พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจัดหาประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการละเมิดจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมที่ครอบครองมาก่อนใช้ ป.ที่ดิน โดยมิได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยชอบแม้ว่าเดิมที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตาม ป.ที่ดิน มาตรา 10 และมาตรา 11 จนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ อย่างไรก็ตาม แม้จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยปลูกสร้างอาคารและปลูกต้นไม้และพืชผลต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมโดยสุจริตตลอดมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1336 เรียกร้องให้โจทก์รื้อถอนอาคารและเก็บเกี่ยวพืชผลขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท แต่โจทก์เพิกเฉยนั้น ก็มีผลเพียงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องใช้สิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เพื่อที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ชนะคดีแล้วจะได้ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลตามขั้นตอนของกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 ทวิ, 296 ตรี, 296 จัตวา, 296 เบญจ 296 ฉ และมาตรา 296 สัตต แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 หามีสิทธิที่จะใช้อำนาจโดยพลการเข้าดำเนินการรื้อถอนเพื่อขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยตนเองไม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและไถปรับหน้าดินทำให้พืชผลโจทก์เสียหาย ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ แม้เชื่อโดยสุจริตก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดินที่ตนครอบครองอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยยังไม่ออกจากที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยจะเชื่อโดยสุจริตในขณะเข้าครอบครองว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของตนและที่ดินดังกล่าวมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) และ 108 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งออกโฉนดที่ดิน: อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ม.60 และการฟ้องร้องกรรมสิทธิ์
แม้โจทก์จะบรรยายคำฟ้องโดยตั้งประเด็นกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยการสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านในทำนองให้รับผิดฐานละเมิด แต่ในคำฟ้องของโจทก์คงบรรยายฟ้องลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 ไม่พิจารณาหลักฐานให้รอบคอบถูกต้องชัดเจนโดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 พิจารณาหลักฐานไม่รอบคอบอย่างไรกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำขอท้ายคำฟ้องโจทก์ขอเพียงให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว กับให้จำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินเลขที่ 1020 ให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดแต่มีลักษณะเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 กำหนด ด้วยการฟ้อง ช. ผู้คัดค้าน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2
ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจสั่งการไปตามที่เห็นสมควร จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านได้
ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจสั่งการไปตามที่เห็นสมควร จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7672/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบ และการเพิกถอนโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ก. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนที่จำเลยมิได้คัดค้านในกรณีที่โจทก์แจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ก็ดี หรือขอรังวัดออกโฉนดที่ดินทั้งแปลงรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้ไปด้วยก็ดี อาจเป็นไปได้ว่าจำเลยไม่ทราบเรื่องหรือไม่เข้าใจ เพราะโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนใหญ่และเป็นผู้ไปดำเนินการเองโดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยทราบ ถึงกระนั้นจำเลยก็ยังคงครอบครองที่ดินส่วนที่พิพาทมาตลอดจนถึงปัจจุบัน การที่โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินโดยรวมเอาที่ดินพิพาทเข้าไปด้วยนั้น หาเป็นเหตุให้สิทธิของจำเลยเหนือที่ดินส่วนที่พิพาทที่มีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์เสียไปไม่
ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทคือส่วนที่ขีดเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เข้าไปด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เสียได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 และเมื่อเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทคือส่วนที่ขีดเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เข้าไปด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เสียได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 และเมื่อเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการอายัดที่ดินของผู้ชำระบัญชีบริษัท: ผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายที่ดิน
จำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ จ. ต้องโอนให้บริษัท อ. ตามข้อตกลงในการก่อตั้งบริษัท อ. แต่ จ. ถึงแก่กรรมก่อนที่จะโอนที่ดินให้บริษัทตามข้อตกลงจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. ได้ฟ้องโจทก์ให้โอนที่ดินคืนให้แก่บริษัทและยังไม่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดแล้วหรือไม่ ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 วรรคแรก ในอันที่จะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของ จ. ดังกล่าว มาเป็นของบริษัท อ. ตามข้อตกลงก่อตั้งบริษัท จำเลยจึงมีสิทธิขออายัด ที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และการสิ้นสุดผลการอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้อง ภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง เพียงให้ศาลต้องฟังคำแถลงของจำเลยก่อน จากนั้นเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรอนุญาตหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านว่าการที่จำเลยที่ 4 ไปตกลงกับโจทก์อาจทำให้จำเลยที่ 4ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ไม่มีส่วนรับรู้ข้อตกลงด้วย และจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 จะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ด้วยหรือไม่ก็ตามเป็นอีกกรณีหนึ่งตามมูลความแห่งคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ศาลจะอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น ที่จะใช้ดุลพินิจตามลักษณะของคดี เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ ถอนฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วจึงเป็นการ ใช้ดุลพินิจที่ชอบ โจทก์ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 60 วัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 วรรคสอง ให้ถือว่าการอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด คำขออายัดที่ดินของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดิน ได้รับอายัด เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องแล้วและโจทก์ ได้นำสำเนาคำฟ้องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำสั่งดังกล่าว ของเจ้าพนักงานที่ดินย่อมมีผลต่อเนื่องไปจนกว่าศาลจะสั่ง ให้ถอนการอายัด หรือถ้าไม่มีคำสั่งให้ถอนการอายัดก็มีผล ไปจนกว่าศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุด ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 มีความมุ่งหมายเพื่อจะคุ้มครองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินไว้ชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่งจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือจะมีคำวินิจฉัยคดีอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือของผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดินการสิ้นผลของการอายัดตามมาตรา 83 วรรคสอง เป็นเจตนารมณ์ ของการอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงใช้ถ้อยคำว่า จนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ถอนการอายัด หรือมีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุด ดังนั้น การอายัดที่ดินจะสิ้นสุดลงได้ ก็ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้น จึงหาต้องให้คดีถึงที่สุด เสียก่อนไม่ เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้ถอน การอายัดที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้เพิกถอนการอายัด คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทมิได้เป็นที่สาธารณะ การครอบครองไม่ผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์มาแต่เดิม แต่กรณีเป็นเรื่องที่ ท. ผู้ใหญ่บ้านกับคณะกรรมการหมู่บ้านต้องการจะให้เป็นที่สาธารณะเมื่อปี 2525 และทางราชการยังไม่ได้มีการสอบเขตที่แน่นอน หลังจาก ท. ได้ประกาศให้เป็นที่ดินสาธารณะแล้ว ก็ถูกส.คัดค้านแม้จะมีการไกล่เกลี่ยกันส. ก็ไม่ยินยอมและไม่ปรากฏว่า ส. ออกจากที่ดินพิพาทตามคำสั่งของอำเภอแต่อย่างใดต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดในที่ดินพิพาทอีก ภริยาจำเลยซึ่งเป็นบุตรส.ทำการคัดค้านจนไม่สามารถสร้างวัดได้ ดังนี้เห็นได้ว่านับแต่ท.ได้ประกาศจะให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะฝ่ายจำเลยก็ได้ทำการคัดค้านมาโดยตลอด และยังไม่ได้มีการดำเนินคดีทางแพ่งพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันให้เสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณะการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความ การงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมาย และการดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ดังนั้น ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา นับแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ซึ่งตามคำให้การของจำเลยทั้งสามในคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 และจำเลยที่ 3 ก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโจทก์แต่ประการใด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดีไปกว่าโจทก์ คดีจึงสามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจึงชอบแล้ว แต่การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งแยกนั้นประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งโจทก์สามารถนำคำพิพากษาไปดำเนินการตามขั้นตอนได้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินให้แต่อย่างใดจึงต้องยกคำขอในส่วนนี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ที่ดินนั้นไม่เป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
เมื่อส. ได้ครอบครองทำประโยชน์ทำสวนจากในที่ดินที่เกิดเหตุตั้งแต่ปี2486ก่อนป. ที่ดินพ.ศ.2497ใช้บังคับฉะนั้นส. เป็นผู้ได้ที่ดินที่เกิดเหตุมาตามป. ที่ดินที่ดินที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา4(1)เมื่อส. ยกที่ดินที่เกิดเหตุให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินที่ได้รับใบจองก่อนบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดินเป็นโมฆะ และการครอบครองภายหลังจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้คำนิยามคำว่า "ใบจอง"ว่าหมายถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว จากคำนิยามดังกล่าวถือได้ว่าทางราชการยังไม่ได้ให้สิทธิครอบครองอย่างเด็ดขาดแก่จำเลย จำเลยมีเพียงแต่สิทธิเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับข้อกำหนด รวมทั้งเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนด แต่ในระหว่างที่จำเลยได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินพิพาท จำเลยจะต้องอยู่ภายในบังคับของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้จับจอง...ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดโดยมรดก เมื่อการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนาย ค. กับจำเลยยังอยู่ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวนิติกรรมการซื้อขายและส่งมอบที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทจะครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อจากนาย ค. มานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทยังเป็นของรัฐอันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับในปี 2497 แล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ทั้งการยึดถือครอบครองของโจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง