พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายก่อนจดทะเบียนมาหักลดหย่อนภาษีไม่ได้ และการประเมินเบี้ยปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 82/3, 82/4 และ 83 แห่ง ป.รัษฎากรฯ บัญญัติให้เฉพาะผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษี โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี ส่วนผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ จึงไม่มีภาษีขาย ขณะเดียวกันภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียไปหรือที่มีหน้าที่นำส่งก็ไม่ถือเป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการนั้นเช่นกัน ผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่อาจใช้วิธีคำนวณภาษีโดยการนำภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อดังเช่นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มโดยสมบูรณ์ ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงนำมาเป็นภาษีซื้อเพื่อคำนวณหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีในภายหลังเมื่อผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492-498/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากรายได้จากการขายที่ดินจัดสรร: การประเมินโดยชอบและภาระภาษีต่อเนื่อง
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามฟ้องเป็นการประเมินภาษีเงินได้ซึ่งโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไต่สวนโจทก์ตามมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการออกหมายเรียก การออกหมายเรียกไต่สวนโจทก์ของเจ้าพนักงานประเมินจึงกระทำโดยชอบ
โจทก์มิใช่ตัวแทนของผู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินมาจัดสรรแบ่งเป็นแปลงย่อยแปลงละ 5 ไร่ รวม 230 แปลง ขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจัดให้มีสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์มีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภาษีการค้า และภาษีธุรกิจเฉพาะเมื่อมีเงินได้และรายรับตามมาตรา 56 , 78 (เดิม) และ 91/8 แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้ในปีภาษีใดก็ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น และรายรับในเดือนภาษีใดก็ต้องเสียในเดือนภาษีนั้น แม้จะยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในปีภาษีนั้นก็ตาม ดังนั้น การที่โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงไม่ทำให้ภาระการเสียภาษีดังกล่าวที่โจทก์มีอยู่ก่อนแล้วหมดสิ้นไปแต่อย่างใด
โจทก์มิใช่ตัวแทนของผู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินมาจัดสรรแบ่งเป็นแปลงย่อยแปลงละ 5 ไร่ รวม 230 แปลง ขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจัดให้มีสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์มีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภาษีการค้า และภาษีธุรกิจเฉพาะเมื่อมีเงินได้และรายรับตามมาตรา 56 , 78 (เดิม) และ 91/8 แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้ในปีภาษีใดก็ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น และรายรับในเดือนภาษีใดก็ต้องเสียในเดือนภาษีนั้น แม้จะยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในปีภาษีนั้นก็ตาม ดังนั้น การที่โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงไม่ทำให้ภาระการเสียภาษีดังกล่าวที่โจทก์มีอยู่ก่อนแล้วหมดสิ้นไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดและการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผล
การโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดที่จะทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนหรือราคาเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ(4)จะต้องเป็นการโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรการที่โจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาทุนเพียงเล็กน้อย แต่ทำให้มีส่วนในการส่งเสริมการขายของโจทก์ทำให้สินค้าของโจทก์รู้จักกันแพร่หลาย โจทก์มีรายได้และมีกำไรเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรการที่เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โจทก์ บริษัท ท. และบริษัท ร. ทำสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคกับบริษัท ส. ผู้ให้เช่าอาคาร โดยมีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. และบริษัท ร. เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งความรับผิดตามสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคในระหว่างผู้เช่าด้วยกันโจทก์รับผิดเพียงหนึ่งในสามของค่าเช่าและค่าบริการต่าง ๆ มิใช่ต้องรับผิดทั้งหมดรายจ่ายส่วนที่โจทก์จ่ายแทนผู้เช่าอีก 2 บริษัท จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13) ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่เจ้าพนักงานประเมินตัดรายจ่ายในส่วนนี้ออกสองในสามส่วนและประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจึงชอบแล้ว
โจทก์ บริษัท ท. และบริษัท ร. ทำสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคกับบริษัท ส. ผู้ให้เช่าอาคาร โดยมีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. และบริษัท ร. เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งความรับผิดตามสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคในระหว่างผู้เช่าด้วยกันโจทก์รับผิดเพียงหนึ่งในสามของค่าเช่าและค่าบริการต่าง ๆ มิใช่ต้องรับผิดทั้งหมดรายจ่ายส่วนที่โจทก์จ่ายแทนผู้เช่าอีก 2 บริษัท จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13) ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่เจ้าพนักงานประเมินตัดรายจ่ายในส่วนนี้ออกสองในสามส่วนและประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรและการใช้สิทธิของเจ้าพนักงานศุลกากรโดยสุจริต แม้ตรวจสอบล่าช้า
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสองครั้ง และได้แสดงความประสงค์ขอคืนภาษีอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้นำของที่นำเข้ามา ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว เมื่อโจทก์ที่ 1 ตรวจพบจึงได้ประเมินราคาสินค้าและแจ้งการประเมินให้จำเลยทราบ ถึงแม้ว่าโจทก์ทั้งสองจะใช้เวลาตรวจสอบเนิ่นนานไป ในกรณีนี้ก็ยังไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) แล้วนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวที่จะต้องหักเงินและนำส่งโดยมิพักต้องมีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวง การคลัง (ฉบับที่ 10) ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หาใช่ประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียก กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19
ป.รัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ นำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้อง เรียกผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อนเพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสอง มีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าผู้มีเงินได้ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงเท่ากับโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นเรื่องการประเมินไม่ชอบไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องไว้ว่าในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้อง แบ่งเงินได้เป็น 2 ส่วน เนื่องจากผู้ขายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 ฐานะ คือในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. แต่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งสูงกว่าความเป็นจริง จึงเป็น การกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในฟ้องได้และศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บจากประชาชนย่อมเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนโดยตรง ปัญหาว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการเป็นการถูกต้อง หรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชาน ซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวง การคลัง (ฉบับที่ 10) ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หาใช่ประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียก กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19
ป.รัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ นำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้อง เรียกผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อนเพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสอง มีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าผู้มีเงินได้ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงเท่ากับโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นเรื่องการประเมินไม่ชอบไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องไว้ว่าในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้อง แบ่งเงินได้เป็น 2 ส่วน เนื่องจากผู้ขายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 ฐานะ คือในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. แต่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งสูงกว่าความเป็นจริง จึงเป็น การกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในฟ้องได้และศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บจากประชาชนย่อมเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนโดยตรง ปัญหาว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการเป็นการถูกต้อง หรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชาน ซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากการเช่าเครื่องจักร และการประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้อง
โจทก์ประกอบกิจการให้เช่าเครื่องจักรผลิตกล่องและบรรจุอาหารโดยโจทก์เช่าเครื่องจักรจากบริษัทในประเทศสิงคโปร์แล้วนำมาให้ลูกค้าในประเทศไทยเช่าช่วง ค่าเช่าพื้นฐานที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่ารวมทั้งค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเครื่องจักรที่เช่าเป็นรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิการเช่าเครื่องจักร ซึ่งสิทธิการเช่า เครื่องจักรนี้ถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การได้มาซึ่งสิทธิการเช่า จึงเป็นการได้สิทธิในทรัพย์สิน และเนื่องจากสิทธิการเช่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการของโจทก์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี จึงถือว่า เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน โจทก์จึงไม่มีสิทธินำไปหักเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์นำเครื่องจักรดังกล่าว ออกให้เช่าช่วง โจทก์คงมีสิทธิทยอยหักในรูปของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เมื่อการเช่าเครื่องจักรระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่าเป็นการเช่า ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจึงหักได้ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชีละร้อยละ 10 ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 การที่เจ้าพนักงานประเมิน นำรายจ่ายดังกล่าวมาเฉลี่ยหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเป็นเวลา10 ปี จึงชอบด้วยกฎหมาย
ลูกค้าเช่าช่วงเครื่องจักรจากโจทก์เพื่อนำไปผลิตกล่องใช้บรรจุนมและผลไม้ โจทก์คิดค่าเช่าช่วงตามจำนวนกล่องที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่บรรจุในกล่องได้แล้ว ซึ่งจะมีการบันทึกไว้ในมิเตอร์ของเครื่องจักรในแต่ละเดือน สิทธิของโจทก์ที่เรียกให้ผู้เช่าช่วงรับผิดในจำนวนเงิน ค่าเช่าช่วงจึงเกิดขึ้นในวันที่ผู้เช่าช่วงผลิตกล่องที่บรรจุนมและน้ำผลไม้ และจำหน่ายได้แล้ว รายได้จากค่าเช่าช่วงจึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์สิทธิ โจทก์ต้องนำรายได้ตามหนี้ดังกล่าวมารวมคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง ที่โจทก์อ้างว่าผู้เช่าช่วงจะส่งรายงานเป็นหนังสือระบุจำนวนกล่องที่ผลิต ได้จากเครื่องจักรในระหว่างเดือนปฏิทินที่ผ่านมาให้แก่โจทก์ไม่ช้ากว่าวันที่ 20 ของทุกเดือนปฏิทิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะออกใบแจ้งหนี้ และเรียกเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วงได้ก่อนที่ผู้เช่าช่วงจะรายงานแจ้งจำนวนการผลิตของเดือนที่ผ่านมา โจทก์จึงต้องบันทึกรายได้ค่าเช่าของเดือนที่ผ่านมาเป็นรายได้ของเดือนที่ออกใบแจ้งหนี้นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าเช่าช่วงตามสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงเท่านั้น และเป็นเรื่องกิจการภายในธุรกิจของโจทก์เอง โจทก์จะนำ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงมาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การ จัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่ การบันทึกรายได้ค่าเช่ารับ ตามขนาดและยอดการผลิตที่โจทก์บันทึกไว้จึงเหลื่อมเดือนกัน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินนำค่าเช่าที่คำนวณจากยอดการผลิตและ จำหน่ายได้แล้วซึ่งโจทก์คำนวณไว้มาบันทึกรายได้ให้ถูกต้องตาม เงื่อนไขของมาตรา 65 วรรคสอง จึงถือเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วย กฎหมายแล้ว
ประเด็นที่ว่าหากรายจ่ายค่าเช่าพื้นฐานของโจทก์ต้องเฉลี่ย หักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในระยะเวลา 10 ปีแล้ว รายได้ ค่าเช่าพื้นฐานที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าช่วงและโจทก์ได้ลงเป็นรายรับ ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับรายจ่ายค่าเช่าพื้นฐานก็ต้องปรับปรุงเป็นรายได้เฉลี่ย 10 ปี เช่นเดียวกันตามหลักการบัญชีว่าด้วยการรับรู้ รายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิและหลักการจับคู่รายจ่ายกับ รายได้นั้น แม้โจทก์จะกล่าวอ้างมาในคำฟ้องและจำเลยให้การต่อสู้ แต่ในชั้นชี้สองสถานเมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดเป็นประเด็น ข้อพิพาท โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับ ประเด็นนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณา คดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์มิได้ยกปัญหา ดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง จึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ให้ส่วนลดเพื่อจูงใจลูกค้าของบริษัทโดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้ส่วนลดไว้แน่นอนและใช้สำหรับลูกค้าทุกรายของโจทก์ดังนี้ (1) ลูกค้าที่บรรจุและขายผลิตภัณฑ์บริษัทได้มากกว่า 5 ล้านกล่อง จะให้ส่วนลดร้อยละ 2 ของราคาวัตถุดิบ (2) ลูกค้าที่บรรจุและขาย ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้มากกว่า 75 ล้านกล่องจะให้ส่วนลดร้อยละ 3 ของราคาวัตถุดิบ การให้ส่วนลดนี้ถ้าลูกค้าสามารถบรรจุและขาย ผลิตภัณฑ์ได้มากแล้ว โจทก์จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าส่วนลดที่โจทก์ ให้แก่ลูกค้าตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของโจทก์อันเกี่ยวข้องกับธุรกิจของโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร และลำพังเพียงแต่ โจทก์ไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าของโจทก์ทราบทุกรายถึงแผนการให้ส่วนลดดังกล่าวก็ยังไม่อาจถือว่าส่วนลดดังกล่าวเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะ เป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาหรือการกุศลตามมาตรา 65 ตรี (3)แห่งประมวลรัษฎากร อันจะเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ
ลูกค้าเช่าช่วงเครื่องจักรจากโจทก์เพื่อนำไปผลิตกล่องใช้บรรจุนมและผลไม้ โจทก์คิดค่าเช่าช่วงตามจำนวนกล่องที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่บรรจุในกล่องได้แล้ว ซึ่งจะมีการบันทึกไว้ในมิเตอร์ของเครื่องจักรในแต่ละเดือน สิทธิของโจทก์ที่เรียกให้ผู้เช่าช่วงรับผิดในจำนวนเงิน ค่าเช่าช่วงจึงเกิดขึ้นในวันที่ผู้เช่าช่วงผลิตกล่องที่บรรจุนมและน้ำผลไม้ และจำหน่ายได้แล้ว รายได้จากค่าเช่าช่วงจึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์สิทธิ โจทก์ต้องนำรายได้ตามหนี้ดังกล่าวมารวมคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง ที่โจทก์อ้างว่าผู้เช่าช่วงจะส่งรายงานเป็นหนังสือระบุจำนวนกล่องที่ผลิต ได้จากเครื่องจักรในระหว่างเดือนปฏิทินที่ผ่านมาให้แก่โจทก์ไม่ช้ากว่าวันที่ 20 ของทุกเดือนปฏิทิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะออกใบแจ้งหนี้ และเรียกเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วงได้ก่อนที่ผู้เช่าช่วงจะรายงานแจ้งจำนวนการผลิตของเดือนที่ผ่านมา โจทก์จึงต้องบันทึกรายได้ค่าเช่าของเดือนที่ผ่านมาเป็นรายได้ของเดือนที่ออกใบแจ้งหนี้นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าเช่าช่วงตามสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงเท่านั้น และเป็นเรื่องกิจการภายในธุรกิจของโจทก์เอง โจทก์จะนำ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงมาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การ จัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่ การบันทึกรายได้ค่าเช่ารับ ตามขนาดและยอดการผลิตที่โจทก์บันทึกไว้จึงเหลื่อมเดือนกัน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินนำค่าเช่าที่คำนวณจากยอดการผลิตและ จำหน่ายได้แล้วซึ่งโจทก์คำนวณไว้มาบันทึกรายได้ให้ถูกต้องตาม เงื่อนไขของมาตรา 65 วรรคสอง จึงถือเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วย กฎหมายแล้ว
ประเด็นที่ว่าหากรายจ่ายค่าเช่าพื้นฐานของโจทก์ต้องเฉลี่ย หักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในระยะเวลา 10 ปีแล้ว รายได้ ค่าเช่าพื้นฐานที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าช่วงและโจทก์ได้ลงเป็นรายรับ ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับรายจ่ายค่าเช่าพื้นฐานก็ต้องปรับปรุงเป็นรายได้เฉลี่ย 10 ปี เช่นเดียวกันตามหลักการบัญชีว่าด้วยการรับรู้ รายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิและหลักการจับคู่รายจ่ายกับ รายได้นั้น แม้โจทก์จะกล่าวอ้างมาในคำฟ้องและจำเลยให้การต่อสู้ แต่ในชั้นชี้สองสถานเมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดเป็นประเด็น ข้อพิพาท โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับ ประเด็นนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณา คดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์มิได้ยกปัญหา ดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง จึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ให้ส่วนลดเพื่อจูงใจลูกค้าของบริษัทโดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้ส่วนลดไว้แน่นอนและใช้สำหรับลูกค้าทุกรายของโจทก์ดังนี้ (1) ลูกค้าที่บรรจุและขายผลิตภัณฑ์บริษัทได้มากกว่า 5 ล้านกล่อง จะให้ส่วนลดร้อยละ 2 ของราคาวัตถุดิบ (2) ลูกค้าที่บรรจุและขาย ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้มากกว่า 75 ล้านกล่องจะให้ส่วนลดร้อยละ 3 ของราคาวัตถุดิบ การให้ส่วนลดนี้ถ้าลูกค้าสามารถบรรจุและขาย ผลิตภัณฑ์ได้มากแล้ว โจทก์จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าส่วนลดที่โจทก์ ให้แก่ลูกค้าตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของโจทก์อันเกี่ยวข้องกับธุรกิจของโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร และลำพังเพียงแต่ โจทก์ไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าของโจทก์ทราบทุกรายถึงแผนการให้ส่วนลดดังกล่าวก็ยังไม่อาจถือว่าส่วนลดดังกล่าวเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะ เป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาหรือการกุศลตามมาตรา 65 ตรี (3)แห่งประมวลรัษฎากร อันจะเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: การพิจารณาบทมาตราที่อ้างและเจตนาของผู้กระทำ
แม้โจทก์จะบรรยายข้อเท็จจริงไว้ในคำฟ้องว่า หลังจากจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้วผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจราจรและได้รับแจ้งเหตุให้สกัดจับจำเลยได้ออกมายืนสกัดอยู่กลางถนนและให้สัญญาณมือให้จำเลยหยุดรถเพื่อจับกุมดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าเพื่อขัดขวางการจับกุม ซึ่งเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง แต่โจทก์ก็มิได้อ้างบทมาตราดังกล่าวซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดและขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำขอท้ายฟ้องคงอ้างเฉพาะมาตรา 289,80 เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าคงเหลือไม่ตรงรายงาน ถือเป็นการขายตามกฎหมายภาษีอากร
โจทก์มีปริมาณสินค้าคงเหลือ ณ สถานประกอบการของโจทก์ต่ำกว่าปริมาณสินค้าตามรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จึงต้องถือว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้า ซึ่งตามมาตรา 77/1 (8) (จ) แห่ง ป.รัษฎากรให้ถือเป็นการขายการที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าเป็นสินค้าที่โจทก์ได้ขายไปแล้ว จึงเป็นการถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาเฉพาะความเสียหายโดยตรงที่ประเมินเป็นเงินได้
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายเทปเพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่มีผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้ทำซ้ำไว้แล้วเท่านั้น แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ประชาชนขาดความเชื่อถือ และโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเทปเพลงลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นเงินจำนวนมากก็ตามแต่ความเสียหายของโจทก์ที่ได้รับจากการกระทำของจำเลยโดยตรงที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้คงมีเฉพาะที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการที่จำเลยนำเทปเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกจำหน่าย อันอาจทำให้การจำหน่ายเทปเพลงของโจทก์ตกต่ำไป 175 ม้วน ซึ่งคิดเป็นเงินที่โจทก์จำหน่ายราคาม้วนละ 90 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือในกิจการของโจทก์นั้นมีไม่มากนัก ค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 50,000 บาท จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยแล้ว แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่สำนักงานทนายความเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินกิจการของโจทก์เท่านั้น มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยได้
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยมิชอบ และการคำนวณเงินเพิ่มจากประมาณการกำไรสุทธิ กรณีผู้เสียภาษีไม่ส่งเอกสารตรวจสอบ
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบ ทำให้จำเลยต้อง เสียภาษีเงินได้โดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆในอัตราร้อยละ 5 คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาทเมื่อนำภาษีจำนวนดังกล่าวมาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ16,662,230.07 บาท เมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว คิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,997,669.05 บาท อันถือได้ว่า เป็นการคำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้วเมื่อจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลา หกเดือนระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระจึงเป็นกรณี ที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ อีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน ประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึง ไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 แห่ง ประมวลรัษฎากร อีกต้องเพิกถอนการประเมินในส่วนของเบี้ยปรับนี้เสีย แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาล จะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยาน ตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้าง โดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้