คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเภทสินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับอุปกรณ์เครื่องจักรและส่วนประกอบที่นำเข้า การระบุประเภทสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ค่าภาษีให้เก็บตามบทบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่ง พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า ของที่นำเข้าหรือ พาเข้ามาหรือส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรนั้น ให้เรียกเก็บและเสียอากรตามที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดนี้ ดังนั้น สินค้าที่นำเข้าถูกจัดอยู่ในประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีศุลกากรหมวดใด ก็ต้องเสียภาษีไปตามประเภทสินค้าที่ถูกระบุไว้ในหมวดนั้น มิใช่พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ที่นำสินค้าที่นำเข้าไปใช้กับกิจการใดเป็นสำคัญ
พิกัดอัตราอากรขาเข้าหมวด 17 เป็นสินค้าประเภทยานบก อากาศยาน ยานน้ำ และเครื่องอุปกรณ์การขนส่งที่เกี่ยวข้องมีหมายเหตุข้อ 2 บัญญัติว่า คำว่า "ส่วนประกอบ" และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" ไม่ให้ใช้กับของดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นของที่บ่งชี้ได้ว่าใช้กับของในหมวดนี้หรือไม่ก็ตาม ? (ฉ) เครื่อง จักรไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) สินค้าพิพาทซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีชื่อสินค้าซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีชื่อสินค้าตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรในหมวดที่ 16 ตอนที่ 85 เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าวประเภทที่ 85.01 ประเภทย่อย 8501.620 เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (อัลเทอร์เนเตอร์) (AC GENERATOR) ที่ให้กำลังเกิน 75 เควีเอ แต่ไม่เกิน 375 เควีเอ สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร หมวดที่ 16 ประเภทย่อย 8501.620 และไม่อยู่ในหมวด 17 ประเภทย่อย 8607.990 ซึ่งเป็นรายการส่วนประกอบของรถหัวจักรรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนราง
รายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 85.04 มีหม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่ เช่น เครื่องกลับกระแสไฟฟ้าและตัวเหนี่ยวนำ สินค้าพิพาทเป็นเครื่องกลับกระแสไฟฟ้าหรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (RECTIFIER) แม้จะเป็นส่วนประกอบของหัวรถจักรของรถไฟก็ต้องจัดอยู่ในประเภทที่ 85.04 ประเภทพิกัดย่อย 8504.400 เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่เพราะตามหมายเหตุข้อ 2 (ฉ) ของหมวด 17 คำว่า "ส่วนประกอบ" และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" มิให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85)
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 90.32 ระบุรายการสินค้าเป็นอุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์สำหรับบังคับหรือควบคุมโดยอัตโนมัติ (AUTOMATIC REGULATING OR CONTROLLING INSTRUMENT AND ARRARATUS) อันได้แก่เครื่องปรับแรงเคลื่อนไฟฟ้าโดยอัตโนมัติสำหรับใช้กับความดันไฟฟ้าตั้งแต่ 11,000 โวลต์ขึ้นไป และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว สินค้าพิพาทเป็นตัวบังคับและตัวควบคุมทางไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมทางไฟฟ้า จึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 90.32 ประเภทย่อยที่ 9032.890
มอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันโฮดรอลิก (OIL MOTOR) มีชื่อระบุไว้ชัดเจนในพิกัดอัตราศุลกากร หมวดที่ 16 ประเภทที่ 84.12 ส่วนประกอบย่อยที่ 8412.290 ประเภทพิกัดย่อย 8607.190 ซึ่งอยู่ในหมวด 17 ตอนที่ 86 ระบุรายการสินค้าคือส่วนประกอบของหัวรถจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนรางซึ่งเป็นคนละประเภทกับสินค้าพิพาท ที่เป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิกประกอบกับหมายเหตุข้อ 2 (จ) ของหมวด 17 ระบุคำว่า "ส่วนประกอบ" และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" ไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามประเภทที่ 84.01 ถึง 84.79 และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าวของตามประเภทที่ 84.81 หรือ 84.82 หรือ 84.83 เฉพาะที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ประกอบกับหมายเหตุข้อ 1 (ต) ในหมวดที่ 16 ที่ระบุว่า หมวด 16 ไม่คลุมถึงของในหมวด 17 สินค้าพิพาทจึงต้องจัดอยู่ในประเภทย่อยที่ 8607.190 ไม่ได้ ต้องจัดอยู่ในประเภทย่อยที่ 8402.290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องเรื่องประเภทสินค้าผิดพลาด: อนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญและผลทางกฎหมาย
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง: การแก้ไขชื่อประเภทสินค้าในเอกสารสัญญาซื้อขาย ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของคดี อนุญาตได้
การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วต้องทำก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานเว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ข้อความที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเป็นเพียงชื่อของประเภทสินค้าเป็นภาษาไทยซึ่งแปลจากข้อความที่ระบุเป็นภาษาอังกฤษไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท อันเป็นอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของสิ่งของซึ่งไม่มีชื่อเฉพาะของสินค้าดังกล่าว การแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจึงอาจผิดพลาดไม่ตรงกับชื่อของประเภทสินค้าที่ใช้กันในวงการค้าของสินค้าประเภทนั้น ๆ ได้ เมื่อโจทก์แนบสำเนาคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทมาท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จำเลยที่ 1ก็ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าโจทก์แปลข้อความจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยยังไม่ถูกต้อง ดังนั้น ชื่อประเภทสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง จึงไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับข้อพิพาทในคดีการแก้ไขดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลเพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปจึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายเครื่องปรับอากาศ พิจารณาความสัมพันธ์ทางธุรกิจและประเภทสินค้า
โจทก์ทั้งสองเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันโดยประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมประเภทผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นบริษัทมหาชน จำกัด และบริษัทจำกัดทำกิจการร่วมกันประเภทการพัฒนาที่ดิน ปลูกสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการบริหารฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ธุรกิจของฝ่ายโจทก์และจำเลยมิได้มีความเกี่ยวข้องหรือต้องสัมพันธ์กัน ทั้งเครื่องปรับอากาศก็ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีประจำอาคารแต่เป็นเพียงเครื่องใช้อย่างหนึ่งที่ติดตั้งขึ้นเพื่อความสบายในความเป็นอยู่ซึ่งจะมีหรือไม่ก็ได้ การค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์จึงมิได้ทำขึ้นเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 3สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองในหนี้สินดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดศุลกากร: เทียบเคียงราคาต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน
คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531 เป็นระเบียบภายในของจำเลยเท่านั้น จะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้มีหรือประเมินราคาไปนั้น เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยไม่คำนึงถึงบทกฎหมายไม่ได้ เพราะ "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" มีบทวิเคราะห์ศัพท์ใน พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง เมื่อสินค้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเทียบเคียงราคากับสินค้าพิพาทไม่ได้เป็นเหล็กประเภทและชนิดเดียวกัน ขนาดหน้าตัดและความยาวของเหล็กก็ต่างกันมาก ไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้ ย่อมไม่อาจหักล้างว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่อ้างอิงราคาผู้นำเข้าอื่นต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ช่วงเวลาใกล้เคียง และพิกัดเดียวกัน มิฉะนั้นถือเป็นราคาไม่แท้จริง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1),8 โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า การที่เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วสั่งให้โจทก์เพิ่มราคา มิใช่เป็นการประเมินภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น แต่สินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นนั้นเป็นของคนละประเภทต่างพิกัดประเภทย่อยกับสินค้าของโจทก์ และระยะเวลาที่นำของเข้าก็แตกต่างกันมาก ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในความหมายของคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้า (คอนเดนเซอร์) เพื่อเสียอากรและสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามกฎหมาย
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า เครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานจำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์ประกอบขึ้นด้วยกลอุปกรณ์ใด และสามารถผลิตสิ่งใดได้บ้าง ไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต คอนเดนเซอร์จึงมิใช่เครื่องจักรตามพิกัดประเภทที่ 84.17ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15ข.
จำเลยยื่นคำขอและเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ได้ระบุในใบเสร็จว่า ประเภทอื่น ๆโดยมิได้ระบุเฉพาะลงไปว่าเป็นภาษีประเภทใด เมื่อจำเลยระบุในคำขอว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจการทำการค้า การที่จำเลยเสียภาษีอากรดังกล่าว ย่อมรวมถึงภาษีการค้าด้วย จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้า (คอนเดนเซอร์) เพื่อเสียอากร และสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการยื่นคำขอตามมาตรา 30
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า เครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานจำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์ประกอบขึ้นด้วยกลอุปกรณ์ใด และสามารถผลิตสิ่งใดได้บ้าง ไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต คอนเดนเซอร์จึงมิใช่เครื่องจักรตามพิกัดประเภทที่ 84.17ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จำเลยยื่นคำขอและเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ได้ระบุในใบเสร็จว่า ประเภทอื่น ๆโดยมิได้ระบุเฉพาะลงไปว่าเป็นภาษีประเภทใด เมื่อจำเลยระบุในคำขอว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจการทำการค้า การที่จำเลยเสียภาษีอากรดังกล่าว ย่อมรวมถึงภาษีการค้าด้วย จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของรายละเอียดเล็กน้อยและประเภทสินค้าที่ต่างกัน ไม่ถือว่าทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างมีสองส่วนคือรูปภาพส่วนหนึ่งกับข้อความอักษรโรมันส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นรูปภาพซึ่งเป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนนั้นคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนที่สองมีข้อความว่า "E. Remy Martin & Co"อีกบรรทัดหนึ่ง และคำว่า "REMY MARTIN" อีกบรรทัดหนึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยในส่วนนี้มีเพียงคำว่า "CENTAUR"แตกต่างกับคำว่า "REMY MARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์จนเป็นที่เข้าใจทั่วไปและมีความสำคัญยิ่งกว่าหรือเท่ากับรูปภาพดังกล่าว เมื่อประชาชนไม่เห็นคำนี้อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าไม่ใช่สินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3361/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีการค้าสำหรับเหล็กเส้นตามพระราชกฤษฎีกา ต้องเป็นไปตามประเภทและลักษณะที่กำหนด
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่จะใช้ดุลพินิจเรียกเก็บหรือไม่เรียกเก็บภาษีการค้าจากสินค้าประเภท ที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
การขายสินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว มาตรา 5 (8) จะต้องเป็นการขายสินค้า ตามประเภทการค้า ที่ 1 ชนิด 1 ก. ของบัญชีอัตราภาษีการค้า เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักร และมิได้ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาเมื่อ 'เหล็กเส้น' เป็นสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวด 4 วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยบัญชีดังกล่าวมิได้กำหนดว่าเหล็กเส้นนั้นจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าไร ดังนั้นแม้เหล็กเส้นที่โจทก์ผลิตจำหน่ายจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป โจทก์ก็มิได้รับยกเว้นภาษีการค้า.
of 3