พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 กรณีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษา เนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อทั้งสองคดีคู่ความเป็นคนเดียวกัน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลาง: ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นริบของกลางซ้ำ หากคำสั่งริบในคดีหลักถึงที่สุดแล้ว
ในคดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนเรือของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่า ศาลจะสั่งริบเรือของกลางได้หรือไม่ยุติไปตามคำสั่งศาลในคดีหลักซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนเรือของกลางต่อไปอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2547)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลฎีกาพิพากษายืนฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 กรณีประเด็นสิทธิมรดกซ้ำกับคดีเดิม
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีเดิม แต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นทนายความของจำเลยที่ 2 ในคดีเดิม ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่าคู่ความหมายความรวมถึงทนายความของโจทก์หรือจำเลยด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความในคดีเดิมเช่นกัน
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีครั้งที่ 2 ไม่ชอบเมื่อการตรวจสอบครั้งแรกครอบคลุมทุกประเด็นแล้ว
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19และมาตรา20บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้แต่ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้โดยจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องการออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายประกอบกับตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2525ข้อ7.3ที่ว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้วเว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้วหรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นก็ให้ขออนุมัติออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่ได้เฉพาะรายเมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องประการใดเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำฟ้องที่มีประเด็นซ้ำกับคดีแพ่งในคดีอาญา
ก่อนฟ้องคดีนี้ พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวง ในฐานความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายซึ่งขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และเป็นโจทก์ในคดีนี้ เงินจำนวนตามคำขอดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำขอบังคับของโจทก์ในคดีนี้กับคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว เป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้อง-ซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว อันต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามป.วิ.พ มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากประเด็นและคู่ความซ้ำกับคดีถึงที่สุดแล้ว
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลาย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว คดีถึงที่สุดโจทก์นำมูลหนี้จำนวนเดิมมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสอง ล้มละลายเป็นคดีนี้อีก คู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความ เดียวกัน ประเด็นพิพาทก็อาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินแก่ บุคคลภายนอกไปแล้วหรือไม่ และจำเลยทั้งสองมี หนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ จึงเป็น ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก ประกอบด้วย มาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในกรณีที่ดิน: ศาลยกฟ้องได้หากประเด็นและเหตุผลซ้ำกับคดีที่ตัดสินถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนผู้ร้องร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในโฉนดที่ดินที่ผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องได้แนบแผนที่สังเขปแสดงรูปลักษณะของที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองมาท้ายคำร้องด้วย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินแปลงตามคำร้องขอจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ที่ดินเนื้อที่ 6 ไร่ 83 ตารางวา ซึ่งอยู่ตรงกลางหลังจากแบ่งแยกให้แก่ผู้ร้องกับ ว. ไปแล้วเป็นที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองอยู่ในขณะที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนเมื่อที่พิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ และศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในคดีก่อน การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ จึงเป็นการรื้อร้องอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน กรณีเป็นฟ้องซ้ำแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้น แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871-1872/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทซ้ำกับคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลยกฟ้อง
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินในโฉนดให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในสำนวนแรกและแบ่งให้แก่นาง พ. มารดาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนหลัง ต่อมาโจทก์และจำเลย ได้พิพาทกันในชั้นบังคับคดี เกี่ยวกับการรังวัดแบ่งแยกที่ดินในโฉนดดังกล่าว ว่ารังวัด แบ่งแยกถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกาหรือไม่ศาลชั้นต้นได้นัด พร้อมทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าตรงที่พิพาทด้านเหนือให้ เจ้าพนักงานรังวัด แบ่งให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองสำนวน นี้เพียงแค่ติดสวนของโจทก์ เมื่อช่างแผนที่ไปรังวัด แบ่งแยกเสร็จแล้วโจทก์ไม่รับรองศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ารูปแผนที่แบ่งแยกซึ่งช่างแผนที่ทำมานั้นถูกต้องตรงกับข้อตกลงของโจทก์ จำเลยแล้ว มีคำสั่งให้แบ่งแยกที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองสำนวน ตามรูปแผนที่แบ่งแยกดังกล่าวคดีถึงที่สุดฉะนั้นที่โจทก์ฟ้องคดี ทั้งสองสำนวนนี้ว่า จำเลยทั้งสองสำนวนได้สมคบกันออกรูปแผนที่ หลังโฉนดซึ่ง เป็นที่พิพาทกันในคดีก่อนขัดกับคำพิพากษาฎีกา เป็นเหตุให้ ที่ดินของโจทก์ขาดไป. จึงเป็นการโต้เถียงว่า การรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกาอัน เป็นประเด็นเดียวกัน กับประเด็นที่โจทก์จำเลยพิพาทกันใน ชั้นบังคับคดี ซึ่งได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดดังกล่าว แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นซ้ำในคดีแพ่ง, ผลคำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะบุคคลย่อมใช้ยันบุคคลภายนอก, การงดสืบพยานในประเด็นที่เคยวินิจฉัยแล้ว
โจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยพิพาทกับเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ศาลได้วินิจฉัยถึงประเด็นเรื่องการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในคดีนั้นแล้วครั้นต่อมาโจทก์ได้ฟ้อง่ขอให้เพิกถอนการสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และ 2 ในคดีหลังนี้จำเลยที่ 2 จะยกประเด็นเรื่องหย่าขึ้นต่อสู้โจทก์อีกไม่ได้เพราะเป็นประเด็นเดียวกันและโจทก์กับจำเลยก็เป็นคู่ความเดียวกัน ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.148
คำพิพากษาในคดีก่อนเรื่องแบ่งทรัพย์สินที่วินิจฉัยชี้ประเด็นเรื่องหย่าไว้ด้วยนั้นเป็นคำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะของบุคคลย่อมใช้ยันจำเลยที่ 1 ด้วยได้ จำเลยที่ 1 จะขอสืบพะยานในประเด็นเรื่องหย่าในคดีนี้อีกไม่ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.145 ( ป.ช.ญ.ครั้งที่ 1/2498 )
คำพิพากษาในคดีก่อนเรื่องแบ่งทรัพย์สินที่วินิจฉัยชี้ประเด็นเรื่องหย่าไว้ด้วยนั้นเป็นคำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะของบุคคลย่อมใช้ยันจำเลยที่ 1 ด้วยได้ จำเลยที่ 1 จะขอสืบพะยานในประเด็นเรื่องหย่าในคดีนี้อีกไม่ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.145 ( ป.ช.ญ.ครั้งที่ 1/2498 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ดำเนินกระบวนการซ้ำ: ศาลยกฟ้องคดีที่ประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน และจำเลยร่วมกระทำโดยอาศัยสิทธิจำเลยที่ 1
ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ให้ยกฟ้องจำเลยกับให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานเฉพาะของโจทก์และจำเลยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ ในการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องฟ้องซ้อนอันเป็นประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ได้ชี้สองสถานกำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ไม่เป็นการขัดต่อคำพิพากษาศาลฎีกา
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปปักเสาพาดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 แต่มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนในมาตรา 28 (2) (ข) (ค) ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อนที่โจทก์ยกข้ออ้างว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขุดดินปักเสาไฟฟ้าในที่ดินของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ที่ดินอีก 15 แปลง ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ โจทก์ไม่ได้ฟ้องในคดีก่อน แต่ที่ดินเหล่านี้อยู่ในโครงการปรับปรุงสายส่งไฟฟ้าเดิมที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปปักเสาพาดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 แต่มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนในมาตรา 28 (2) (ข) (ค) ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อนที่โจทก์ยกข้ออ้างว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขุดดินปักเสาไฟฟ้าในที่ดินของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ที่ดินอีก 15 แปลง ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ โจทก์ไม่ได้ฟ้องในคดีก่อน แต่ที่ดินเหล่านี้อยู่ในโครงการปรับปรุงสายส่งไฟฟ้าเดิมที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)