คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การบรรยายฟ้องตามมาตรา 42 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ โดยใช้คำว่า 'ประเทศ' แทน 'กฎหมาย' ยังถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ว่า "...และกฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ..." แต่ใช้คำว่า "ประเทศ"แทนคำว่า "กฎหมาย" ก็พอที่จะแปลความหมายตามฟ้องของโจทก์ได้ว่ารวมถึงกฎหมายของประเทศนั้นด้วย มิใช่กรณีที่โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องเสียเลยว่า กฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ ฟ้องของโจทก์จึงมีสาระสำคัญที่แสดงให้เห็นว่างานตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 ดังกล่าว และเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การตีความคำว่า 'ประเทศ' เทียบเท่า 'กฎหมาย'
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ว่า กฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่ใช้คำว่า "ประเทศ"แทนคำว่า "กฎหมาย" ก็พอที่จะแปลความได้ว่ารวมถึงกฎหมายของประเทศนั้นด้วย อันหมายถึงประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่นแห่งอนุสัญญาและของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงมีสาระสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าแถบบันทึกภาพตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 และเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาว่าเช็คเป็นเช็คต่างประเทศหรือไม่ ให้ดูที่ผู้สั่งจ่ายเช็คสั่งจ่ายภายในประเทศหรือต่างประเทศ
ตามบทบัญญัติมาตรา 987 และมาตรา 988 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลผู้ออกเช็คหรือทำตราสารดังกล่าวก็คือผู้สั่งจ่ายโดยทั่ว ๆ ไปอาจจะเห็นว่าธนาคารเป็นผู้พิมพ์แบบฟอร์มเช็คออกเป็นเล่ม ๆ ให้แก่ผู้มีบัญชีฝากเงินกับธนาคาร แต่ที่เป็นดังนั้นมิได้หมายความว่าธนาคารเป็นผู้ออกเช็คแต่ธนาคารกระทำขึ้นแทนผู้สั่งจ่ายเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้สั่งจ่ายในการใช้และกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจึงทำเป็นแบบพิมพ์ในรูปเดียวกัน แต่โดยเนื้อแท้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว ผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ออกเช็คหรือทำตราสารนั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507) โดยเหตุนี้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คออกมาแต่ต่างประเทศหรือไม่จึงอยู่ที่ว่าผู้สั่งจ่ายเช็คได้สั่งจ่ายเช็คภายในประเทศหรือสั่งจ่ายเช็คที่ต่างประเทศเป็นสำคัญ หาใช่ดูว่าธนาคารตามเช็คอยู่ ณ ที่ใดเป็นสำคัญไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทในประเทศไทย แม้ธนาคารเจ้าของเช็คจะอยู่ต่างประเทศ เช็คพิพาทจึงมิใช่เช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศตามมาตรา 989 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22674/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้ายาเสพติด: การครอบครองยาเสพติดเมื่อเดินทางเข้าประเทศถือเป็นการนำเข้า แม้แหล่งที่มาไม่ชัดเจน
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ได้ให้บทนิยามคำว่า "นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเดินทางจากประเทศกัมพูชาเข้ามาในประเทศไทย โดยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางติดตัวมาด้วยดังกล่าวไม่ว่าจำเลยจะได้เมทแอมเฟตามีนมาจากใครและด้วยวิธีการอย่างไร หรือเป็นการนำติดตัวจากประเทศไทยดังที่จำเลยอ้างหรือไม่ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แหล่งที่มาและการได้มาซึ่งเมทแอมเฟตามีนก่อนการนำเข้าจึงมิใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย