พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4798/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาประวิงการชำระหนี้หลังประมูลทอดตลาด ศาลชอบธรรมในการริบเงินมัดจำ
ผู้ซื้อทรัพย์ประมูลซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดได้ในราคา 131,000,000 บาท จากนั้นผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสี่แปลงให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ดำเนินการให้เพราะว่าศาลมีคำสั่งให้งดการขายไว้แล้ว ผู้ซื้อทรัพย์จึงรับเงินค่าซื้อทรัพย์คืน95 เปอร์เซ็นต์เป็นการชั่วคราวและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบเพื่อรักษาสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ที่ประสงค์จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต่อมาผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ ศาลชั้นต้นเห็นว่าการขายทอดตลาดชอบแล้วจึงมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อทรัพย์ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อทรัพย์ แต่ผู้ซื้อทรัพย์กลับไม่ยอมนำเงินค่าซื้อทรัพย์ที่รับคืนไปมาวางให้ครบเพื่อดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนทั้งยังแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งอุทธรณ์ไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยทำให้คดียิ่งเนิ่นช้าต่อไป ครั้นศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ หากผู้ซื้อทรัพย์มิได้เจตนาถ่วงเวลาให้ล่าช้าก็ควรนำเงินมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมิใช่ยื่นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ผู้ซื้อทรัพย์ในที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ส่อไปในทางประวิงการวางเงินค่าซื้อทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้วาง ผู้ซื้อทรัพย์ก็มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้นำเงินมาวางภายใน 15 วัน แต่ขอขยายเวลาการชำระเงินออกไปอีก3 เดือน แสดงถึงเจตนาประวิงการวางเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งไม่ให้ขยายเวลาการชำระเงินและสั่งริบเงินมัดจำจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตและเป็นคำสั่งที่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยประวิงการชำระหนี้ ทำให้โจทก์ยึดทรัพย์ได้ แม้ศาลยกคำร้อง การที่จำเลยต้องรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์
การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินส่วนแบ่งจากเงินที่มีการประมูลขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยตามคำพิพากษาแล้วจำเลยไม่ยอมชำระราคาค่าซื้อรวมทั้งค่าธรรมเนียมการขายหลังจากจำเลยประมูลราคาซื้อได้แล้วโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนการชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต่อศาลชั้นต้นถือได้ว่าจำเลยเจตนาที่จะประวิงการบังคับคดีโดยไม่สุจริตเพื่อที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับการชำระเงินส่วนแบ่งตามสิทธิของโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดที่ดินแปลงอื่นของจำเลยรวม4แปลงเพื่อบังคับคดีเอาเงินมาชำระส่วนแบ่งของโจทก์บ่องบอกเจตนาของโจทก์ได้ว่าโจทก์กระทำไปโดยสุจริตแม้ต่อมาศาลฎีกาจะพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินทั้งสี่แปลงของจำเลยก็ตามแต่การนำยึดที่ดินทั้งสี่แปลงของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่ามิได้เกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์แต่อย่างใดจำเลยย่อมมีส่วนผิดที่ก่อให้โจทก์นำยึดที่ดินจำนวน4แปลงของจำเลยอันเนื่องมาจากการที่จำเลยประวิงการบังคับคดีจำเลยจึงควรเป็นฝ่ายต้องรับผิดเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดียึดแล้วไม่มีการขายแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคหนึ่งประกอบมาตรา166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6485/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการประวิงการชำระหนี้ ทำให้จำเลยต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายเพราะโจทก์ถอนการยึด แม้จะถือว่าโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามที่ระบุไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 อันจะทำให้โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3ท้ายประมวลกฎหมายดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อมีพฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยประวิงการบังคับคดีโดยไม่สุจริต ศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยไม่มีมูลและประวิงการชำระหนี้ ผู้ร้องต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งความคืบหน้าของคดีที่ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์ได้ไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการใหม่ คือ เลขที่ 124 ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยของกรรมการและที่ตั้งของผู้ร้องตามหนังสือรับรองก็ตาม แต่ในคำร้องดังกล่าวผู้ร้องระบุอ้างแต่เพียงว่ามีเหตุขัดข้องในการแจ้งให้ผู้ร้องทราบผลคดี ทำให้ทราบในระยะเวลากระชั้นชิดเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะให้ที่อยู่ที่แจ้งใหม่เป็นภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานเพียงแห่งเดียวของผู้ร้องแต่อย่างใด กรณีจึงยังต้องถือว่า อาคารเลขที่ 13/47 เป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของผู้ร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 69 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศขายทอดตลาดใหม่ครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้ร้องที่อาคารเลขที่ 13/47 ดังกล่าวโดยวิธีปิดหมาย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ริบเงินมัดจำ ศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า จึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินหรือหลักประกันเพื่อประกันความเสียหาย ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นจึงยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคห้า (เดิม) แต่ผู้ร้องกลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้ง ๆ ที่คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดแล้ว ซึ่งที่สุดแล้วศาลฎีกาได้มีคำสั่งไม่รับฎีกาและพิพากษายกฎีกา หลังจากนั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดใหม่ครั้งที่ 2 นัดวันที่ 20 ตุลาคม 2559 อีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน และศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกาและไม่รับฎีกาของผู้ร้อง พฤติการณ์ของผู้ร้องที่ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว เป็นเหตุให้บริษัท ค. ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดใหม่ครั้งที่ 2 ต้องขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไป และไม่อาจนำเงินที่เหลือมาวางชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่โจทก์ได้ ดังนี้ ถือเป็นการประวิงให้ชักช้าโดยไม่มีมูลมีผลให้การขายทอดตลาดไม่เสร็จสิ้น และผู้ซื้อทรัพย์รายใหม่ไม่อาจชำระราคาทรัพย์พิพาทอันเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ร้อง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ และเมื่อก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้ร้องจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ริบเงินมัดจำ ศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า จึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินหรือหลักประกันเพื่อประกันความเสียหาย ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นจึงยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคห้า (เดิม) แต่ผู้ร้องกลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้ง ๆ ที่คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดแล้ว ซึ่งที่สุดแล้วศาลฎีกาได้มีคำสั่งไม่รับฎีกาและพิพากษายกฎีกา หลังจากนั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดใหม่ครั้งที่ 2 นัดวันที่ 20 ตุลาคม 2559 อีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน และศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกาและไม่รับฎีกาของผู้ร้อง พฤติการณ์ของผู้ร้องที่ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว เป็นเหตุให้บริษัท ค. ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดใหม่ครั้งที่ 2 ต้องขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไป และไม่อาจนำเงินที่เหลือมาวางชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่โจทก์ได้ ดังนี้ ถือเป็นการประวิงให้ชักช้าโดยไม่มีมูลมีผลให้การขายทอดตลาดไม่เสร็จสิ้น และผู้ซื้อทรัพย์รายใหม่ไม่อาจชำระราคาทรัพย์พิพาทอันเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ร้อง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ และเมื่อก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้ร้องจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน