พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7596/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับอุทธรณ์คำสั่งและการฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย โดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อกฎหมายไร้สาระ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6006/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ & การขออนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์: เงื่อนไขและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
อุทธรณ์ของผู้ร้องได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้ว ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอื่นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น การที่ผู้ร้องได้กล่าวอ้างถึงสำเนาสูติบัตรที่ได้มาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา มิใช้เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เท่านั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (2) ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้อุทธรณ์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติและอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าเอกสารท้ายคำร้องเป็นเอกสารที่ผู้ร้องติดตามได้มาภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดี และเป็นเอกสารสำคัญที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเกิดในประเทศไทยเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติม จะต้องทำเป็นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวตามมาตรา 88 วรรคสาม ศาลจึงจะวินิจฉัยได้ว่าสมควรอนุญาตหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเพียงอ้างในอุทธรณ์ว่ามีสำเนาสูติบัตรเอกสารท้ายอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเอกสารดังกล่าวและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวและบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ผู้ร้องอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ได้ ทำให้คดีไม่มีพยานหลักฐานใหม่ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามมาตรา 240 (2)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (2) ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้อุทธรณ์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติและอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าเอกสารท้ายคำร้องเป็นเอกสารที่ผู้ร้องติดตามได้มาภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดี และเป็นเอกสารสำคัญที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเกิดในประเทศไทยเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติม จะต้องทำเป็นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวตามมาตรา 88 วรรคสาม ศาลจึงจะวินิจฉัยได้ว่าสมควรอนุญาตหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเพียงอ้างในอุทธรณ์ว่ามีสำเนาสูติบัตรเอกสารท้ายอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเอกสารดังกล่าวและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวและบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ผู้ร้องอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ได้ ทำให้คดีไม่มีพยานหลักฐานใหม่ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามมาตรา 240 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้มีการชำระหนี้บางส่วนก็ไม่หยุดนับ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 31 ตุลาคม 2534 หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรก ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 การที่จำเลยทั้งสองนำเงินมาชำระบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 25 ธันวาคม 2537 ไม่มีผลทำให้การเริ่มนับระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เมือ่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 วันที่ 21 ตุลาคม 2546 จึงล่วงเลยเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ
ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) (3) เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับแก้ต่างให้ก็ได้ พนักงงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและบัญชีพยานจำเลยที่ 2 ลงนามแต่งตั้งให้ น. พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษเป็นทนายความไว้แล้ว แต่ครั้นเมื่อมีการยื่นคำให้การและบัญชีพยานดังกล่าว กลับกลายเป็น ร. อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต 3 สาขาศรีสะเกษ เป็นผู้ลงชื่อในคำให้การและบัญชีพยาน โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงนามแต่งตั้งให้ ร. เป็นทนายความของตน จึงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีโดยเอกสารแทนการสืบพยานบุคคล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยขาดนัดพิจารณา ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่เห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานได้ ชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์นอกประเด็นในคำให้การ ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินเป็นเหตุต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงตามคำฟ้องและใส่ชื่อโจทก์ในเอกสารสิทธิดังกล่าว พร้อมกับเรียกเก็บค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงไม่ได้สูญหายแต่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 4 โจทก์ต้องไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบ ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าจำเลยที่ 1 จะออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงตามฟ้องโจทก์ให้ได้หรือไม่เพราะเอกสารสิทธิดังกล่าวไม่ได้สูญหาย แต่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 4 ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ออกใบแทนเอกสารสิทธิทั้งหกแปลงให้โจทก์ไม่ได้เนื่องจากโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอออกใบแทน จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือจากประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซ้ำ ศาลมีอำนาจยกคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๔
คำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นครั้งที่ 3 มีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับที่จำเลยยื่นในครั้งแรกและครั้งที่ 2 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าว แม้เป็นการยกคำร้องเพราะจำเลยไม่นำพยานมาสืบ ก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีก ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียมา 200 บาท แก่จำเลยทั้งสอง
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียมา 200 บาท แก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซ้ำ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ยื่นต่อศาลครั้งที่ 3 มีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับที่จำเลยยื่นในครั้งแรกและครั้งที่ 2 ซึ่งคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง แม้จะเป็นการยกคำร้องเพราะจำเลยไม่ได้นำพยานมาสืบก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีกย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยรถยนต์ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์กระบะ ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์รับประกันวินาศภัยและเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะคันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะด้วยความประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์ ทำให้สินค้าของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากใคร ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์: ดุลพินิจศาลและการไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนการที่ไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)กรณีต้องนำเรื่องการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม โดยมาตรา 175(1) บังคับเพียงว่า ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดหากมีก่อน แม้จะมีการคัดค้านการขอถอนคำฟ้องก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ ทั้งการขอถอนคำฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดี ดังนั้น เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ก็ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่จะอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 175 ส่วนการที่โจทก์อ้างว่าจะทำให้ตนเสียเปรียบเพราะทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความนั้น ก็มิใช่เงื่อนไขที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์แต่อย่างใด