คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นนอกคำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และประเด็นนอกคำฟ้อง
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่ระบุว่า ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างต่อผู้รับจ้างได้โดยการแจ้งบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า 3 เดือน ไปยังผู้รับจ้างมีความหมายว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาเพื่อให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยพลันไม่ได้ ต้องให้เวลาโจทก์เตรียมตัวไม่น้อยกว่า 3 เดือน เพื่อหยุดการก่อสร้าง หยุดการจัดหาสัมภาระในการก่อสร้าง เตรียมรื้อถอนโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์และเลิกจ้างคนงานตลอดจนคำนวณค่าจ้างและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น มิใช่ว่าโจทก์จำเลยยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งสัญญากันโดยโจทก์ต้องก่อสร้างและจำเลยต้องชำระเงินตามกำหนดกันอีกถึง 3 เดือน ทั้ง ๆ ที่สัญญาต้องเลิกกันอยู่แล้ว จึงต้องถือว่าสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเลิกกันตั้งแต่วันที่แจ้งบอกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วโดยจำเลยเป็นผู้บอกเลิกสัญญาอาศัยสิทธิในฐานะผู้ว่าจ้างและโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญากรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 ที่จำเลยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นสำหรับเงินค่าเตรียมการก่อสร้าง เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วก็ไม่ต้องเตรียมการก่อสร้างต่อไปอีก ส่วนเงินค่าก่อสร้างทาวน์เฮาส์ 3 หลังโจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างโดยถือว่าสัญญายังไม่เลิกกันจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของโจทก์อันเกิดแต่การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 605 และโจทก์ย่อมไม่อาจนำสืบถึงความเสียหายของโจทก์ดังกล่าวได้เนื่องจากเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยผิดประเด็นเมื่อพิจารณาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองจากการแย่งการครอบครอง ทั้งที่คำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์อ้างสิทธิในการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 103 ทับที่ดินที่โจทก์ครอบครองบางส่วน ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2ก็ได้ขอทำการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 2 แปลง โดยแบ่งออกมาตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่636/103 อีก 1 ฉบับ ซึ่งก็ยังคงทับที่ดินพิพาทบางส่วนที่โจทก์ครอบครองอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างตอนหนึ่งตอนใดให้เห็นว่า ที่ดินบางส่วนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองจากการยึดถือครอบครองที่ดินที่พิพาทบางส่วนแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นแย่งการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง จำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือแทน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้เท่ากับโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นการยึดถือเพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างไว้คำฟ้อง ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน ศาลมิอาจพิพากษาเกินคำขอได้ เว้นแต่มีเหตุสมควร
โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ15ทุกระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จซึ่งเป็นการขอให้บังคับจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ31วรรคสองแม้ว่าศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทในประเด็นข้อ3ว่าจำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายค่าล่วงเวลาและดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใดต่อมาโจทก์จำเลยแถลงขอสละประเด็นข้อ3เรื่องค่าเสียหายคงเหลือประเด็นค่าล่วงเวลาและดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าวแต่ประเด็นในคดีย่อมต้องเกิดจากคำฟ้องและคำให้การเมื่อโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องถึงเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีจากเงินค่าล่วงเวลาจึงเป็นการกำหนดประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องถือว่าการกำหนดประเด็นส่วนของดอกเบี้ยเป็นการไม่ชอบแม้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ต้องถือว่าวินิจฉัยในเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงานกลางนอกจากนี้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา52ยังห้ามมิได้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้จึงเห็นได้ว่าโดยหลักแล้วจะสั่งเช่นนั้นไม่ได้นอกจากจะเข้าข้อยกเว้นซึ่งในคำพิพากษาศาลแรงงานกลางมิได้กล่าวว่ามีเหตุสมควรอย่างไรจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์กรณีจึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีจากเงินค่าล่วงเวลาที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน ศาลต้องพิพากษาเฉพาะประเด็นที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่มีเหตุสมควรเพื่อความเป็นธรรม
โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ15ทุกระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องถึงเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปีซึ่งกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ31วรรคหนึ่งแม้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาและดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใดก็เป็นการกำหนดประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบการที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์โดยมิได้กล่าวว่ามีเหตุสมควรอย่างไรจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา52จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีพิพาทสิทธิที่ดิน: ห้ามฎีกาเมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่า 200,000 บาท และประเด็นนอกคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ 17,000บาท และจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ด้วยที่ดินพิพาทโดยถือว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์และไม่เคยตกลงขายที่ดินให้โจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยทั้งสองได้ขายให้แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคดีที่โต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองให้การหรือนำสืบโต้แย้งราคาที่ดินพิพาท จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมีราคา17,000 บาท และถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดีนี้เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู*ในขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินและมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยแล้ว ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่จำต้องก้าวล่วงไปฟังข้อเท็จจริงว่าการตกลงชำระหนี้ด้วยที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 656 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการอุทธรณ์ โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากหนังสือสัญญา โดยฟังว่าจำเลยที่ 2 เพียงแต่กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกคำฟ้อง: สิทธิในที่ดินจากการครอบครอง vs. ใบเหยียบย่ำ
โจทก์ฟ้องว่า ได้รับใบเหยียบย่ำในที่พิพาท จำเลยบุกรุกแย่งถางป่า จึงขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมา 20 ปีแล้ว ดังนี้ประเด็นข้อโต้เถียงกัน คงมีเพียงว่า ที่พิพาทซึ่งโจทก์ได้รับใบเหยียบย่ำมานี้จำเลยได้ครอบครองอยู่ก่อน ใบเหยียบย่ำของโจทก์ทับที่ๆ จำเลยครอบครองจริง หรือไม่เท่านั้น ส่วนข้อที่ว่าใบเหยียบย่ำของโจทก์ถูกอำเภอเพิกถอนหรือไม่ ถ้าเพิกถอนจะเป็นการชอบหรือไม่ อย่างไรนั้น ไม่มีประเด็นโต้เถียงกัน ฉะนั้นการที่ศาลไปวินิจฉัยว่า ใบเหยียบย่ำ
ของโจทก์ถูกเพิกถอนเสียแล้ว สิทธิตามใบเหยียบย่ำของโจทก์ย่อมหมดไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกคำฟ้อง: ศาลอุทธรณ์หยิบยกกระบวนการสอบสวนขึ้นวินิจฉัยโดยโจทก์มิได้กล่าวอ้าง เป็นการไม่เป็นธรรมต่อจำเลย
การสอบสวนของจำเลยจะชอบด้วยกระบวนการสอบสวนหรือไม่ ย่อมต้องมีข้อเท็จจริงที่จะนำมาพิจารณาปรับเข้ากับข้อกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นการสอบสวนชอบหรือไม่ จำเลยจึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่ากระบวนการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็นธรรมต่อจำเลย เพราะหากมีประเด็นนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยอาจจะนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยก็ได้ การที่จะยกข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเองจะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งครอบครอง vs. ครอบครองแทน หากมิได้อ้างการครอบครองแทน ศาลล่างวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองที่ดินพิพาทแทน จ. แล้วแย่งการครอบครองโดยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง จ. ว่าไม่มีเจตนายึดที่ดินพิพาทแทน จ. ต่อไป คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง จ. บิดาจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ทั้งสอง ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ และเมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 โดยโจทก์ทั้งสองมิได้แก้ฎีกาว่า ส. บิดาโจทก์ที่ 2 เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ จ. หรือบริษัท ร. แล้วโจทก์ที่ 2 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องมาจาก จ. จึงเป็นการครอบครองแทน จ. บิดาจำเลยด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องแย้งให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินพิพาทได้