คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้จำนองที่ดินต่างแปลงกัน แต่หากประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีก่อนร่วมกันรับผิดกับจำเลยอื่นในฐานที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินดังกล่าวและที่ดินจำนองของจำเลยอื่นออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามในคดีก่อนชำระจนครบถ้วนคดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองที่ดินอีกแปลงหนึ่งที่จำเลยจำนองเป็นประกันเพิ่มหลักทรพัยืให้แก่โจทก์ โดยมีคำขอบังคับว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองตามคำพิพากษาในคดีก่อน ขอให้บังคับจำนองที่ดินในคดีนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีก่อน เมื่อที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองเป็นคนละแปลงกัน แม้จำเลยจะจดทะเบียนจำนองเป็นการประกันหนี้รายเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดคดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแตกต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7960/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาชี้ขาดการพิจารณาคดีล้มละลายต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องและหลักฐานอย่างครบถ้วน
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/32 และผู้คัดค้านแถลงคัดค้านคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการไต่สวนหาความจริงในข้อเท็จจริงที่คู่ความยังโต้เถียงกันอยู่แล้ววินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเกิดจากคำร้องและคำคัดค้านนั้น ในคำสั่งศาลเรื่องดังกล่าวจะต้องแสดงถึงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงและคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ข้อ 24 การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้และมีคำสั่งเพียงว่า เมื่อลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศและข้อปฏิบัติทางราชการ ผู้ร้องไม่อาจอ้างปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างทางปฏิบัติของลูกหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการกล่าวแบบรวม ๆ มิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและแสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลายฯ ข้อ 24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยจำกัดประเด็น ทำให้สละสิทธิในการอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินค่าผ่านถนนพิพาทเป็นการทำตามมติเสียงข้างมากของที่ประชุมชาวบ้านที่อยู่อาศัยในศูนย์การค้า โจทก์คดีดังกล่าวแม้ไม่เห็นด้วยก็ต้องปฏิบัติตาม การปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยชอบ ไม่เป็นการละเมิด เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ท้ากันให้ถือเอาคำพิพากษาคดีดังกล่าวมาเป็นข้อวินิจฉัยคดีนี้ จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินค่าผ่านถนนพิพาทตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ซึ่งออกตามมติของที่ประชุมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อห้ามเก็บค่าเช่าต้องมีประเด็นพิพาทเรื่องค่าเช่าเสียก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย หากโจทก์ชนะคดีโจทก์จะได้เงินค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทควรจะเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและ ดูแลกิจการแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและการรื้อถอนอาคาร ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นหากไม่ได้กำหนดไว้
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท แม้มีการแถลงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซึ่งได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปทำการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสามครึ่งหนึ่ง จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ม.และ ส. ซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดมานาน 40 ปี แล้ว ต่อมาโจทก์ทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ม. ส่วนจำเลยทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ส. แต่คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดจำนวนเนื้อที่ฝ่ายละเท่าใด เพื่อปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสามที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท แม้จำเลยทั้งสามจะได้แถลงต่อศาลชั้นต้นถึงส่วนสัดของที่ดินที่จำเลยทั้งสามได้ครอบครองก็ตาม คำแถลงดังกล่าวมิใช่คำให้การย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วม: คำให้การไม่ชัดเจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท ศาลล่างวินิจฉัยถูกต้อง
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัด ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ทั้งสามขอให้จำเลยทั้งสาม ไปจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามส่วนสัดที่แต่ละฝ่ายได้ครอบครองแล้ว จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปทำการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่ โจทก์ทั้งสามครึ่งหนึ่งจำเลยทั้งสามให้การว่า เดิมที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ม. และส. ซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดมานาน 40 ปี แล้ว โดย ม. ครอบครองปลูกสร้างอยู่ทางทิศตะวันตกและส.ครอบครองปลูกสร้างบ้านอยู่ทางทิศตะวันออกต่อมาโจทก์ทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ม.ส่วนจำเลยทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ส. เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดจำนวนเนื้อที่ฝ่ายละเท่าใด เพื่อเป็นการปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสามที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทแม้จำเลยทั้งสามจะได้แถลงต่อศาลชั้นต้น ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาถึงส่วนสัดของที่ดินที่จำเลยทั้งสาม ได้ครอบครองก็ตาม คำแถลงดังกล่าวก็มิใช่คำให้การไม่ก่อ ให้เกิดประเด็นพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินเนื่องจากฉ้อฉล แม้ไม่ได้ยกประเด็นในชั้นชี้สองสถาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีก่อน จำเลยทั้งสองและทายาทของ จ.นางแจ่มได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโดยการสมยอม ทำให้ที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงและโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1ได้ครบถ้วนตามคำพิพากษา เป็นการฉ้อฉลโจทก์ และโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 4445 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534ระหว่างจำเลยทั้งสอง กับให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดพิพาทเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หรือให้ลบชื่อจำเลยที่ 2 ที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 มาด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการฉ้อฉลโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 ด้วยได้แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดตามคำขอดังกล่าวเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การโดยตรง มิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น และกรณีหาใช่โจทก์สละประเด็นข้อพิพาทในกรณีตามคำขอส่วนนี้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การหักเงินชำระแล้ว, และประเด็นความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกันใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1 ได้มอบเงิน 1,000,000บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน 1,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้นโจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมา จะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ แต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเดิม แม้เปลี่ยนฐานความรับผิด
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ประเด็นมีว่า จำเลยชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว การที่จำเลยกลับมายื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเป็นจำเลยในคดีนี้ขอให้คืนเงินอ้างว่าเป็นเงินที่โจทก์ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลย แต่จำเลยมิได้นำไปหักใช้เงินที่โจทก์กู้ยืมมา ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์แล้วหรือไม่นั่นเอง จึงเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
of 6