พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน: การใช้ชื่อเสียงของบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยมิชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" ซึ่งเป็นชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายของสาธารณชน จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับรูปประดิษฐ์ต่าง ๆ ไปจดทะเบียนการค้าเพื่อใช้กับสินค้าลูกฟุตบอลของจำเลยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองนับว่าเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคสอง ในกรณีเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังกล่าวอ้างอีกว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" แม้จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย แต่ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในความหมายของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ห้ามมิให้จดทะเบียน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อจำเลยยอมรับว่า จำเลยรู้จักโจทก์ที่สองในฐานะนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง การที่จำเลยนำชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 มาใช้กับสินค้าอุปกรณ์การกีฬาของจำเลยย่อมจะเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 ในหมู่คนที่รู้จักชื่อสมญาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ
เมื่อจำเลยยอมรับว่า จำเลยรู้จักโจทก์ที่สองในฐานะนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง การที่จำเลยนำชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 มาใช้กับสินค้าอุปกรณ์การกีฬาของจำเลยย่อมจะเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 ในหมู่คนที่รู้จักชื่อสมญาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการพิสูจน์การใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าของโจทก์ที่ผลิตออกแจกจ่ายแก่ลูกค้าและประชาชนในประเทศไทยก่อนจำเลยเพื่อทราบข้อมูลว่าสินค้าที่โจทก์ผลิตออกมาจะได้รับความนิยมจากประชาชนหรือไม่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ถึงแม้ในชั้นแรกโจทก์จะแจกจ่ายแก่ประชาชนเป็นระยะเวลาสั้น ๆและมีจำนวนไม่มานักก็ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ใช้มาก่อนจำเลยผู้จดทะเบียนและได้ความว่าสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทได้รับความนิยมจากประชาชนในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 41(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771-772/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคารถยนต์นำเข้าที่แท้จริง: การลดราคาเพื่อประโยชน์ทางการค้าไม่ใช่ราคาตลาด
ผู้ขายในต่างประเทศตกลงลดราคาขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์หลังจากโจทก์สั่งซื้อแล้ว เพื่อเป็นการสนับสนุนการขายและเป็นการช่วยเหลือตลาดการขายให้มีผู้ซื้อมากขึ้น โดยคำนึงและหวังลดภาษีอากรขาเข้าให้ต่ำลง ทั้งคำนึงถึงการจำหน่ายเพื่อแข่งขันกับรถยนต์ยี่ห้ออื่นในตลาด ราคาที่ลดลงเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวโดยเฉพาะ จึงไม่ใช่ราคารถยนต์พิพาทที่แท้จริงในท้องตลาด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าราคารถยนต์พิพาทลดลงเพราะปัจจัยอื่น ตรงข้ามกลับปรากฏว่าในระหว่างพิพาทราคาขายของรถยนต์ไม่มีการลดราคา มีแต่แนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าราคารถยนต์พิพาทหาได้ลดลงไม่ หากมีการลดราคาระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางการค้าเฉพาะเรื่องเฉพาะราย หาใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายของมาตรา 2 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศุลกากรพ.ศ. 2469 ไม่ จำเลยถือราคารถยนต์ตามราคาที่โจทก์เคยนำเข้าก่อนรถยนต์รายพิพาทเพียง 2 เดือนเศษ และ 1 เดือนเศษ ตามลำดับซึ่งโจทก์มิได้โต้แย้งราคาดังกล่าว จึงเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดและชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศุลกากร พ.ศ. 2469แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายยาที่ผิดกฎหมายหลังยกเลิกทะเบียนตำรับยา และการใส่ร้ายผู้อื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้า
เมื่อทะเบียนตำรับยาซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยเกษมผู้เสียหายได้ขึ้ยทะเบียนไว้ ได้ถูกยกเลิกไปโดยผลแห่งพระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2505 มาตรา 15 วรรคแรกแล้ว จำเลยจะอาศัยทะเบียนตำรับยาดังกล่าวสั่งยาเข้ามาจำหน่ายอีกไม่ได้ มาตรา 15 วรรค 2 บัญญัติยกเว้นให้เฉพาะเจ้าของผู้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้วเท่านั้น โดยผ่อนผันให้ขายยาเก่าไปได้อีก 1 ปี หาได้ร่วมถึงบุคคลอื่นซึ่งอาศัยทะเบียนตำรับยาของคนอื่นสั่งยาเข้ามาจำหน่ายดังกรณีของจำเลยไม่
จำเลยรู้ดีแล้วว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมผู้เสียหายเป็นผู้ขึ้นทะเบียนตำรับยาสำเร็จรูปเลขที่ 869/2502 ไว้ก่อนแล้ว หาใช่ห้างหรือบริษัทอื่นไม่ ดังนี้ การที่จำเลยประกาศโฆษณาว่า มีบุคคลกระทำผิดกฎหมายเลียนแบบผลิตยาออกจำหน่าย ทั้งยังแอบอ้างใช้เลขทะเบียนปิดอยู่หน้ากล่าองยา เช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษม ผู้เสียหายเป็นผู้ปลอมแปลงผลิตยาเลียนแบบออกจำหน่าย อันเป็นเท็จ เจตนาจะให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมเสียความเชื่อถือโดยมุ่งประโยชน์แก่การค้าของจำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272.
จำเลยรู้ดีแล้วว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมผู้เสียหายเป็นผู้ขึ้นทะเบียนตำรับยาสำเร็จรูปเลขที่ 869/2502 ไว้ก่อนแล้ว หาใช่ห้างหรือบริษัทอื่นไม่ ดังนี้ การที่จำเลยประกาศโฆษณาว่า มีบุคคลกระทำผิดกฎหมายเลียนแบบผลิตยาออกจำหน่าย ทั้งยังแอบอ้างใช้เลขทะเบียนปิดอยู่หน้ากล่าองยา เช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษม ผู้เสียหายเป็นผู้ปลอมแปลงผลิตยาเลียนแบบออกจำหน่าย อันเป็นเท็จ เจตนาจะให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมเสียความเชื่อถือโดยมุ่งประโยชน์แก่การค้าของจำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อประโยชน์ทางการค้าและการฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายจากการกระทำนั้น
บิลซื้อเชื่อสินค้าต่าง ๆ รายนี้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สินและสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นเอกสารสิทธิ
ข้อความที่โจทก์หาว่าจำเลยปลอมนั้นเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้(ตามบิลซื้อเชื่อสินค้า) จากนายสมบูรณ์เป็นนางทองคำ วงศาโรจน์ เมื่อจำเลยอ้างส่งเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 (หลาน) เข้ารับมรดกความแทนนางทองคำ วงศาโรจน์ แล้ว โจทก์ที่ 1 อาจเสียหายจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญามาตรา 2 (4)
การเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเองแต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมแล้วเพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่นายสมบูรณ์จนนายสมบูรณ์กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลนำส่งของที่ซื้อเชื่อนั้นแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้นกรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น (อ้างนัยฎีกา 1669/2506)
โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทนนายสมบูรณ์ แล้วจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ที่ 2 เซ็นรับไว้แทนนางทองคำ วงศาโรจน์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อนางทองคำ วงศาโรจน์ หรือทายาทได้โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้อง
ข้อความที่โจทก์หาว่าจำเลยปลอมนั้นเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้(ตามบิลซื้อเชื่อสินค้า) จากนายสมบูรณ์เป็นนางทองคำ วงศาโรจน์ เมื่อจำเลยอ้างส่งเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 (หลาน) เข้ารับมรดกความแทนนางทองคำ วงศาโรจน์ แล้ว โจทก์ที่ 1 อาจเสียหายจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญามาตรา 2 (4)
การเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเองแต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมแล้วเพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่นายสมบูรณ์จนนายสมบูรณ์กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลนำส่งของที่ซื้อเชื่อนั้นแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้นกรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น (อ้างนัยฎีกา 1669/2506)
โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทนนายสมบูรณ์ แล้วจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ที่ 2 เซ็นรับไว้แทนนางทองคำ วงศาโรจน์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อนางทองคำ วงศาโรจน์ หรือทายาทได้โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436-1439/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาเพื่อปกป้องประโยชน์ทางการค้าโดยสุจริต แม้มีเจตนาหมิ่นประมาท ก็อาจได้รับการยกเว้นโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดซึ่งมีนายโซวิชัยเป็นผู้รับมอบอำนาจ ได้ร่วมกันนำข้อความไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ว่า มีบริษัทหลายบริษัทได้ผลิตรองเท้ายางปลอมใช้ตราดาวของจำเลย ตรานี้จำเลยได้จดทะเบียนไว้ เมื่อเป็นดังนี้จึงจำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ไปจับผู้ทำการดังกล่าวมาดำเนินคดี แล้วออกชื่อโจทก์ทั้ง 4(ซึ่งความจริงโจทก์ได้ถูกจำเลยนำเจ้าพนักงานไปจับมาดำเนินคดีฐานจำหน่ายรองเท้ามีตราดาวปลอมจริง) ทั้งนี้เพื่อให้ข่าวแพร่หลายไป โดยประสงค์เพื่อกันมิให้ผู้อื่นที่จะกระทำการเลียนหรือปลอม มิได้มีเจตนาอย่างอื่น เช่นนี้ ถือว่าจำเลยเจตนาต่อสู้ป้องกันตน หรือเพื่อป้องกันประโยชน์ของตน แม้ข้อความจะทำให้โจทก์เสียหาย หรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ กรณีก็ต้องตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 283(1) จำเลยจึงไม่มีโทษฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากอาวุธปืนและการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ทางการค้า ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
จำหน่ายอาวุธปืนที่มีใบอนุญาต ไม่ใช่เพื่อการค่าไม่ความผิดมาตรา 52 เป็นบทกำหนดโทษฉะเพาะความผิดตาม ม. 11, 16, 22, และ 51
ฎีกาอุทธรณ์ เจ้าของปืนฝากปืนไว้แก่ผู้อื่นจะมีผิดฐานสมคบแบผู้ฝากหรือไม่ ถ้าโจทก์ไม่กล่าวอ้างมา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยถึง
ฎีกาอุทธรณ์ เจ้าของปืนฝากปืนไว้แก่ผู้อื่นจะมีผิดฐานสมคบแบผู้ฝากหรือไม่ ถ้าโจทก์ไม่กล่าวอ้างมา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ท่าเรือส่วนตัวเพื่อประโยชน์ทางการค้า ไม่ถือเป็นทรัพย์สาธารณ
ท่าเรือแลทางเดิรซึ่งเจ้าของให้สาธารณชนใช้มาตั้ง 10 ปี กว่าเพื่อประโยชน์ในการค้าขายของเขาเท่านั้น ไม่เป็นทรัพย์สาธารณ อนุญาตให้เดิรเพื่อประโยชน์เจ้าของที่ไม่ใช่ยอมให้ที่เป็นสาธารณ
วิธีพิจารณาแพ่ง
พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ สัญญาทางพระราชไมตรีคนบังคับอังกฤษเป็นจำเลยคู่ความฎีกาได้แต่ในข้อกฎหมาย
วิธีพิจารณาแพ่ง
พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ สัญญาทางพระราชไมตรีคนบังคับอังกฤษเป็นจำเลยคู่ความฎีกาได้แต่ในข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ต้องมีเจตนาหากำไรโดยตรง การเปิดเพลงในร้านอาหารเพื่อประโยชน์ทางการค้าไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 31 โดยโจทก์บรรยายฟ้องเพียงแต่ว่าจำเลยเปิดแผ่นเอ็มพี 3 และซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหายจำนวน 1 เพลง เพียง "เพื่อประโยชน์ในทางการค้า" ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลย ซึ่งความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" เท่านั้นแต่ตามคำบรรยายฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลง โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 31 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นด้วย ดังนั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า
แม้การให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 24 เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ตาม แต่ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีการนำสืบกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น คดีนี้ไม่มีการสืบพยานให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกา จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ชอบแล้ว
หญิงซึ่งรับตั้งครรภ์แทนตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 21 ที่จะรับตั้งครรภ์แทนได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันพาหญิงดังกล่าวไปตรวจมดลูกที่โรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อม และเดินทางไปฝังตัวอ่อน อันเป็นการดำเนินการครบถ้วนในทางการแพทย์ที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์โดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว จากนั้นเป็นการเจริญของทารกในครรภ์ในมดลูกของหญิงตามธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อประโยชน์ทางการค้าแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 24 โดยไม่จำต้องให้หญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์แทนตั้งครรภ์ก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นการพยายามกระทำความผิด
หญิงซึ่งรับตั้งครรภ์แทนตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 21 ที่จะรับตั้งครรภ์แทนได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันพาหญิงดังกล่าวไปตรวจมดลูกที่โรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อม และเดินทางไปฝังตัวอ่อน อันเป็นการดำเนินการครบถ้วนในทางการแพทย์ที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์โดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว จากนั้นเป็นการเจริญของทารกในครรภ์ในมดลูกของหญิงตามธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อประโยชน์ทางการค้าแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 24 โดยไม่จำต้องให้หญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์แทนตั้งครรภ์ก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นการพยายามกระทำความผิด