์จึงมีได้เพียงรหัสเดียวตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง โดยอยู่ในหมวด 0200 การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ รหัส 0203 ประเภทกิจการการผลิตเครื่องดื่ม การผลิต การถนอมอาหาร ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง ตามตาราง 1 ท้ายประกาศที่แก้ไขตามประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 การที่โจทก์แยกสถานที่ตั้งของฝ่ายโรงงานผลิตและสถานที่ตั้งของฝ่ายขายและฝ่ายอื่น ๆ ออกจากกัน กับได้แยกการทำงานของแต่ละสถานที่ออกจากกัน ไม่ทำให้ลักษณะดำเนินกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตแยกออกโดยไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขายและฝ่ายอื่น ๆ ได้ ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เป็นรหัส 0203 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการนอกเวลางาน: ไม่อยู่ในข้อยกเว้น พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ นายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบ
พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวันและลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรมคือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ สำหรับพยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการทำงานพิเศษนอกเวลาราชการ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรม คือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ พยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ จึงไม่ใช่ข้าราชการตามความใน มาตรา 4 (1) พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์จึงเป็นนายจ้างที่ต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
of 13