คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นชี้ขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอออกหมายบังคับคดีซ้ำ – ประเด็นที่วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว – ป.วิ.พ. มาตรา 144
จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยก่อนที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนคำขอของโจทก์ที่ขอให้ออกหมายบังคับคดี จำเลยที่ 1ได้ยื่นคำคัดค้านว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นในชั้นไต่สวนคำขอออกหมายบังคับคดีของโจทก์จึงมีประเด็นพิพาทกันว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง การที่จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องเข้ามาอีกโดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 แม้จะมีคำขอให้โจทก์คืนเงินที่รับไปจากจำเลยที่ 1 มาด้วย ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลตัดสินแล้ว ถือเป็นการขัดต่อกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์แล้ว คดีถึงที่สุด ดังนี้การที่จำเลยกลับมายื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่นอกเขตโฉนดที่จำเลยขายให้ โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนคำบังคับนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลชี้ขาดประเด็นการอยู่อาศัยในที่ดินหลังประนีประนอม คำสั่งเด็ดขาดแล้วห้ามขอแก้ไข
การที่ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ย่อมใช้บังคับได้ตลอดถึงบริวารจำเลยด้วย
โจทก์ร้องว่า ผู้ร้องกับพวกเป็นบริวารจำเลยผู้ร้องกับพวกสู้ว่าไม่ได้เป็นบริวารจำเลยเพราะเป็นผู้เช่าที่ดินจากจำเลยศาลสั่งว่าให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ต่อไปอีก 3 เดือน คำสั่งศาลที่ว่านี้เป็นคำสั่งศาลชี้ขาดในประเด็นระหว่างผู้ร้องกับโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในข้อโต้เถียงแล้วมิได้มีฝ่ายใดอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นย่อมเด็ดขาดถึงที่สุดตามกฎหมายและบังคับคดีต่อไปตามคำสั่งนั้นได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา271)
ศาลสั่งให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ได้เพียง 3 เดือน เพราะการเช่าจากจำเลยเป็นการอยู่โดยอาศัยอำนาจจำเลย ชื่อว่าเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องขอให้แก้เป็นให้ผู้ร้องอยู่ได้ต่อไป เพราะผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา144(1) เพราะมิใช่การขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีขับไล่: ศาลชี้ขาดประเด็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ไม่ตัดสินว่าที่ดินเป็นของใคร
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยครั้งหนึ่ง ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์สืบไม่ได้ความแน่นอนว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน โจทก์จึงกลับมาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินรายเดียวกันอีก ดังนี้เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะเมื่อโจทก์สืบไม่สมตามคำฟ้อง ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่า ที่ดินนั้นเป็นของจำเลยหรือของใคร จึงถือได้ว่า ในคดีก่อนศาลได้ชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ: เมื่อศาลชี้ขาดประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว การฟ้องคดีเดิมอีกย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ฟ้องโจทก์คดีนี้กับคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยในคดีหลังมีประเด็นซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยที่ 1 เมื่อศาลชั้นต้นในคดีหลังได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีแล้วกรณีก็ตกอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน