พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การประเมินราคาทรัพย์สินใหม่เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเมื่อราคาเดิมสูงเกินไป
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดว่า ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ส่วนการคำนวณราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนด ถ้าไม่ตกลงกันให้คู่ความที่เกี่ยวข้องเสนอเรื่องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 นั้น หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคมทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากพฤติการณ์ต่างๆ ปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินในการบังคับคดี: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการประเมินราคาเป็นเพียงราคาเริ่มต้น ผู้เข้าสู้ราคามีสิทธิเสนอราคาที่สูงกว่า
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมา เป็นเพียงการประมาณราคาในชั้นต้นตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเท่านั้น ราคาที่ประเมินดังกล่าวจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง ซึ่งหากจำเลยไม่เห็นด้วย จำเลยก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ และไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดว่าการขายทอดตลาดจะต้องเป็นไปตามราคาที่ประเมิน แต่ขึ้นอยู่กับผู้เข้าสู้ราคาว่าจะให้ราคาสูงสุดเพียงใด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และถือไม่ได้ว่ามีข้อโตแย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินในการบังคับคดี: เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินราคาเบื้องต้นเพื่อขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีสิทธิสู้ราคา
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึด เป็นเพียงการประมาณราคาในชั้นต้น เพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเท่านั้น ราคาที่ประเมินจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริงก็ได้ แม้จำเลยจะไม่เห็นด้วย จำเลยก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ และไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดว่าการขายทอดตลาดจะต้องเป็นไปตามราคาที่ประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่าศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์ยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ผูกมัดการขายทอดตลาด ผู้มีสิทธิคัดค้านได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมานั้น เป็นเพียงการประเมินราคาในชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปเท่านั้น ราคาที่ประเมินไว้อาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริงก็ได้ และการประเมินราคาดังกล่าวก็ไม่ใช่หลักเกณฑ์ตายตัวที่ผูกมัดว่าการขายทอดตลาดจะต้องเป็นไปตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ แต่ขึ้นอยู่กับผู้เข้าสู้ราคาว่าจะให้ราคาสูงสุดเพียงใด ซึ่งหากจำเลยที่ 3 เห็นว่าราคาต่ำไปก็ชอบที่จะคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะเคยคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ที่ยึดดังกล่าวให้ใหม่มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม กรณีก็ถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยที่ 3 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อขอให้ส่งเจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขการประเมินราคาทรัพย์สินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินยึดเพื่อขายทอดตลาด เป็นเพียงราคาเริ่มต้น ผู้มีส่วนได้เสียสามารถสู้ราคาหรือคัดค้านได้
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประเมินราคาในชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีขายทอดตลาดเท่านั้น ซึ่งอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ก็หาได้ผูกมัดจำเลยหรือโจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ไม่ และหากจำเลยเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้นั้นต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองได้ ส่วนการที่คู่ความจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 และข้อ 4 ของตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย หาใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเช่นคดีนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีผลเพียงชั้นต้น ผู้มีส่วนได้เสียอาจคัดค้านได้ในการขายทอดตลาด
การประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประเมินราคาในชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีขายทอดตลาดเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ก็หาได้ผูกมัดจำเลยหรือโจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ไม่ และหากจำเลยเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้นั้นต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ได้
การที่คู่ความจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่กำหนดไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อการเรียกค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไป
การที่คู่ความจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่กำหนดไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อการเรียกค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินบังคับคดี: ราคาประเมินไม่ใช่ราคาที่แท้จริง, ผู้เข้าสู้ราคาสูงสุดกำหนดราคา
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมานั้น เป็นเพียงการประมาณราคาตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเปรียบเทียบกับราคาทรัพย์สินที่ใกล้เคียงหรือราคาประเมินของทางราชการ ราคาที่ประเมินนี้อาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริงก็ได้ คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ 37,838,500 บาท ในขณะที่จำเลยอ้างว่าทรัพย์มีราคา 51,150,000 บาท ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินกับราคาที่จำเลยอ้างจึงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก และราคาที่ประเมินไว้ก็ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง ไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดว่าการขายทอดตลาดต้องเป็นไปตามราคาที่ประเมินไว้ ขึ้นอยู่กับผู้เข้าราคาว่าจะให้ราคาสูงสุดเพียงใด จึงถือไม่อาจร้องขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ที่ยึดใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ไม่สมเหตุสมผลในแผนฟื้นฟูกิจการล้มละลาย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ผู้ทำแผนมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและสมควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ในการพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะได้รับในกรณีที่มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใดจึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่ในคดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึงประมาณ 2,000,000,000 บาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้ทำแผนมิได้แสดงถึงเหตุดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผนจึงไม่มีน้ำหนัก เมื่อการประเมินราคาทรัพย์สินต่ำลงมากทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ส่วนใหญ่ถูกนำไปชำระตีใช้หนี้แก่เจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีผู้ร้องขอเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในราคาต่ำ ทำให้หนี้ลดลงเพียงจำนวนน้อยและหนี้ส่วนที่ขาดอยู่มีจำนวนสูงขึ้น เมื่อนำหนี้ส่วนที่ไม่มีประกันส่วนนี้ไปจัดสรรชำระหนี้ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ได้รับชำระหนี้น้อยลง เจ้าหนี้อื่นย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการตีราคาทรัพย์สิน
เมื่อมีเหตุข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งใช้ในการจัดทำแผน ถือได้ว่าผู้ทำแผนยังแสดงพยานหลักฐานไม่ได้ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 วรรคสาม ทั้งมีพฤติการณ์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งประโยชน์ของผู้ร้องขอ ไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันอื่น การที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้อื่นในอันที่จะได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่ในคดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึงประมาณ 2,000,000,000 บาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้ทำแผนมิได้แสดงถึงเหตุดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผนจึงไม่มีน้ำหนัก เมื่อการประเมินราคาทรัพย์สินต่ำลงมากทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ส่วนใหญ่ถูกนำไปชำระตีใช้หนี้แก่เจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีผู้ร้องขอเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในราคาต่ำ ทำให้หนี้ลดลงเพียงจำนวนน้อยและหนี้ส่วนที่ขาดอยู่มีจำนวนสูงขึ้น เมื่อนำหนี้ส่วนที่ไม่มีประกันส่วนนี้ไปจัดสรรชำระหนี้ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ได้รับชำระหนี้น้อยลง เจ้าหนี้อื่นย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการตีราคาทรัพย์สิน
เมื่อมีเหตุข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งใช้ในการจัดทำแผน ถือได้ว่าผู้ทำแผนยังแสดงพยานหลักฐานไม่ได้ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 วรรคสาม ทั้งมีพฤติการณ์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งประโยชน์ของผู้ร้องขอ ไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันอื่น การที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้อื่นในอันที่จะได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ต่ำเกินจริงในแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้เท่ากรณีล้มละลาย ศาลฎีกาไม่เห็นชอบด้วย
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ กำหนดให้ผู้ทำแผนส่งแผนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการนั้นหรือไม่ เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแล้วก็ให้ศาลพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่งว่าแผนที่ผู้ทำแผนเสนอมานั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เช่นนี้ เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
ในการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้แต่ละรายซึ่งมิได้ลงมติยอมรับแผนจะได้รับในการฟื้นฟูกิจการ กับจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวนี้การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใด จึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่คดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาที่ต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน ทรัพย์สินส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึง 2,000 ล้านบาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ทำแผนก็มิได้แสดงเหตุดังกล่าวโดยชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผน จึงไม่มีน้ำหนัก
ในการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้แต่ละรายซึ่งมิได้ลงมติยอมรับแผนจะได้รับในการฟื้นฟูกิจการ กับจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวนี้การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใด จึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่คดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาที่ต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน ทรัพย์สินส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึง 2,000 ล้านบาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ทำแผนก็มิได้แสดงเหตุดังกล่าวโดยชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผน จึงไม่มีน้ำหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดมาตรา 269 อาญา ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพประเมินราคาและลงลายมือชื่อรับรองเอง
ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคแรก จะต้องเป็นผู้ประกอบการงานวิชาชีพดังที่ระบุไว้เท่านั้น จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขานครปฐม ไม่ได้ประกอบวิชาชีพการประเมินราคาทรัพย์ และไม่ได้ทำคำรับรองในแบบสรุปผลการประเมินราคาหลักประกันที่ดินอาคาร ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้ทำรายงานการตรวจสอบที่ดินและเสนอต่อ ผ. โดย ผ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะผู้ประเมิน จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นผู้ทำคำรับรองในเอกสารดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคแรก