พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายและจ้างติดตั้ง: การประเมินภาษีถูกต้องตามประเภทสัญญา
ในการตีความในสัญญานั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา ประกอบกับถ้อยคำสำนวนในสัญญาด้วย
ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบพร้อมทั้งการติดตั้ง แม้ว่าในตัวสัญญาจะมิได้ระบุราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง แต่ตามภาคผนวกแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ระบุราคาของเครื่องชุมสายโทรศัพท์ทั้งแปดชุมสายว่าแต่ละชุมสายมีราคาเท่าใด อุปกรณ์ประกอบมีราคาเท่าใด ค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมคิดเป็นจำนวนเท่าใด โดยแยกออกจากกันชัดเจน และการขอรับเงินค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์กับค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรม ก็จะต้องกระทำแยกออกต่างหากจากกัน แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออก ต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา
ตามข้อสัญญาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ซื้อขายกันนี้มีการประกอบแล้วเสร็จและทำการทดสอบได้ตั้งแต่อยู่ที่โรงงานของผู้ขายในต่างประเทศก่อนส่งมาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้แยกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อขนส่งมายังประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย โจทก์ได้ประกอบเข้าเป็นตู้แล้วนำอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์เข้าสอดใส่แล้วปิดฝาพร้อมทั้งต่อสายเชื่อมระหว่างตู้ชุมสายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงทดลองใช้ระบบโทรศัพท์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นการติดตั้งให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์ ที่กองทัพเรือซื้อจากโจทก์สามารถใช้งานได้เท่านั้น แม้ว่าในการประกอบติดตั้งระบบชุมสายโทรศัพท์ต้องใช้ เทคนิคเฉพาะ โจทก์เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งผู้ขายมีความรู้ในระบบของตนเองดีกว่า ผู้อื่นและต้องการเก็บรักษาเทคนิคของระบบเครื่องชุมสายโทรศัพท์ของตนเองไว้มิให้ล่วงรู้ไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ดังจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดการรักษาความลับและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในสัญญาว่า บรรดาสิทธิใน ปัญญาสมบัติ (Intellectual Property Right) ทั้งหมดในซอฟแวร์ซึ่งผู้ขายได้จัดหาให้แก่ผู้ซื้อภายใต้สัญญานี้ ยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้ขายตลอดเวลา ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินเพื่อตอบแทนการชำระราคา เพราะสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟแวร์นั้นเป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ใน เครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพยสิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟแวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่ผู้ขายขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์ให้แก่ผู้ซื้อโดยมีข้อยกเว้นไม่โอนสิทธิใน ซอฟแวร์ให้แก่ผู้ซื้อนั้น ไม่อาจตีความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างใด การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจนประกอบกับเหตุผลอื่น ๆ ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และกองทัพเรือเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบกับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์รวม 8 ชุมสาย แยกต่างหากจากกันเป็น สองลักษณะสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 4 ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด แม้ว่าตาม ป. รัษฎากร มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ และตามสัญญาพอแปลความได้ว่า ผู้ซื้อคือกองทัพเรือรับภาระที่จะเสียอากรแทนผู้ขายคือโจทก์ก็ตามแต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญา กรมสรรพากรก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บ ค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตาม ป. รัษฎากรอยู่นั่นเอง ส่วนข้อตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้เสียอากรเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง
ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบพร้อมทั้งการติดตั้ง แม้ว่าในตัวสัญญาจะมิได้ระบุราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง แต่ตามภาคผนวกแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ระบุราคาของเครื่องชุมสายโทรศัพท์ทั้งแปดชุมสายว่าแต่ละชุมสายมีราคาเท่าใด อุปกรณ์ประกอบมีราคาเท่าใด ค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมคิดเป็นจำนวนเท่าใด โดยแยกออกจากกันชัดเจน และการขอรับเงินค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์กับค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรม ก็จะต้องกระทำแยกออกต่างหากจากกัน แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออก ต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา
ตามข้อสัญญาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ซื้อขายกันนี้มีการประกอบแล้วเสร็จและทำการทดสอบได้ตั้งแต่อยู่ที่โรงงานของผู้ขายในต่างประเทศก่อนส่งมาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้แยกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อขนส่งมายังประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย โจทก์ได้ประกอบเข้าเป็นตู้แล้วนำอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์เข้าสอดใส่แล้วปิดฝาพร้อมทั้งต่อสายเชื่อมระหว่างตู้ชุมสายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงทดลองใช้ระบบโทรศัพท์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นการติดตั้งให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์ ที่กองทัพเรือซื้อจากโจทก์สามารถใช้งานได้เท่านั้น แม้ว่าในการประกอบติดตั้งระบบชุมสายโทรศัพท์ต้องใช้ เทคนิคเฉพาะ โจทก์เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งผู้ขายมีความรู้ในระบบของตนเองดีกว่า ผู้อื่นและต้องการเก็บรักษาเทคนิคของระบบเครื่องชุมสายโทรศัพท์ของตนเองไว้มิให้ล่วงรู้ไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ดังจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดการรักษาความลับและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในสัญญาว่า บรรดาสิทธิใน ปัญญาสมบัติ (Intellectual Property Right) ทั้งหมดในซอฟแวร์ซึ่งผู้ขายได้จัดหาให้แก่ผู้ซื้อภายใต้สัญญานี้ ยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้ขายตลอดเวลา ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินเพื่อตอบแทนการชำระราคา เพราะสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟแวร์นั้นเป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ใน เครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพยสิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟแวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่ผู้ขายขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์ให้แก่ผู้ซื้อโดยมีข้อยกเว้นไม่โอนสิทธิใน ซอฟแวร์ให้แก่ผู้ซื้อนั้น ไม่อาจตีความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างใด การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจนประกอบกับเหตุผลอื่น ๆ ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และกองทัพเรือเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบกับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์รวม 8 ชุมสาย แยกต่างหากจากกันเป็น สองลักษณะสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 4 ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด แม้ว่าตาม ป. รัษฎากร มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ และตามสัญญาพอแปลความได้ว่า ผู้ซื้อคือกองทัพเรือรับภาระที่จะเสียอากรแทนผู้ขายคือโจทก์ก็ตามแต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญา กรมสรรพากรก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บ ค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตาม ป. รัษฎากรอยู่นั่นเอง ส่วนข้อตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้เสียอากรเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาเช่าเรือและอายุความฟ้องเรียกร้องค่าชดใช้เรือเสียเวลา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา)ก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้น จะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญ หาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9100/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาแบ่งผลประโยชน์: ศาลฎีกายกฟ้องศาลชั้นต้น เหตุวินิจฉัยนอกประเด็นและประเภทสัญญาไม่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสามให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 คดีจึงมีประเด็นเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 หรือไม่เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความตามมาตรา 601เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามจึงไม่ชอบ สัญญาเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่ อาหารไก่ ยา และวัคซีนสำหรับไก่ ให้จำเลยที่ 1 เลี้ยงเป็นไก่ใหญ่ เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้วจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ อาหารไก่ ยา และวัคซีนซึ่งจำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์ คงเหลือยอดสุทธิเท่าใดให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่หากมูลค่าไก่ อาหารไก่ ยาและวัคซีนสูงกว่ามูลค่าไก่ใหญ่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินส่วนที่ขาดให้โจทก์เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอน มิใช่สัญญาจ้างทำของสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น: ลักษณะสัญญา, อายุความ, และการวินิจฉัยประเภทสัญญา
การรับสภาพหนี้ เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก มิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้และแม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ ซึ่งค. เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของ ค. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ ค. ค้างชำระให้โจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ารถยนต์ vs. บริการขนส่ง: การพิจารณาประเภทสัญญาและภาระภาษี
การที่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนอาจเกิดจากสัญญาเช่ารถยนต์สัญญาจ้างหรือสัญญาอื่นก็ได้ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและข้อเท็จจริงที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันกรณีที่จะเป้นสัญญาเช่านั้นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา537,546และ552ต้องปรากฏว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ตามความพอใจเท่าที่ไม่ขัดกับสัญญาและประเพณีนิยมซึ่งในชั่วระยะเวลานั้นคู่สัญญาฝ่ายที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น โจทก์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนแต่โจทก์มิได้มอบการครอบครองรถให้คู่สัญญานำไปใช้ตามลำพังและคู่สัญญาจะเอารถเลยไปยังสถานที่แห่งอื่นไม่ได้โจทก์ให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปมีคนประจำรถของโจทก์ไปด้วยคู่สัญญาของโจทก์ไม่มีอำนาจควบคุมการใช้รถหรืออาจออกคำสั่งให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปในเส้นทางใดตามความประสงค์ของตนได้ดังนี้สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้บริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าได้ใช้บริการในการขนส่งของโจทก์โดยโจทก์ได้ค่าตอบแทนมากกว่า เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าไม่เป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วแม้จะมีการเรียกสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาเช่าและเรียกค่าตอบแทนตามสัญญาว่าเป็นค่าเช่าหรือโจทก์ยอมรับกับเจ้าพนักงานประเมินว่าเป็นสัญญาเช่าก็หามีผลให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเพราะประกอบการค้าประเภทการให้เช่าทรัพย์สินแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การพิจารณาประเภทสัญญาจ้างจากลักษณะงานและวิธีการจ่ายค่าจ้าง
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้น มิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้น แม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้น มิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้น แม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเซ้งตึก vs. สัญญาเช่า: การพิจารณาข้อตกลงเพื่อวินิจฉัยประเภทสัญญาและการเรียกร้องสิทธิ
สัญญามีใจความว่า โจทก์ยอมตกลงเซ้งตึกแถวห้องพิพาทให้จำเลยเป็นจำนวนเงิน 73,000 บาท จำเลยได้วางมัดจำให้โจทก์ไว้แล้ว 2,000 บาท ด้านหลังมีสัญญาต่อท้ายค่าเซ้งตึกความว่า โจทก์ได้รับเงินค่าเซ้งตึกเพิ่มจากที่ได้วางมัดจำไว้อีก 38,000 บาท กับเช็คหนึ่งฉบับ ลงวันที่และชื่อโจทก์ผู้รับเงินไว้ กับมีบันทึกว่าโจทก์รับเงินผ่อนอีก 4,000 บาท เห็นได้ว่าตามสัญญาดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกพิพาทและกำหนดราคาค่าเช่าไว้ อันเข้าลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อกับเช่าทรัพย์เป็นคนละประเภทกัน ไม่อาจนำบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการเช่าทรัพย์มาใช้บังคับกับสัญญาเช่าซื้อได้
การเช่าซื้อกับเช่าทรัพย์เป็นเอกเทศสัญญาคนละประเภทจะนำพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันไปใช้ในการเช่าซื้อไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนที่ดินเพื่อการสมรส: พิจารณาจากสิ่งตอบแทนและประเภทสัญญา
สัญญาให้ตามมาตรา 521 นั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีสิ่งตอบแทน.
สัญญาที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงทำไว้กับผู้ใหญ่ฝ่ายชายว่า จะยกที่ดินให้แก่คู่สมรสภายใน 5 ปี นับแต่วันสมรส แต่ถ้าคู่สมรสทอดทิ้งไม่อุปการะผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงซึ่งเป็นผู้ให้แล้ว ผู้ให้จะยังไม่โอนที่ดินให้ดั่งนี้ เป็นสัญญาที่มีการตอบแทน จึงไม่เป็นสัญญาให้ตาม ม.521 แต่เป็นสัญญาซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าสัญญากองทุนในการสมรส คู่สมรสฟ้องให้บังคับตามสัญญาได้
ในกรณีที่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น ศาลสูงสั่งให้รวมสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ตอนพิพากษาใหม่ได้
สัญญาที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงทำไว้กับผู้ใหญ่ฝ่ายชายว่า จะยกที่ดินให้แก่คู่สมรสภายใน 5 ปี นับแต่วันสมรส แต่ถ้าคู่สมรสทอดทิ้งไม่อุปการะผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงซึ่งเป็นผู้ให้แล้ว ผู้ให้จะยังไม่โอนที่ดินให้ดั่งนี้ เป็นสัญญาที่มีการตอบแทน จึงไม่เป็นสัญญาให้ตาม ม.521 แต่เป็นสัญญาซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าสัญญากองทุนในการสมรส คู่สมรสฟ้องให้บังคับตามสัญญาได้
ในกรณีที่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น ศาลสูงสั่งให้รวมสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ตอนพิพากษาใหม่ได้