คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดียาเสพติดของเยาวชน: การปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีกำหนด 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย (ไม่ริบของกลาง) ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ใช้บังคับเฉพาะกรณีสอบปากคำจำเลยเท่านั้น ไม่ได้ใช้บังคับในการรวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปชี้ที่เกิดเหตุโดยไม่มีบุคคลต่าง ๆ อยู่ด้วย กับไม่มีการบันทึกภาพและเสียงของจำเลยในขณะให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนนั้นการสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เนื่องจากไม่มาศาลตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม ป.วิ.อ. มาตา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตามมาตรา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ห้ามใช้ มาตรา 223 ทวิ มาใช้โดยอนุโลม
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาในศาลแขวงไม่ต้องเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากศาลบันทึกใจความได้ความชัดเจน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณา เพื่อความสะดวกรวดเร็วไว้เป็นพิเศษนอกเหนือจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงจึงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โดยเฉพาะในอนุมาตรา 5 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ. ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษโดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่า จำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องโทษ แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้น คำฟ้องที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่ ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงเอกสารในคดีอาญา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในคดีอาญาจำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะประมวลวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานร่วมกระทำความผิด: การอ้างคำให้การของบุคคลที่ไม่ใช่จำเลยไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ล. มิได้เป็นจำเลยในคดีนี้ กรณีจึงมิต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232 ซึ่งห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7296/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจรคดีเดียว แม้ผู้เสียหายต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามมาตรา 39(4) วิ.อาญา
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยและ บ. ได้พร้อมกันขณะที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน เชียงใหม่ 1 ก -3620 และ บ. ขับรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้และยึดรถจักรยานยนต์ทั้งสองคันไว้เป็นของกลาง โดยที่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้ไว้คนละคราวกับที่รับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียนเชียงใหม่ 1 ก -3620 จึงต้องฟังว่าจำเลยได้รับรถจักรยานยนต์ของกลางทั้งสองคันไว้ในคราวเดียวกันซึ่งเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรกรรมเดียว แต่โจทก์ได้แยกฟ้องจำเลยเป็นสองคดีตามจำนวนผู้เสียหายเมื่อจำเลยถูกฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรในคดีก่อนไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรเป็นคดีนี้อีก เพราะเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับคดีดังกล่าว สิทธิที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยสำหรับความผิดฐานรับของโจรนั้นเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธินำคดีอาญาเนื่องจากคดีซ้ำซ้อน - กรรมเดียวกัน
ก่อนที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแขวง ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),157ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกันกับการกระทำผิดที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ และศาลแขวงได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องแล้วถือได้ว่ามีคำพิพากษาวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องในกรรมที่ได้ก่อให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มิใช่หมายถึงฐานความผิดสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
of 16