พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5195/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจ้างทำของ: ค่าขายบ้านจัดสรรเป็นสินจ้างเพื่องานตามมาตรา 193/34(8) พ.ร.บ.แพ่งฯ
คำให้การจำเลยที่ระบุว่าคำฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเรียกร้องเอาค่าขายบ้านจัดสรรซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระ เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้างทำของต้องใช้สิทธิภายใน 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 โจทก์บรรยายคำฟ้องว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จ้างทำของเกิดขึ้นเมื่อ 5 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา คดีโจทก์ขาดอายุความแม้จะไม่ได้ระบุเลขอนุมาตราใดก็เป็นคำให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 ศาลชอบที่จะนำบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมาปรับแก่คดีได้
ค่าขายบ้านที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นสินจ้างเพื่องานที่ทำตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(8) มิใช่เป็นค่าตอบแทนที่ไม่มีบทกฎหมายเกี่ยวกับอายุความกำหนดแต่อย่างใด
ค่าขายบ้านที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นสินจ้างเพื่องานที่ทำตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(8) มิใช่เป็นค่าตอบแทนที่ไม่มีบทกฎหมายเกี่ยวกับอายุความกำหนดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 193/34 ใช้บังคับอายุความ 10 ปี
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวงพ.ศ. 2501 มีวัตถุประสงค์ในการจัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดินและทรัพย์สินของโจทก์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าจากจำเลยผู้ใช้กระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการค้าเรียกค่าสินค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1)(7) ที่จะต้องใช้อายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับบรรยายโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถึงเรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของโจทก์ว่าเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียวไม่ถูกต้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับบรรยายโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถึงเรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของโจทก์ว่าเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียวไม่ถูกต้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์: หลักฐานการฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 680
บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายระบุว่ามีคู่กรณี2ฝ่ายฝ่ายแรกคือโจทก์ทั้งสองฝ่ายหลังคือ ท. คู่กรณีได้ตกลงกันว่าฝ่ายหลังจะชดใช้ค่าเสียหายคืนให้ฝ่ายแรกตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดไว้หากฝ่ายหลังผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจะเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน ในตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวระบุต่อไปว่าคู่กรณีตกลงกันเป็นที่เข้าใจแล้วโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ ท. ในข้อหาฉ้อโกงอีกต่อไปพร้อมกับลงชื่อโจทก์ทั้งสอง ท. จำเลยทั้งสองและพนักงานสอบสวนดังนี้จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้ค้ำประกันอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเมื่อ ท. ผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสอง บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญในอันที่โจทก์ทั้งสองจะนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองเท่านั้นมิใช่ตราสารตามประมวลรัษฎากรมาตรา118จึง ไม่ต้องปิด อากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาตัวแทน: ทุนทรัพย์, ข้อเท็จจริง, และขอบเขตบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 798
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง200,000 บาท หาใช่จำนวน 238,568.49 บาท ดังที่จำเลยระบุจำนวนทุนทรัพย์มาหน้าคำฟ้องฎีกาจำเลยไม่ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (อ้างฎีกาที่ 1926/2537 ประชุมใหญ่)
จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพิพาทเพื่อตนเองไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยได้กระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ ฎีกาจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนกระทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนด้วยกัน เมื่อมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ระหว่างโจทก์จำเลยไม่จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพิพาทเพื่อตนเองไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยได้กระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ ฎีกาจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนกระทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนด้วยกัน เมื่อมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ระหว่างโจทก์จำเลยไม่จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาขายลดเช็ค: สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 164 (10 ปี)
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คแล้วนำมาทำสัญญาขายลดให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าได้นำเช็คไปทำสัญญาขายลดให้แก่โจทก์จริง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค หาได้ฟ้องให้รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คที่นำไปทำสัญญาขายลดให้แก่โจทก์ไม่ ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงต้องบังคับตามสัญญาขายลดเช็ค แต่สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 คือมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา: โมฆะเฉพาะดอกเบี้ย, ชำระหนี้ตามอำเภอใจไม่อ้างอิงได้, ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 329
การกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น ต้นเงินหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าเงินที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่จำนวนใดเป็นดอกเบี้ยและจำนวนใดเป็นต้นเงินกู้ ก็ต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ว่าเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปแล้วจำนวนหนึ่งนั้นต้องเอาใช้เป็นดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนจำนวนหนี้ที่เหลือถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่ยังค้างชำระ
เมื่อถือว่าจำเลยได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้ว แม้จะฟังว่าเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ก็เท่ากับเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้คดีให้หลุดพ้นความรับผิดไปได้
เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าเงินที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่จำนวนใดเป็นดอกเบี้ยและจำนวนใดเป็นต้นเงินกู้ ก็ต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ว่าเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปแล้วจำนวนหนึ่งนั้นต้องเอาใช้เป็นดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนจำนวนหนี้ที่เหลือถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่ยังค้างชำระ
เมื่อถือว่าจำเลยได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้ว แม้จะฟังว่าเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ก็เท่ากับเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้คดีให้หลุดพ้นความรับผิดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่มีข้อตกลงโอนที่ดินเมื่อผิดนัดชำระ เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656
สัญญากู้เงินมีใจความว่ากู้เงินไปจำนวนหนึ่ง สัญญาจะใช้คืนภายในกำหนด และมีข้อความว่า ผู้กู้ได้นำนาแปลงหนึ่งมาให้ผู้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันโดยมีบันทึกว่า "นารายนี้ข้าพเจ้าไม่นำต้นเงินและดอกเบี้ยมาให้ท่านตามสัญญานี้ ข้าพเจ้าขอยอมโอนที่นารายนี้ให้แก่ท่านเป็นกรรมสิทธิ์" ดังนี้ ถือว่าเป็นสัญญากู้หนี้ธรรมดาไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายที่นา ฉะนั้นจึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยยืมใช้สิ้นเปลือง คือตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 650 เมื่อตกลงกันล่วงหน้าว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดยอมโอนที่นาให้เป็นกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการเอาทรัพย์สินอย่างอื่นชำระหนี้แทนเงินกันทีเดียวโดยมิได้คำนึงถึงราคานาเสียเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 656 วรรคสองและตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม ผู้ให้กู้จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้บังคับผู้กู้โอนที่นาให้แก่ตนตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อนฟ้องคดี และสิทธิในการเรียกร้องเงินที่ชำระไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 319
พฤติการณ์ที่แสดงว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนที่ดิน ถ้าบังคับไม่ได้ก็ขอให้คืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วกับค่าเสียหายอีกด้วยโดยอ้างว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยได้ยินยอมเลิกสัญญากันแล้วดังนี้ ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระไว้แล้วตามมาตรา 319 ได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาซื้อขายที่ดิน มีข้อตกลงว่าชำระราคาค่าที่ดินครบถ้วนแล้วจะไปทำโอนกันนั้น มีผลเป็นสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนที่ดิน ถ้าบังคับไม่ได้ก็ขอให้คืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วกับค่าเสียหายอีกด้วยโดยอ้างว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยได้ยินยอมเลิกสัญญากันแล้วดังนี้ ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระไว้แล้วตามมาตรา 319 ได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาซื้อขายที่ดิน มีข้อตกลงว่าชำระราคาค่าที่ดินครบถ้วนแล้วจะไปทำโอนกันนั้น มีผลเป็นสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงค่าจ้างจากงานที่ชำรุด: จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างจนกว่าโจทก์แก้ไขงานให้เรียบร้อย
โจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2550 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 รับมอบงานดังกล่าว สำหรับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ปรากฏตามใบแจ้งหนี้ว่าเป็นรายการชำระงวดสุดท้าย ซึ่งเป็นการเรียกเก็บในเวลาภายหลังการส่งมอบงานของโจทก์ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานไม่เรียบร้อยชำรุดบกพร่อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างในงวดสุดท้ายเพื่อให้โจทก์ทำการแก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 599 กรณีมิใช่การยึดหน่วงค่าสินค้าและค่าแรงที่โจทก์ทำเสร็จเรียบร้อยและถึงกำหนดชำระแล้วดังที่โจทก์ฎีกา