คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเภทไม้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวจากการครอบครองไม้ผิดกฎหมายหลายประเภท
การที่จำเลยมีไม้สักแปรรูปและไม้แดงแปรรูปไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน ซึ่งบทมาตราที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษก็เป็นบทมาตราเดียวกัน เพียงแต่กำหนดประเภทไม้ทั้งสองไว้ต่างวรรคกันตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง (1) และ (2)จึงเป็นความผิดกรรมเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดเกี่ยวกับไม้หวงห้าม: ปริมาณไม้และประเภทไม้มีผลต่อการเพิ่มโทษ
พระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 73 เป็นบทลงโทษของมาตรา 48 เมื่อจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 48 แล้ว จะลงโทษตามมาตรา 73 ไม่ได้มาตรา 73 วรรคสอง ข้อ (1) เป็นบทบัญญัติที่ให้ลงโทษหนักขึ้นสำหรับความผิดที่เกี่ยวกับไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. แต่ในกรณีที่เป็นไม้ยางหรือไม้หวงห้ามประเภท ข.ที่ไม่ใช่ไม้สักแล้วจะต้องมีปริมาตรไม้เป็นจำนวนเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ผู้กระทำจึงจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามบทกฎหมายดังกล่าว คดีนี้จำเลยเพียงมีไม้ยางแปรรูปปริมาตรไม่เกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตรจำเลยย่อมไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง ข้อ (1) แม้เมื่อรวมกับไม้ตะเคียนหินแปรรูปซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.แล้วจะมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตรก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางแดงเป็น 'ไม้หวงห้ามประเภท ก.' หรือ 'ไม้อื่น' ที่ต้องออกพระราชกฤษฎีกากำหนด
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 5 บัญญัติว่าไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางแดงถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 จึงต้องแปลว่าไม้ยางแดงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางแดงจัดเป็น 'ไม้อื่น' ตามกฎหมาย แม้ถูกกำหนดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 5 บัญญัติว่าไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางแดงถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 จึงต้องแปลว่าไม้ยางแดงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2503 มาตรา 5(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานครอบครองไม้หวงห้ามแปรรูป ต้องพิจารณาประเภทไม้ที่ครอบครองตามฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยมีใช้ในความครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามแปรรูปเป็นเสาถาก 75 ท่อน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 และพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป และโจทก์นำสืบฟังได้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้แปรรูป คือ ถากเป็นเสาแล้ว ดังนี้จะลงโทษจำเลยฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปตามที่โจทก์ขอให้ลงโทษไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473-474/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ตะเคียนสามพอนจัดเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง
แม้ตามบัญชีใน พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม 2497 มาตรา4 จะได้ระบุชื่อไม้ตะเคียนของจังหวัดสตูลไว้โดยไม่มีชื่อไม้ตะเคียนสามพอนก็ดี ก็ยังถือว่า ไม้ตะเคียนสามพอนอยู่ในประเภทไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ ตามบัญชีอันดับ 22