พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำที่ดินแปลงเป็นเงินกู้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุไว้ชัดเจนว่าผู้โอนได้รับเงินมัดจำจากผู้รับโอนไปถูกต้องแล้ว แม้ผู้รับโอนจะทำสัญญากู้เงินจากผู้โอนไว้ เป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินมัดจำ ก็เท่ากับผู้โอนมอบเงินมัดจำนั้นให้เป็นเงินกู้แก่ผู้รับโอน เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของภริยาขณะสมรส ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีตามประมวลรัษฎากร
น. เป็นผู้ซื้อที่ดินมาคนเดียว ต่อมา น. ตกลงให้ ช. ม. และ ว. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับค่าตอบแทน ต้องถือว่าเป็นการขายตามความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร น. จึงเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 40(8) ซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นสามี น. และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวของ น. ต้องถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามมาตรา 57 ตรี ไม่ว่าเงินนั้นจะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายซื้อแผ่นทองแดงชดเชยความสูญเสียในการผลิตลวดทองแดง ไม่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
โจทก์อ้างว่าได้จ่ายค่าซื้อแผ่นทองแดงมาชดเชยในการผลิตลวดทองแดงให้ลูกค้าในปี 2533 จำนวน 13,244,463.88 บาท และในปี 2534 จำนวน 20,144,606.20บาท ทั้งที่โจทก์เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตและในสัญญาว่าจ้างผลิตเส้นลวดทองแดงก็ไม่มีข้อความระบุว่าโจทก์จะต้องผลิตเส้นลวดทองแดงให้มีน้ำหนักเท่ากับแผ่นทองแดงที่ผู้ว่าจ้างนำมามอบให้โจทก์เพื่อใช้ในการผลิตและโจทก์จะต้องรับผิดชอบในน้ำหนักที่ขาดหายไป รายจ่ายค่าซื้อแผ่นทองแดงของโจทก์จึงไม่ใช่รายจ่ายที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในความสูญเสียในการผลิตทองแดงตามสัญญา แต่หากเป็นรายจ่ายที่โจทก์สมัครใจจ่ายไปเองทั้งที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้างแต่ประการใด ย่อมเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13)เมื่อรายจ่ายของโจทก์ดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินภาษีคืนพร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการกู้เงินลงทุนสร้างโรงงาน ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ตามมาตรา 65 ตรี(5) แห่งประมวลรัษฎากร
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนนั้น มาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งยกเว้นให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ทั้งตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.72/2540 อธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราให้สามารถคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าวได้ ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่ายกเว้นบทบัญญัติในมาตรา 65 ตรี (5)
การหักค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.72/2540 ได้
การหักค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.72/2540 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71(1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71(1)จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิก็ตาม
บทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามระบุให้คำนวณเงินเพิ่มโดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 69 แล้ว
บทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามระบุให้คำนวณเงินเพิ่มโดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 69 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษี: การประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร การยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายคลาดเคลื่อนไป จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (4) และการกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการมิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนดหรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อันจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องตามมาตรา 89 (10)
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบลดหนี้ต้องเป็นไปตามเหตุที่กฎหมายกำหนด หากออกโดยไม่มีเหตุตามประมวลรัษฎากรแล้ว ถือเป็นการออกเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การออกใบลดหนี้ใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/10 นั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าจะออกใบลดหนี้ได้ต้องเป็นเรื่องมีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากผิดข้อตกลง สินค้าชำรุดเสียหายหรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด หรือมีการคืนสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/10 เท่านั้น
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาสเพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุนก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไปโจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้วจึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10(1)(2)(3)(4) ดังนั้นการที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาสเพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุนก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไปโจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้วจึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10(1)(2)(3)(4) ดังนั้นการที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ทำให้การออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายการออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
++ ++++++++++++++++++++++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2539ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จำนวนเงิน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และประมวลรัษฎากร มาตรา 118บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน 100,000 บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่า จำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
++
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น
++ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด
++ ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
++ ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก
++ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227นั้น
++ เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายการออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
++ ++++++++++++++++++++++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2539ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จำนวนเงิน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และประมวลรัษฎากร มาตรา 118บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน 100,000 บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่า จำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
++
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น
++ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด
++ ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
++ ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก
++ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227นั้น
++ เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7312/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีซื้อจากใบกำกับภาษีปลอมและการหลีกเลี่ยงภาษี ความรับผิดตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีไม่สามารถพิสูจน์ความมีตัวตนของสินค้าและหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายทั้งห้า จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ขายทั้งห้าได้ขายสินค้าให้แก่โจทก์จริง เมื่อไม่มีการขายสินค้า ผู้ขายทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ดังนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ขายทั้งห้ามาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5(5) แห่งประมวลรัษฎากรฯ
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 89(3) และ (4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ2 เท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายที่จะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7)เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ โจทก์หาจำต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) และ (4) อีกด้วยไม่
โจทก์ไม่ได้ซื้อสินค้าพิพาท แต่นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแสดงว่าโจทก์มีเจตนาไม่สุจริตหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับ
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 89(3) และ (4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ2 เท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายที่จะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7)เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ โจทก์หาจำต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) และ (4) อีกด้วยไม่
โจทก์ไม่ได้ซื้อสินค้าพิพาท แต่นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแสดงว่าโจทก์มีเจตนาไม่สุจริตหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้กระทำผิดตามมาตรา 89 ประมวลรัษฎากร: ลงโทษตามอนุมาตราที่เบี้ยปรับสูงสุดเท่านั้น
บทบัญญัติในประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว เมื่อการกระทำผิดของโจทก์ที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการคำนวณภาษีเข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 89(4) และ 89(7) ซึ่งมีกำหนดโทษให้เสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่าและสองเท่าของจำนวนภาษีที่คลาดเคลื่อนตามลำดับแล้วศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวได้ ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าใบกำกับภาษีของโจทก์บางส่วนปลอมโจทก์ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้แต่โจทก์ไม่มายื่นคำฟ้องอุทธรณ์และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้