พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายทางร่างกายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงิน (ความเจ็บปวด, เสียขา) และดอกเบี้ย
การที่โจทก์เสียขาไปข้างหนึ่งและต้องเจ็บปวดทนทุกข์ทรมานนับว่าเป็นความเสียหายแก่ร่างกายและอนามัยของโจทก์ ถือเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากยานพาหนะ และการประเมินความประมาทของผู้ขับและผู้เสียหาย
ขณะเกิดเหตุ ป. ลูกจ้างของจำเลยทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางของจำเลยชนผู้ตายซึ่งกำลังเดินข้ามถนน อันเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลย และได้ครอบครอง ควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกล จึงเป็นกรณีอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ดังนั้น จึงต้องฟังได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้นร่วมกับ ป. เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
แม้การที่ผู้ตายไม่ข้ามถนนในทางข้ามซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่เกิดเหตุอันถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ตาม แต่ ป.มีส่วนประมาทมากกว่าเพราะเหตุที่ชนผู้ตายเนื่องจาก ป. ขับรถไม่ชะลอความเร็วในขณะใกล้ถึงทางแยกเป็นสำคัญ การที่ผู้ตายมีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์มากน้อยเพียงใดก็ได้ โดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ
แม้การที่ผู้ตายไม่ข้ามถนนในทางข้ามซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่เกิดเหตุอันถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ตาม แต่ ป.มีส่วนประมาทมากกว่าเพราะเหตุที่ชนผู้ตายเนื่องจาก ป. ขับรถไม่ชะลอความเร็วในขณะใกล้ถึงทางแยกเป็นสำคัญ การที่ผู้ตายมีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์มากน้อยเพียงใดก็ได้ โดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อการอนุมัติสินเชื่อผิดระเบียบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยเป็นลูกจ้างและกรรมการบริษัทโจทก์โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการ จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความว่าจำเลยเคยเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและตามทางนำสืบของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติ และจงใจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า 9 ราย รวมเป็นเงิน16,300,000 บาท โดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน 9 แปลง ตีราคาตามราคาประเมินได้ราคาไม่คุ้มหนี้ ลูกค้าทั้ง 9 ราย จึงไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา โจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าทั้ง 9 รายเพียง 31,041.09 บาท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ลูกค้าค้างชำระคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์รวมตลอดถึงค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยชัดแจ้งแล้วหาใช่เป็นกรณีที่ความเสียหายยังไม่เกิดและไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่
จำเลยอนุมัติให้ลูกค้ากู้เงินโดยผิดระเบียบ โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตีราคาตามราคาประเมิน แต่ที่ดินอาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมินที่โจทก์กล่าวอ้างจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับราคาประเมิน แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้จากตัวลูกหนี้และหลักประกัน จึงไม่อาจทราบความเสียหายที่แท้จริงได้ ดังนั้นถ้ามีการบังคับจำนองที่ดินที่เป็นหลักประกันได้ราคาที่ดินมามากกว่าราคาประเมินตามฟ้องโจทก์ ราคาที่ดินส่วนที่มากกว่านี้ย่อมเป็นคุณแก่จำเลย ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นค่าเสียหายที่เป็นหนี้เงินตามจำนวนที่จำเลยให้ลูกค้ากู้ยืมโดยฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก คืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี มิใช่ดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญากู้ในทางการค้าของโจทก์.
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติ และจงใจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า 9 ราย รวมเป็นเงิน16,300,000 บาท โดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน 9 แปลง ตีราคาตามราคาประเมินได้ราคาไม่คุ้มหนี้ ลูกค้าทั้ง 9 ราย จึงไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา โจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าทั้ง 9 รายเพียง 31,041.09 บาท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ลูกค้าค้างชำระคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์รวมตลอดถึงค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยชัดแจ้งแล้วหาใช่เป็นกรณีที่ความเสียหายยังไม่เกิดและไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่
จำเลยอนุมัติให้ลูกค้ากู้เงินโดยผิดระเบียบ โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตีราคาตามราคาประเมิน แต่ที่ดินอาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมินที่โจทก์กล่าวอ้างจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับราคาประเมิน แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้จากตัวลูกหนี้และหลักประกัน จึงไม่อาจทราบความเสียหายที่แท้จริงได้ ดังนั้นถ้ามีการบังคับจำนองที่ดินที่เป็นหลักประกันได้ราคาที่ดินมามากกว่าราคาประเมินตามฟ้องโจทก์ ราคาที่ดินส่วนที่มากกว่านี้ย่อมเป็นคุณแก่จำเลย ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นค่าเสียหายที่เป็นหนี้เงินตามจำนวนที่จำเลยให้ลูกค้ากู้ยืมโดยฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก คืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี มิใช่ดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญากู้ในทางการค้าของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการอนุมัติสินเชื่อโดยมิชอบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
เมื่อฟัง ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และมีอายุความ 10 ปี จำเลยเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติสินเชื่อของบริษัทโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกค้าของโจทก์กู้เงินไปจากโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติจำนวน 16,300,000 บาท โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตามราคาประเมินเพียง 4,618,500 บาท โจทก์ติดตามขอรับชำระหนี้จากลูกค้าของโจทก์ได้เพียง 31,041.09 บาทเท่านั้นเช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้คืน เงินต้น ที่เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ได้จำนวน 16,268,958.91 บาท ให้แก่โจทก์ ส่วนที่ดิน 9 แปลงที่ลูกค้าจำนองไว้เป็นประกันนั้นโจทก์สามารถบังคับมาชำระหนี้ได้ส่วนหนึ่งจึงต้องนำมาหักออกจากจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยแต่เนื่องจากที่ดินทั้ง 9 แปลงนี้อาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมิน 4,618,500 บาท จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหาย จะนำมาหักออกจากความรับผิดของจำเลยเพียงเท่าราคาประเมินไม่ได้ ถ้า มีการบังคับจำนองที่ดินทั้ง 9 แปลงนั้นได้มากกว่าราคาประเมิน จะต้องนำราคาส่วนที่เกินนี้มาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย ดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 18ต่อปีนั้น เป็นอัตราที่กำหนดไว้ตามสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับลูกค้าแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้จากจำเลย คงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อนายจ้างจากความเสียหายอันเกิดจากการอนุมัติสินเชื่อผิดระเบียบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยเป็นลูกจ้างและกรรมการบริษัทโจทก์โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการ จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความว่าจำเลยเคยเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและตามทางนำสืบของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติ และจงใจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า 9 ราย รวมเป็นเงิน16,300,000 บาท โดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน 9 แปลง ตีราคาตามราคาประเมินได้ราคาไม่คุ้มหนี้ ลูกค้าทั้ง 9 ราย จึงไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา โจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าทั้ง 9 รายเพียง 31,041.09 บาท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ลูกค้าค้างชำระคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์รวมตลอดถึงค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยชัดแจ้งแล้วหาใช่เป็นกรณีที่ความเสียหายยังไม่เกิดและไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่ จำเลยอนุมัติให้ลูกค้ากู้เงินโดยผิดระเบียบ โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตีราคาตามราคาประเมิน แต่ที่ดินอาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมินที่โจทก์กล่าวอ้างจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับราคาประเมิน แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้จากตัวลูกหนี้และหลักประกัน จึงไม่อาจทราบความเสียหายที่แท้จริงได้ ดังนั้นถ้ามีการบังคับจำนองที่ดินที่เป็นหลักประกันได้ราคาที่ดินมามากกว่าราคาประเมินตามฟ้องโจทก์ ราคาที่ดินส่วนที่มากกว่านี้ย่อมเป็นคุณแก่จำเลย ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นค่าเสียหายที่เป็นหนี้เงินตามจำนวนที่จำเลยให้ลูกค้ากู้ยืมโดยฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก คืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี มิใช่ดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญากู้ในทางการค้าของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7383/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: การประเมินค่าเสียหายจากเหตุสูญเสียการมองเห็นและผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
อ. ครูประจำชั้นของโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนของจำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อในการดูแลความปลอดภัยของโจทก์โดยละเลยไม่รีบนำโจทก์ไปให้แพทย์ตรวจรักษาดวงตา หลังจากทราบว่าโจทก์ถูกเด็กชาย ณ. ใช้หนังยางยิงแท่งดินสอถูกดวงตาข้างซ้าย ซึ่งการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวน่าเชื่อว่ามีส่วนทำให้ดวงตาข้างซ้ายของโจทก์ติดเชื้อ โดย ว. จักษุแพทย์พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า หากดวงตาข้างซ้ายของโจทก์ไม่ติดเชื้อก็อาจจะไม่ถึงขนาดสูญเสียการมองเห็น เมื่อโจทก์นำสืบรับฟังได้ว่า โจทก์ต้องสูญเสียการมองเห็นในเวลาต่อมาตามใบรับรองแพทย์ โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ในข้อนี้ให้เห็นเป็นอย่างอื่น เช่นนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดในผลของความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 420
โจทก์มิได้นำสืบในรายละเอียดของค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าเจ็บป่วยต้องทนทุกขเวทนาและกระทบกระเทือนจิตใจที่สูญเสียดวงตาข้างซ้าย กับค่าสูญเสียดวงตาในการทำมาหาเลี้ยงชีพตามที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้องแต่ละจำนวน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายและมีค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้อง ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่เวลาที่ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันถัดจากวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องฎีกา
โจทก์มิได้นำสืบในรายละเอียดของค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าเจ็บป่วยต้องทนทุกขเวทนาและกระทบกระเทือนจิตใจที่สูญเสียดวงตาข้างซ้าย กับค่าสูญเสียดวงตาในการทำมาหาเลี้ยงชีพตามที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้องแต่ละจำนวน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายและมีค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับที่โจทก์เรียกมาในคำฟ้อง ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่เวลาที่ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันถัดจากวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และการประเมินค่าขาดไร้อุปการะ
ในวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฯ มาตรา 25 บัญญัติว่า กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม และมาตรา 26 บัญญัติว่า กระทรวงศึกษาธิการมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (11) สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ หมวด 2 การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้ (3) กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น... วรรคสอง บัญญัติว่า ให้...ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น... วรรคสอง บัญญัติว่า ให้...ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม (3) มีฐานะเป็นกรม และหมวด 4 การจัดระเบียบราชการในกรม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวงหรือทบวง ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น จากบทกฎหมายที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นส่วนราชการซึ่งขึ้นตรงต่อจำเลย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของจำเลย ดังนั้น การกระทำของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติก็เสมือนเป็นตัวแทนของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่จำต้องฟ้องเรียกสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมาเป็นจำเลยร่วม