คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเภทการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ถนน vs. สิทธิผู้เช่า: การใช้ถนนต้องไม่ทำให้ทรัพย์สินชำรุด และต้องพิจารณาประเภทการค้า
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ถนนพิพาทและตึกแถวที่โจทก์เช่า จึงมีสิทธิที่จะให้ใครใช้ถนนพิพาทหรือไม่ก็ได้ ส่วนการที่โจทก์มีสิทธิใช้ถนนพิพาทก็เนื่องจากโจทก์เป็นผู้เช่าตึกแถวของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ริมถนนพิพาท แต่ผู้เช่าจำต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และต้องบำรุงรักษาทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 553 โจทก์จึงต้องสงวนถนนพิพาท เมื่อการให้รถบรรทุก 6 ล้อ และ 10 ล้อ แล่นเข้ามาในถนนพิพาทเป็นเหตุให้ถนนพิพาทชำรุดเร็วยิ่งขึ้น ดังนี้ การที่จำเลยปิดกั้นถนนพิพาทและห้ามโจทก์ใช้รถบรรทุก 10 ล้อของโจทก์วิ่งผ่านจึงเป็นการสมควรแล้ว และแม้ในสัญญาเช่าจะระบุว่าให้เช่าตึกแถวเพื่อการค้าและอยู่อาศัยก็ตาม แต่เมื่อสัญญาเช่าไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นการค้าขายประเภทใด ซึ่งหากเป็นการตั้งโรงงานใช้รถบรรทุก 10 ล้อ จำเลยอาจไม่ให้เช่าก็ได้ และจำเลยไม่ได้ห้ามเด็ดขาดมิให้รถยนต์แล่นเข้าออกถนนพิพาทเสียทีเดียว รถยนต์ 4 ล้อและรถปิกอัพก็สามารถแล่นเข้ามาได้ เพียงแต่โจทก์ไม่ได้รับความสะดวกเท่านั้นเอง จำเลยจึงไม่ได้ผิดสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จตามสั่งเข้าข่ายเป็นการขายสินค้า ไม่ใช่การรับจ้างทำของ
โจทก์จะผลิตคอนกรีตผสมเสร็จต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากลูกค้าตามสูตรสำเร็จของโจทก์หรือตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้วัสดุของโจทก์เอง แล้วโจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จบรรทุกรถที่มีโม่เพื่อกวนคอนกรีตให้เข้ากันและป้องกันการแข็งตัวไปส่งยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด แม้โจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้แล้วไปทดสอบ แรงอัดประลัย หากไม่ได้ขนาดที่ตกลงกันโจทก์จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นก็เป็นการรับผิดชอบในคุณสมบัติของของที่นำไปใช้งานและการที่ไม่ผลิตเป็นตัวสินค้าให้สำเร็จก่อนมีการสั่งซื้อก็เพราะเกี่ยวกับสภาพของของไม่อาจทำเช่นนั้นได้ การประกอบการของโจทก์จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอันเป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มาตรา 7(3) และบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) แห่ง บัญชีอัตราภาษีการค้า ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3 ของรายรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การผลิตอิฐทนไฟตามสั่งเสียภาษีการค้าประเภทใด
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่ แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า สัมภาระกับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นรับจ้างทำของ แต่ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ ชามอส อลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเอง ดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1 (ฉ) ในอัตราร้อยละ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: ผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีตามประเภทการค้าที่จดทะเบียน แม้เป็นสินค้ามือสองก็ไม่เข้าข่ายอัตราภาษีพิเศษหากไม่ได้รับอนุญาต
คำว่า "ของเก่า" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 มาตรา 3 นั้น หมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่นายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดตนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: การพิจารณาประเภทการค้าและผู้ประกอบการ
คำว่า "ของเก่า" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 มาตรา 3 นั้นหมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดจนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: การพิจารณาประเภทการค้าและคุณสมบัติผู้ประกอบการ
คำว่า 'ของเก่า' ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 มาตรา 3 นั้นหมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป.
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ. จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดจนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน. จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่.
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก). มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ.แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า - ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีเมื่อมีประเภทการค้าชัดเจน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น "ผู้ประกอบการค้า"ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า2 ประเภท คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับผู้ที่บทบัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประเภทหนึ่ง ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1)และ (2)
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสองอธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2) ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว
คำว่า"ผลิตเพื่อขาย"ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า "โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย" ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิวรรคแรก กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดีการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "มิใช่นำมาขาย" ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ลงไปอีก และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่: เพียงกล่าวอ้างเช่าเพื่อทำการค้าถือว่าเพียงพอ แม้ไม่ได้ระบุประเภทการค้า
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยเช่าตึกเพื่อทำการค้า เป็นการเพียงพอที่แสดงว่าจำเลยเช่าเพื่อทำการค้า ไม่ใช่เพื่ออยู่อาศัย โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าจำเลยทำการค้าอะไร จำเลยไม่เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ฟ้องไม่เคลือบคลุม