คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประธานศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีหมั้นและการส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป เมื่อประธานศาลฎีกาได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวแล้ว หากคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) ก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 15 แต่ถ้าคดีอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีผิดสัญญาหมั้น - ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยก่อนพิพากษา
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจำเลยยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาให้ส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการส่งเรื่องวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ: คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลใด เมื่อมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาแล้วว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 13 จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกไม่ได้
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและข้อจำกัดการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ: คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลใด เมื่อมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาแล้วว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ในอำนาจศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาดังกล่าวเป็นที่สุด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 13 จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกไม่ได้
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของประธานศาลฎีกาที่ไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือไต่สวนคำร้องคัดค้าน ไม่ถือเป็นละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ
การที่จำเลยที่ 3 จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือไม่ เป็นอำนาจบริหารงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในตำแหน่งประธานศาลฎีกา และไม่มีผลให้คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และองค์คณะซึ่งมีอำนาจอิสระในการพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายต้องเปลี่ยนแปลงไป โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติดังกล่าวของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2539 จ. นำร่างคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้โจทก์ดู และปรากฏจากสำเนาภาพถ่ายคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวว่า คำพิพากษาศาลฎีกาลงวันที่ 11 มีนาคม 2539 แสดงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาได้ถูกเรียงเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 อันเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลฎีกาได้เรียงคำพิพากษาศาลฎีกาเสร็จสิ้น ดังนั้น แม้จะไต่สวนคำร้องคัดค้านและได้ความดังคำคัดค้านก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาและคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และองค์คณะได้ดำเนินและเรียงเสร็จสิ้นก่อนโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านเสียไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 13 วรรคสอง การไต่สวนคำร้องคัดค้านจึงไม่อาจจะทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 ไม่ไต่สวนคำร้องคัดค้านของโจทก์และสั่งรวมไว้ในสำนวนไม่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟ้องได้
คดีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่และได้เสนอให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 9 เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่าคดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีสินสอดเป็นคดีครอบครัว ต้องส่งประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
เมื่อปรากฏจากคำให้การและอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินสอดเป็นคดีครอบครัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจ ยื่นฟ้องคดีที่ศาลแขวงขอนแก่น เป็นการชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ซึ่งกำหนดถึงกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจ ศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1พิจารณาพิพากษาคดีนี้ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย บทกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นหรือไม่ ขึ้นมาสู่การพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีภาษีอากร – การชี้ขาดอำนาจโดยประธานศาลฎีกา
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์คำร้องภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยทั้งสองประเมินให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินความเป็นจริงโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองที่สั่งให้โจทก์ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่ม กับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยแต่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วให้ยกฟ้องเสียตาม ป.วิ.พ. จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น แต่ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา10 บัญญัติให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น และเมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น ประธานศาลฎีกาเป็นผู้ชี้ขาด
ปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 10 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ และปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลฎีกา เมื่อขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีภาษี: การส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์คำร้องภาษีโรงเรือนและที่ดินจำเลยทั้งสองประเมินให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินความเป็นจริงโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองที่สั่งให้โจทก์ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่มกับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยแต่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วให้ยกฟ้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นแต่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา10บัญญัติให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่คำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้นและเมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป
of 2