พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม โดยอ้างอิงราคาซื้อขายจริงและประโยชน์ที่ได้รับจากที่ดินที่เหลือ
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 22 บัญญัติว่าในกรณีที่เจ้าของได้ที่ดินใดมาโดยมิได้ใช้อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ในที่ดินอย่างแท้จริงถ้าหากมีการเวนคืนที่ดินนั้นภายในห้าปีนับแต่วันที่เจ้าของได้ที่ดินนั้นมาจะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินในขณะที่เจ้าของได้ที่ดินนั้นมา มาตรา 22 นี้ มีความหมายว่า หากเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะกำหนดให้ตามมาตรา 21 เป็นจำนวนสูงกว่าราคาที่ดินที่ผู้ถูกเวนคืนซื้อมาภายในห้าปีก่อนการเวนคืนที่ดินนั้น จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินที่ผู้ถูกเวนคืนซื้อมา หากราคาที่ดินที่ผู้ถูกเวนคืนซื้อมาสูงกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 แล้วก็ต้องกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ตามมาตรา 21 จะกำหนดให้เท่ากับราคาที่ดินที่ถูกผู้เวนคืนซื้อมาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเดินต้องต่อเนื่อง เปิดเผย และเพื่อประโยชน์ที่ดิน
การที่โจทก์จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยอันเป็นภารยทรัพย์มาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ในส่วนที่ผู้อื่นจะได้ใช้ทางเดินอันเป็นทางพิพาทหรือไม่นั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับการได้ภาระจำยอมโดยอายุความของโจทก์แต่ประการใด โจทก์จึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทอย่างปรปักษ์คือโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์เป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินต่ำกว่าราคาตลาดเมื่อผู้ถูกเวนคืนได้ที่ดินมาภายใน 5 ปี และไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาก่อนการเวนคืนภายในระยะเวลา 5 ปี ในราคาเฉลี่ยตารางวาละ 2,383.50 บาท โดยโจทก์มิได้ใช้ที่ดินพิพาทอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เข้ากรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 22 ที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินพิพาทในขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา ทั้งที่ดินพิพาทอยู่ในทำเลที่ห่างไกล แม้จะอยู่ติดถนนสาธารณะและถมดินไว้แล้ว แต่จากสภาพความเจริญของท้องถิ่นในระยะเวลาที่ผ่านไป 5 ปี ไม่น่าจะทำให้ที่ดินพิพาทมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้ ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 6,000 บาท เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และประโยชน์ต่อที่ดิน
โจทก์มีบ้านให้บุคคลอื่นเช่าในที่ดินของโจทก์ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะแม้หากผู้เช่าสามารถเดินเข้าออกที่ดินพิพาทได้โดยเป็นภาระจำยอมแล้ว โจทก์จะได้ประโยชน์จากการเก็บค่าเช่ามากขึ้นทั้งทำให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้นด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมและรื้อถอนรั้วที่ปิดกั้นระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินพิพาท เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทล้อมรั้วที่ดินพิพาทโดยด้านหน้ามีไม้กั้นติดข้อความว่า "ที่หวงห้าม ห้ามผ่าน" ด้านหลังใช้เสาไม้อันเดียวปักไว้มีป้ายติดข้อความว่า "ที่ส่วนตัวห้ามเดิน" และด้านข้างปักป้ายมีข้อความว่า "ที่สงวนลิขสิทธิ์" แต่ต่อมาในเดือนเดียวกันมีผู้รื้อถอนไม้ที่ใช้กั้นที่ดินพิพาทออก โจทก์ที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และผู้ที่เคยใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกก็ยังคงใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกต่อมาอีก การกั้นรั้วไม้ดังกล่าวไม่มีผลให้รับฟังว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้ที่ดินพิพาทโดยความไม่สงบหรือมิได้ใช้ติดต่อกันมาเกิน 10 ปี บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และมาตรา 1393 แสดงว่าสิทธิการใช้ที่ดินพิพาทอันตกเป็นภาระจำยอมกฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์หาได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะไม่ ทั้งตกติดไปยังผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์นั้นด้วย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกจากที่ดินของตนไปสู่ทางสาธารณะ แม้ต่อมาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จะได้โอนขายที่ดินของตนแก่บุคคลอื่น ก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่ 2ระงับไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างติดกัน: สิทธิของเจ้าของที่ดินและหน้าที่ในการป้องกันความเสียหาย
ตึกของโจทก์และจำเลยอยู่ห่างกัน 2 เมตร 50 เซนติเมตรช่องว่างระหว่างตึกเป็นที่ดินของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้ การที่ฝาผนังตึกของโจทก์ชิดกับเขตที่ดินของจำเลยนี้ โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าฝาผนังตึกของโจทก์ต้องมีสภาพเป็นกำแพงรั้วกั้นเขตที่ดินโจทก์และจำเลย เป็นธรรมดาที่การวางสิ่งของของจำเลยในที่ดินของจำเลยอาจจะไปติดกับฝาผนังตึกของโจทก์ได้ การที่จำเลยใช้ประโยชน์จากฝาผนังตึกนี้โดยไม่ปรากฏว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
เมื่อฝาผนังตึกของโจทก์สูงกว่าอาคารของจำเลย จึงเป็นธรรมดาที่น้ำฝนจากหลังคาและฝาผนังตึกของโจทก์ย่อมจะไหลลงไปสู่ทรัพย์สินของจำเลย ทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายโจทก์จะต้องจัดการป้องกันหรือแก้ไข แต่โจทก์มิได้จัดการฉะนั้น การที่จำเลยพอกปูนซีเมนต์เชื่อมหลังคาของจำเลยกับผนังตึกของโจทก์จึงเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่จำเลย หาใช่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดไม่
เมื่อฝาผนังตึกของโจทก์สูงกว่าอาคารของจำเลย จึงเป็นธรรมดาที่น้ำฝนจากหลังคาและฝาผนังตึกของโจทก์ย่อมจะไหลลงไปสู่ทรัพย์สินของจำเลย ทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายโจทก์จะต้องจัดการป้องกันหรือแก้ไข แต่โจทก์มิได้จัดการฉะนั้น การที่จำเลยพอกปูนซีเมนต์เชื่อมหลังคาของจำเลยกับผนังตึกของโจทก์จึงเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่จำเลย หาใช่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะประโยชน์ การกีดขวางการใช้ประโยชน์ที่ดินของผู้อื่น และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดินที่จำเลยปลูกเรือนแพอยู่อาศัยเป็นที่สาธารณประโยชน์ เรือนแพของจำเลยอยู่ตรงหน้าที่ดินของโจทก์และใกล้ที่ดินของโจทก์ เห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยใช้ที่สาธารณะประโยชน์ตรงหน้าที่ดินของโจทก์จำเลยไม่มีสิทธิปลูกสร้างกีดขวางการใช้ที่สาธารณประโยชน์หน้าที่ดินของโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์จำเลยจะทำสัญญาเช่าสาธารณสมบัติของแผ่นดินมิได้ แต่โจทก์อาจจะยินยอมให้จำเลยทำการกีดขวางหน้าที่ดินของโจทก์ได้ และจะตกลงให้สินจ้างแลกเปลี่ยนในการที่โจทก์ยอมสละความสะดวกของตนก็ได้ แต่มิใช่เป็นการเช่า แม้จำเลยจะเคยเช่าที่ดินตรงที่ปลูกเรือนพิพาท เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าและไม่ยินยอมให้เรือนพิพาทกีดขวางหน้าที่ดินต่อไป จำเลยจะอ้างความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯไม่ได้ จำเลยต้องรื้อเรือนพิพาทออกไป
โจทก์จำเลยจะทำสัญญาเช่าสาธารณสมบัติของแผ่นดินมิได้ แต่โจทก์อาจจะยินยอมให้จำเลยทำการกีดขวางหน้าที่ดินของโจทก์ได้ และจะตกลงให้สินจ้างแลกเปลี่ยนในการที่โจทก์ยอมสละความสะดวกของตนก็ได้ แต่มิใช่เป็นการเช่า แม้จำเลยจะเคยเช่าที่ดินตรงที่ปลูกเรือนพิพาท เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าและไม่ยินยอมให้เรือนพิพาทกีดขวางหน้าที่ดินต่อไป จำเลยจะอ้างความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯไม่ได้ จำเลยต้องรื้อเรือนพิพาทออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ชอบ ผู้เช่าไม่มีสิทธิครอบครอง
ที่พิพาทเป็นพื้นที่ไหล่ทางของทางหลวง จึงเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) กรมธนารักษ์ซึ่งได้รับมอบที่ดินคืนจากกรมทางหลวงเพื่อดูแลรักษาหรือจังหวัดฉะเชิงเทราในฐานะผู้รับมอบช่วงจากกรมธนารักษ์ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินส่วนนี้ไปให้เอกชนรายหนึ่งรายใดใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะตัว แม้กรมทางหลวงจะหมดความจำเป็นในการใช้สอยและส่งคืนแล้ว แต่ที่พิพาทไม่ใช่ที่ราชพัสดุ หากแต่เป็นทางหลวงและไหล่ทางตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 2 ประกอบข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 และแม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ที่พิพาทก็ยังเป็นไหล่ทางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงอยู่ และยังคงสภาพเดิมเว้นแต่ทางราชการจะได้เพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) แล้วเท่านั้น ดังนั้น เมื่อไม่ได้มีการเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่ทางจังหวัดฉะเชิงเทราอนุญาตให้จำเลยเช่าที่พิพาทจากอำเภอบางปะกง ย่อมเป็นการให้เช่าโดยปราศจากอำนาจไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจกล่าวอ้างสิทธิครอบครองเหนือที่พิพาทตามสัญญา เมื่อจำเลยสร้างเพิงบนที่พิพาท ล้อมรั้วสังกะสีปิดกั้นระหว่างทางหลวงกับที่ดินของโจทก์อันเป็นการถือสิทธิเหนือสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงกระทบสิทธิของโจทก์ในอันที่จะใช้ทางหลวงสายนั้น และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นพลเมืองที่จะใช้ทรัพย์สินนั้นด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยตราบเท่าที่จำเลยยังคงอยู่บนที่พิพาท