พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ราชพัสดุกับการรบกวนการครอบครอง: การจำแนกประเภททรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อกำหนดความผิดทางอาญา
แม้ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 และ 5 ที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์มรดก: การจำแนกประเภททรัพย์สินและระยะเวลาการถือครอง
เงินได้จากการขายที่ดินทั้งห้าแปลงตามฟ้อง เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ของกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในชื่อกองมรดกของผู้ตายตามมาตรา 57 ทวิ วรรคสอง เมื่อกองมรดกมีเงินได้ตามมาตรา 40(8) จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ผู้จ่ายเงินได้จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5)(ก) โดยคำนวณตามมาตรา 48(4)(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หรือหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5)(ข) โดยคำนวณตามมาตรา 48(4)(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นแล้วแต่กรณี แล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
สำหรับที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนรับโอนมาจาก อ. ตามคำพิพากษา โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่ บริษัท ค. ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มาดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินมิใช่เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข) ส่วนจำนวนปีที่ถือครองตามมาตรา 48(4) วรรคท้าย ระบุว่าหมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ การที่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวตามมาตรา 50(5)(ข) ประกอบมาตรา 48(4)(ข) และนับจำนวนปีที่ถือครองเพียง 1 ปี จึงถูกต้องแล้ว
ส่วนที่ดินที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) ประกอบมาตรา 48(4)(ก) ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยนำเงินได้จากการขายที่ดินมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(4)(ก) และคิดจำนวนปีที่ถือครองนับตั้งแต่ปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการคำนวณตรงตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่เกี่ยวกับภาษีในส่วนนี้จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนรับโอนมาจาก อ. ตามคำพิพากษา โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่ บริษัท ค. ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มาดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินมิใช่เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข) ส่วนจำนวนปีที่ถือครองตามมาตรา 48(4) วรรคท้าย ระบุว่าหมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ การที่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวตามมาตรา 50(5)(ข) ประกอบมาตรา 48(4)(ข) และนับจำนวนปีที่ถือครองเพียง 1 ปี จึงถูกต้องแล้ว
ส่วนที่ดินที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) ประกอบมาตรา 48(4)(ก) ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยนำเงินได้จากการขายที่ดินมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(4)(ก) และคิดจำนวนปีที่ถือครองนับตั้งแต่ปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการคำนวณตรงตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่เกี่ยวกับภาษีในส่วนนี้จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7938/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยการระบุประเภททรัพย์สินและค่าใช้จ่ายครบถ้วน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24บัญญัติให้เจ้าพนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมิน มีรายการตามที่กฎหมายกำหนดไว้3 ประการ คือ ประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีแห่งทรัพย์สิน และค่าภาษีที่จะต้องเสียไปให้ผู้รับประเมินทราบ และตามใบแจ้งรายการประเมินที่โจทก์ได้รับมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินเป็นคลังน้ำมันเอสโซ่ สาขาสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ตำบลบางกุ้งอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีค่ารายปีเป็นเงิน 1,875,600 บาทและค่าภาษีเป็นเงิน 234,450 บาท ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินดังกล่าวเป็นการแจ้งรวม เจ้าพนักงานได้แจ้งรายการทรัพย์สินของโจทก์ว่าเป็นคลังน้ำมันซึ่งเป็นประเภทสิ่งปลูกสร้างต้องถูกจัดเก็บภาษีตามมาตรา 24 ประกอบด้วยมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ครบถ้วนชัดเจนแล้ว หาจำต้องระบุรายละเอียดแยกแต่ละรายการของประเภททรัพย์สินที่จะต้องถูกจัดเก็บไม่ ทั้งนี้ ในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ของโจทก์ ก็ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรือนและที่ดินที่จะต้องชำระภาษีไว้ครบถ้วน โจทก์ก็ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าใบแจ้งรายการประเมินที่เจ้าพนักงานแจ้งให้โจทก์ทราบ เป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตามแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนั่นเอง ซึ่งโจทก์เข้าใจดีอยู่แล้ว ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินของเจ้าพนักงานเก็บภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7938/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของใบแจ้งรายการประเมินที่ระบุประเภททรัพย์สินรวม
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าพนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินมีรายการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 3 ประการ คือ ประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีแห่งทรัพย์สิน และค่าภาษีที่จะต้องเสียไปให้ผู้รับประเมินทราบ และตามใบแจ้งรายการประเมินที่โจทก์ได้รับมีข้อความระบุว่าทรัพย์สินเป็นคลังน้ำมันเอสโซ่ สาขาสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่ 63 หมู่ที่ 4ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีค่ารายปีเป็นเงิน 1,875,600 บาท และค่าภาษีเป็นเงิน234,450 บาท ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินดังกล่าวเป็นการแจ้งรวม เจ้าพนักงานได้แจ้งรายการทรัพย์สินของโจทก์ว่าเป็นคลังน้ำมันซึ่งเป็นประเภทสิ่งปลูกสร้างต้องถูกจัดเก็บภาษีตามมาตรา 24 ประกอบด้วยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ครบถ้วนชัดเจนแล้ว หาจำต้องระบุรายละเอียดแยกแต่ละรายการของประเภททรัพย์สินที่จะต้องถูกจัดเก็บไม่ ทั้งนี้ ในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539ของโจทก์ ก็ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรือนและที่ดินที่จะต้องชำระภาษีไว้ครบถ้วน โจทก์ก็ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าใบแจ้งรายการประเมินที่เจ้าพนักงานแจ้งให้โจทก์ทราบเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตามแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนั่นเอง ซึ่งโจทก์เข้าใจดีอยู่แล้วดังนั้น ใบแจ้งรายการประเมินของเจ้าพนักงานเก็บภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญาเรื่องประเภททรัพย์สิน ศาลอนุญาตแก้ได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ไนเรื่องลักทรัพย์ โจทสืบพยานไปได้ + ปากได้ร้องขอแก้โคเปนกะบือ เมื่อไม่เปนเหตุไห้จำเลยหลงข้อต่อสู้แล้ว โจทขอแก้ได้