คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประวัติความผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแม้ผู้ถูกเลิกจ้างมีประวัติลาป่วยและมาสาย หากเหตุผลในหนังสือเลิกจ้างไม่ได้อ้างถึงประวัติความผิดนั้นโดยตรง
ระหว่างการทำงานโจทก์ลาป่วยและมาทำงานสายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งโจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยการลา ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้ตักเตือนด้วยวาจาและเป็นหนังสือ และลงโทษโจทก์ด้วยการภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนหลายครั้ง ซึ่งจำเลยอาจอ้างความผิดดังกล่าวของโจทก์มาเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่ตามหนังสือให้พนักงานออกจากงาน (เลิกจ้าง) ของจำเลยเพียงแต่อ้างเหตุที่ให้โจทก์ออกจากงานว่าการกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นผู้หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่และบกพร่องในหน้าที่เท่านั้น จำเลยไม่ได้อ้างเหตุความผิดของโจทก์มาเป็นเหตุโดยตรงในการเลิกจ้างจึงต้องถือว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะเลิกจ้างโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว จำเลยยังอ้างข้อบังคับของจำเลยที่ให้อำนาจจำเลยในการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวได้แต่ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการลาออกจากตำแหน่งหน้าที่โดยมิได้กระทำความผิดและมีสิทธิได้รับบำเหน็จ จำเลยจึงหยิบยกอ้างความผิดของโจทก์ซึ่งมิได้ระบุเป็นเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างมาเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินไม่ลบล้างประวัติความผิดเดิม ศาลใช้ประกอบดุลยพินิจลงโทษได้
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่ง พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษพ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มีผลเพียงให้ถือว่าผู้ต้องโทษไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้บุคคลผู้นั้นถูกลงโทษจำคุกถูกลบล้างไปด้วย ศาลล่างทั้งสองจึงนำข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจ มาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐาน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย: เกณฑ์การพิจารณาจากประวัติการกระทำความผิดซ้ำ
จำเลยเคยต้องโทษมาแล้ว 2 ครั้ง ฐานลักทรัพย์พ้นโทษเมื่อ 5 มิ.ย.94 และ 7 มิ.ย.95 ตามลำดับแล้วมาต้องโทษครั้งหลังฐานลักทรัพย์อันเป็นเหตุร้าย ในคดีนี้อีกย่อมถือได้ว่าจำเลยมีสันดานเป็นผู้ร้ายตามความประสงค์ ของ พ.ร.บ. กักกันฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ต้องพิสูจน์ประวัติความผิดเดิมของจำเลย โจทก์มีหน้าที่นำสืบ
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 นั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ซึ่งเป็นการรับสารภาพว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น ไม่ได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ แม้จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ฟ้องขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การรับในประเด็นดังกล่าว จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับในเรื่องการวางโทษทวีคูณ และไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้ได้เอง เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และถูกลงโทษปรับ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อีก จึงไม่อาจวางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 ได้