พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้ยืม: ศาลฎีกายืนตามเดิม แม้มีการตกลงประนีประนอม
โจทก์เพิ่งจะยื่นสำเนาคำสั่งของโจทก์ เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดในการอำนวยสินเชื่อ ที่มีผลใช้บังคับในวันทำสัญญากู้มาท้ายอุทธรณ์ เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้ออกประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไปแล้ว โดยโจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ทั้งที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองและรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่โจทก์เพิ่งจะนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
การที่ศาลจะพิจารณาและพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลในข้อ 1 ระบุว่า จำเลยทั้งสามตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 631,778.32 บาท แก่โจทก์ ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับจำนวนเงินที่โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดชำระให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินที่คิดคำนวณจากดอกเบี้ยที่เกินอัตรารวมอยู่ด้วย ซึ่งดอกเบี้ยที่เกินอัตรานี้เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงไม่อาจพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่โจทก์ยื่นคำแถลงได้
การที่ศาลจะพิจารณาและพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลในข้อ 1 ระบุว่า จำเลยทั้งสามตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 631,778.32 บาท แก่โจทก์ ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับจำนวนเงินที่โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดชำระให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินที่คิดคำนวณจากดอกเบี้ยที่เกินอัตรารวมอยู่ด้วย ซึ่งดอกเบี้ยที่เกินอัตรานี้เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงไม่อาจพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่โจทก์ยื่นคำแถลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประนีประนอม: การพิจารณาที่ผิดระเบียบและการเพิกถอนสัญญา
การที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นไปตามนั้นด้วยแต่อย่างใด จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 138 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีที่มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนี้ โจทก์จึงชอบที่จะยกขึ้นว่ากล่าวกันในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่นั้นหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงเจรจาประนีประนอมแล้วไม่ตกลง ไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง หากทนายแถลงเหตุผลให้ศาลทราบ
การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาคดีว่า ทนายคู่ความได้แถลงร่วมกันว่ามีความประสงค์จะประนีประนอมข้อพิพาท โดยทนายโจทก์และทนายจำเลยทั้งสี่จะได้แจ้งตัวความให้กำหนดผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นผู้ร่วมเจรจากันเพื่อหาข้อยุติให้ทันก่อนวันนัดหน้า หากยังไม่ได้ข้อยุติทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายผู้มีอำนาจตัดสินใจซึ่งเป็นผู้เจรจาฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้น เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ผู้ถึงอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้จึงขอไม่มาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีและการทิ้งฟ้อง: การแถลงเจตนาประนีประนอมและการดำเนินการของโจทก์
การที่ทนายโจทก์แถลงว่า หากการเจรจาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องเมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้เพียง 600,000 บาท โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 เดือน แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้จึงไม่ขอมาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ในนัดที่แล้วก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงรายละเอียดการเจรจาที่ไม่สามารถตกลงกันให้ศาลทราบแล้ว ซึ่งหากผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลก็คงแถลงดังที่ทนายโจทก์แถลงเมื่อตกลงกันไม่ได้ก็คงต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ซึ่งทนายโจทก์มาศาลแล้วศาลสามารถสืบพยานจำเลยต่อไปได้ ดังนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740-3790/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินชดเชยหลังเกษียณ: การระงับข้อพิพาทสัญญาประนีประนอม และฟ้องซ้ำ
ในขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 7 ถึงที่ 20 ที่ 32 ถึงที่ 38 ที่ 48 ที่ 50 ถึงที่ 53 ฟ้องคดีเดิมและทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์รู้อยู่แล้วว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการปรับปรุงมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างระดับผู้ปฏิบัติงานโดยให้ผู้ที่ปฏิบัติงานก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 15 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2544 เป็นต้นไป แต่โจทก์ ก็ยังสมัครใจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน และตกลง "ไม่เรียกร้องใด ๆ อีก" จึงหมายความว่าจะไม่เรียกร้องอื่นใดอีกซึ่งรวมถึงเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่จะได้รับเพิ่มขึ้นเมื่อมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ต่อไปจนเสร็จสิ้นแล้วด้วย อันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นในอนาคต ประกอบกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมเกิดขึ้นหลังจากโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุแล้ว จึงมีอิสระแก่ตนพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงมีผลใช้บังคับ ดังนั้นการเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน จึงระงับสิ้นไป
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง เป็นการบัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนและกำหนดว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างนั้นใช้บังคับแก่ผู้ใด ไม่ได้บัญญัติถึงว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด ดังนั้นมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับประกาศของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในคดีเดิมวินิจฉัยว่า จนถึงเวลาเสร็จการพิจารณาในคดีเดิมสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์ (คดีเดิม) จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ไม่ใช่ 240 วัน มีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่า โจทก์ (คดีเดิม) ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส่วนนี้ในคดีเดิม ต่อมาเมื่อประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 มีผลใช้บังคับแล้วและความในประกาศมีผลถึงโจทก์คดีเดิมด้วย โจทก์ที่ 21 ถึงที่ 30 ที่ 39 ถึงที่ 47 (ที่เคยเป็นโจทก์ใน
คดีเดิม) ซึ่งมีอำนาจฟ้องตามประกาศฉบับหลังจึงฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง เป็นการบัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนและกำหนดว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างนั้นใช้บังคับแก่ผู้ใด ไม่ได้บัญญัติถึงว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด ดังนั้นมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับประกาศของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในคดีเดิมวินิจฉัยว่า จนถึงเวลาเสร็จการพิจารณาในคดีเดิมสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์ (คดีเดิม) จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ไม่ใช่ 240 วัน มีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่า โจทก์ (คดีเดิม) ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส่วนนี้ในคดีเดิม ต่อมาเมื่อประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 มีผลใช้บังคับแล้วและความในประกาศมีผลถึงโจทก์คดีเดิมด้วย โจทก์ที่ 21 ถึงที่ 30 ที่ 39 ถึงที่ 47 (ที่เคยเป็นโจทก์ใน
คดีเดิม) ซึ่งมีอำนาจฟ้องตามประกาศฉบับหลังจึงฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9051/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีอาญาหลังประนีประนอมและฟ้องแพ่ง – ศาลมีอำนาจลงโทษฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้ฟ้องไม่ตรงตาม ป.อ. มาตราที่ถูกต้อง
จำเลยปลอมเช็คของโจทก์ร่วมแล้วนำเช็คไปเบิกเงินและยักยอกเงินตามเช็คไป โจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนการที่โจทก์ร่วมนำมูลหนี้ตามเช็คไปฟ้องคดีแพ่งในมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วม คดีถึงที่สุด ก็มีผลเพียงห้ามคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยมูลเหตุอย่างเดียวกันเฉพาะมูลคดีแพ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารตั๋วเงินและใช้เอกสารตั๋วเงินปลอมอันเป็นมูลคดีนี้ ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องคดีนี้ของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเช็คอันเป็นเอกสารสิทธิ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ดังนั้น เมื่อทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมสืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คและใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเช็คอันเป็นเอกสารสิทธิ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ดังนั้น เมื่อทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมสืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คและใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยบนที่ดินเกิดจากการทำสัญญาประนีประนอม ไม่ถือเป็นการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิจึงไม่ผูกพันผู้รับโอน
แม้ ท. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก. จะทำบันทึกสัญญาต่อหน้านายอำเภอยอมให้จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินของตนก็ตาม แต่บันทึกสัญญาที่ ท. และจำเลยทำต่อกันนั้นเป็นการประนีประนอมระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับบ้านที่จำเลยปลูกและทรัพย์สินภายในบ้าน ไม่ใช่หนังสือจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ดังนั้น การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินของจำเลยจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คงมีผลบังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น หามีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ทำการโดยสุจริตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลของการประนีประนอมต่อการดำเนินคดีอาญา
ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคดีนี้ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยมีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยยื่นฎีกาพร้อมแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่รับรองถูกต้องมาด้วย โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาและยื่นคำแก้ฎีการับว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยฎีกา
มูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คคดีนี้ โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่ง แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "จำเลยยอมชำระหนี้ให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งการตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญา หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด และยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที อันแสดงว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่เป็นการยอมความกันในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็ครวมทั้งเช็คที่ออกชำระหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลการประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายสละนั้นระงับสิ้นไป และแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 852 แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวได้อีก ถือว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2543)
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยยื่นฎีกาพร้อมแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่รับรองถูกต้องมาด้วย โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาและยื่นคำแก้ฎีการับว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยฎีกา
มูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คคดีนี้ โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่ง แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "จำเลยยอมชำระหนี้ให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งการตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญา หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด และยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที อันแสดงว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่เป็นการยอมความกันในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็ครวมทั้งเช็คที่ออกชำระหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลการประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายสละนั้นระงับสิ้นไป และแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 852 แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวได้อีก ถือว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7205/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดินหลังคำพิพากษาประนีประนอม แม้มิได้ชำระเงินค่าทดแทนครบถ้วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้อง โดยผู้ร้องตกลงชำระเงินที่เหลือจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลย ดังนี้สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษาที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ตนได้เกิดขึ้นแล้วทันทีเพียงแต่ผู้ร้องต้องชำระเงินที่เหลือตอบแทนให้ครบถ้วนตามคำพิพากษาด้วยเท่านั้นการที่ผู้ร้องยังไม่ชำระเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยมีผลเพียงทำให้ผู้ร้องยังไม่อาจจะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตอบแทน หามีผลทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหมดไปไม่ การที่ผู้ร้องยังคงมีสิทธิเช่นนี้เมื่อผู้ร้องได้ชำระเงินที่เหลือตอบแทนนั้นถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนเหนือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 โจทก์จึงหามีสิทธิขอให้บังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอันเป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องในคดีประนีประนอม และการบังคับคดีนอกเหนือคำพิพากษา
ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยทั้งสามยอมชำระหนี้ให้โจทก์โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน หากผิดนัดงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที ระหว่างการผ่อนชำระหนี้จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากการทำงานและได้ยื่นคำร้องว่าที่โจทก์ขอให้ต้นสังกัดซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หักเงินบำเหน็จโดยอาศัยสิทธิตามสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยคำร้องของจำเลย เนื่องจากจำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีให้ศาลกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการบังคับตามคำพิพากษา อุทธรณ์ของจำเลยแม้พอจะถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นเบื้องต้นก่อนว่าจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้และเป็นประเด็นที่ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์กลับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยตั้งประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิขอให้ต้นสังกัดของลูกจ้างหักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ ซึ่งปัญหานี้ศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นเพียงประเด็นต่อจากประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นหลักในเบื้องต้นก่อนเช่นนี้จึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 257และแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 และเป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ต้องไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้