คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประสิทธิภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9781/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนการกระทำผิดฐานพยายามฆ่า: การให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิดและการประเมินประสิทธิภาพอาวุธ
จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ มีพวกของจำเลยซ้อนท้ายมายังบริเวณที่เกิดเหตุ แล้วรอรับพาพวกของจำเลยหลบหนี โดยจำเลยจอดรถรอห่างประมาณ 7 ถึง 8 วา แม้แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 1 กอดปล้ำกับพวกของจำเลย จำเลยก็ไม่ได้แสดงปฏิกิริยาอย่างไร อีกทั้งวันเกิดเหตุเป็นวันสงกรานต์ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายทั้งสามมาก่อน พยานโจทก์เพียงเท่านี้จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยร่วมยิงกับพวกของจำเลยฟังได้เพียงว่าจำเลยให้ความสะดวกในการที่พวกของจำเลยมากระทำความผิดจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
การที่พวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มชาวบ้าน ซึ่งมีผู้เสียหายทั้งสามรวมอยู่ด้วย โดยยิงในระยะใกล้ แต่กระสุนปืนที่ถูกที่หน้าอกผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 3 ลูก ได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นบาดแผล 0.4 เซนติเมตรผู้เสียหายที่ 2 ถูกกระสุนปืนที่ต้นขาซ้าย 1 ลูก และผู้เสียหายที่ 3 ถูกกระสุนปืนที่ต้นขาซ้าย 1 ลูก แพทย์ผู้รักษาผู้เสียหายทั้งสามให้การในชั้นสอบสวนว่าผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด แต่เนื่องจากกระสุนปืนกระจายออก และไม่ถูกอวัยวะสำคัญโดยกระสุนปืนไปฝังอยู่บริเวณชั้นกล้ามเนื้อ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาในทันทีก็ยังไม่ถึงกับเสียชีวิตได้ การที่ยิงในระยะใกล้แต่กระสุนปืนฝังแค่ชั้นกล้ามเนื้อแสดงว่าอาวุธปืนที่พวกของจำเลยยิงไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้ อันถือได้ว่าการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นของพวกของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ ตาม ป.อ.มาตรา 81 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประสิทธิภาพอาวุธและการประเมินเจตนาพยายามฆ่า: ปืนทำเองไร้ประสิทธิภาพ ไม่ถึงแก่ความตาย
ฟ้องจำเลยว่าใช้ปืนชนิดทำเองยิงโดยเจตนาจะฆ่าให้ตายเมื่อปรากฏว่าปืนนั้นขาดประสิทธิภาพถึงจะอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้ถึงตายได้ดังนี้จำเลยก็ไม่ผิดตามมาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่คล้ายกับงานที่มีอยู่แล้ว การปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ใช่การสร้างสรรค์ใหม่
รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามสิทธิบัตรทั้ง 2 คำขอคล้ายกับรูปแบบผลิตภัณฑ์เสาอากาศรับสัญญาณที่มีผู้อื่นเปิดเผยและเผยแพร่มาก่อน แม้รูปแบบปีกของจำเลยทำให้การรับสัญญาณดีขึ้นก็เป็นเรื่องของประสิทธิภาพ มิใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 ประกอบมาตรา 57 (1) (2) (3) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งสองแบบของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 64

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทธนาคาร การปล่อยสินเชื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจการจำเลย หากลูกค้าสินเชื่อของจำเลยค้างชำระหนี้แล้วจำเลยไม่สามารถควบคุมดูแลให้ลูกค้าชำระหนี้ตามเป้าหมายอาจทำให้หนี้สินเชื่อค้างชำระเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อกิจการของจำเลยที่ต้องสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้น การที่จำเลยมีคำสั่งแบบแผนและวิธีปฏิบัติงาน กำหนดให้พนักงานติดต่อลูกค้าที่ค้างชำระหนี้ ไม่ว่าทางโทรศัพท์ทางจดหมายหรือติดตาม ณ ที่อยู่ที่ระบุไว้ในหลักประกัน จากนั้นต้องจัดทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาและบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ระบบไอคอลเล็กชัน (I-Collection) ก็เพื่อควบคุมดูแลไม่ให้หนี้สินเชื่อค้างชำระเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจการของจำเลย เมื่อโจทก์มีหน้าที่ติดตามหนี้สินเชื่อปล่อยใหม่ค้างชำระ จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอย่างเคร่งครัด แต่จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ 60 ที่กำหนดว่า "นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่... (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ... (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำต้องตักเตือน.."
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ และจำเลยไม่เคยตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ การกระทำของโจทก์จึงเป็นเรื่องบกพร่องต่อหน้าที่ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีที่ร้ายแรง