คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกาศนายจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน การประกาศของนายจ้างมิอาจลบล้างสิทธิได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ กำหนดลำดับขั้นตอนนำไปสู่การนัดหยุดงานได้โดยชอบตามมาตรา 22 วรรคท้าย โดยเริ่มจากการที่นายจ้างหรือลูกจ้างแจ้งข้อเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสียก่อน แต่การแจ้งข้อเรียกร้องดังกล่าวหาต้องกระทำด้วยตนเองเสนอไปไม่ อาจให้สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีดำเนินการแทนสมาชิกได้ ทั้งมีอำนาจดำเนินการตามขั้นตอนต่อจากนั้นแทนผู้เป็นสมาชิกต่อไปหลังจากนั้นผู้เป็นสมาชิกก็สามารถปิดงานหรือนัดหยุดงานตามแต่กรณีไปโดยชอบ ดังนี้เมื่อสหภาพแรงงานที่โจทก์ทั้งเก้าเป็นสมาชิก ได้แจ้งนัดหยุดงานตามขั้นตอนโดยชอบดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าเป็นการแจ้งนัดหยุดงานแทนสมาชิกด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่ต้องแจ้งนัดหยุดงานต่อจำเลยอีก ส่วนการหยุดงานนั้นมีบทบัญญัติ มาตรา 99 อนุญาตให้สหภาพแรงงานชักชวนสนับสนุนลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพเข้าร่วมหยุดงานเพิ่มขึ้นภายหลังได้อีก ฉะนั้น การหยุดงานจึงหาจำต้องเข้าสมทบหยุดงานพร้อมกันตั้งแต่เริ่มต้นไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้งเก้าซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเข้าร่วมหยุดงานภายหลังที่สหภาพแรงงานได้นัดหยุดงานไปก่อนแล้ว จึงชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามประกาศนายจ้างเรื่องการทำงานล่วงเวลา หากไม่แจ้งลาถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และอาจถูกเลิกจ้างได้
นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยกรมแรงงานมีคำสั่งอนุมัติแล้ว นายจ้างจึงประกาศกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติงานตอนกลางคืนเวลา 20 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น หากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานและไม่แจ้งล่วงหน้า ให้ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นขาดงานและละทิ้งหน้าที่ ดังนี้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประกาศ เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาโดยไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าย่อมผิดข้อบังคับ ลูกจ้างจะอ้างว่าเป็นสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาหาได้ไม่ และการละทิ้งหน้าที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายประมาณ 600,000 บาท ถือว่าลูกจ้างกระทำผิดเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย.