คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นชัดเจน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6027/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: ศาลชอบที่จะงดสืบพยานเมื่อประเด็นชัดเจน และการขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีไม่มีประเด็นแบ่งมรดก
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า สมควรถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ไม่มีประเด็นเรียกร้องแบ่งเอาทรัพย์มรดก ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ขอให้ผู้ร้องแสดงบัญชีเงินได้จากการขายที่ดินทรัพย์มรดกและนำเงินดังกล่าวมาวางศาล ทั้งขออายัดการโอนที่ดินทรัพย์มรดกแปลงอื่น ตามคำแถลงคัดค้านของผู้ร้องรับว่าไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกและได้โอนขายที่ดินทรัพย์มรดกไปจริง จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสืบพยานผู้ร้อง เพราะเป็นการฟุ่มเฟือย ชักช้าไม่ทำให้ประเด็นเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นชอบที่จะงดสืบพยานของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานผู้ค้ำประกันที่ไม่ชัดเจนประเด็น การพิจารณาไม่ถูกต้อง
คำให้การของจำเลยแม้จะไม่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธ อันจะทำให้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบ แต่โจทก์ยังมีภาระจะต้องสืบพยานให้ได้ความตามข้ออ้างของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเงินได้จากการขายทรัพย์สินประกัน การงดสืบพยานเมื่อไม่มีประเด็นชัดเจน
ผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยยืมเงิน ช. จำเลยให้การว่า ช. บังคับให้จำเลยขายรถยนต์ได้เงิน 60,000 บาท และเงิน 60,000 บาท ช.ได้รับไว้เป็นการชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมด ดังนี้ คำให้การดังกล่าวมีความหมายว่า ช. ได้รับชำระหนี้ด้วยเงินซึ่งได้จากการขายรถยนต์ หาใช่ได้รับชำระหนี้ด้วยรถยนต์ไม่ จึงไม่มีประเด็นว่า ช. ได้รับชำระหนี้ด้วยทรัพย์อย่างอื่นหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่มีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานการใช้เงิน และยังมิได้เวนคืนหนังสือสัญญากู้เงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานมาสืบตามข้อกล่าวอ้างนั้น
จำเลยฎีกาขอให้ศาลสืบพยาน เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเงินได้จากการขายทรัพย์สินประกัน การงดสืบพยานเมื่อไม่มีประเด็นชัดเจน
ผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยยืมเงิน ช.จำเลยให้การว่าช. บังคับให้จำเลยขายรถยนต์ได้เงิน 60,000 บาท และเงิน 60,000 บาท ช.ได้รับไว้เป็นการชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมด ดังนี้ คำให้การดังกล่าวมีความหมายว่า ช. ได้รับชำระหนี้ด้วยเงินซึ่งได้จากการขายรถยนต์ หาใช่ได้รับชำระหนี้ด้วยรถยนต์ไม่จึงไม่มีประเด็นว่า ช. ได้รับชำระหนี้ด้วยทรัพย์อย่างอื่นหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่มีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานการใช้เงิน และยังมิได้เวนคืนหนังสือสัญญากู้เงินจำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานมาสืบตามข้อกล่าวอ้างนั้น
จำเลยฎีกาขอให้ศาลสืบพยาน เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาต้องระบุประเด็นชัดเจน ห้ามอ้างคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นส่วนหนึ่งของฎีกา
ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในฎีกานั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา จะขอให้ถือเอาคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำฎีกาด้วยนั้น ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องระบุประเด็นชัดเจน & คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นต้องอุทธรณ์ตามกฎหมายกำหนด มิฉะนั้นหมดสิทธิ
ปัญหาข้อกฎหมายที่ยกขึ้นฎีกานั้น ต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกามิฉะนั้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลได้มีคำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 แล้ว หากคำสั่งนั้นทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ทันที แต่ถ้าไม่ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องก็อุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือนนับแต่มีคำสั่ง ถ้าจะอุทธรณ์เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว ก็จะต้องโต้แย้งให้ศาลจดรายงานไว้ มิฉะนั้นคู่ความฝ่ายนั้นย่อมหมดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา