พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนเวลาชำระหนี้ในสัญญาจะซื้อขาย และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงโดยการนำสืบพยานเพิ่มเติม
ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า คู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาตารางวาละ 1,200 บาท และค่าบริการอีก ตารางวาละ 1,300 บาทรวมเป็นเงิน 160,000 บาท ในการจะซื้อขายนี้ โจทก์ผู้จะซื้อวางมัดจำให้จำเลยผู้จะขายไว้แล้วจำนวน 5,000 บาท ผู้จำเลยได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว โจทก์ตกลงชำระค่าที่ดินและค่าบริการที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ๆ ละ 2,676 บาทภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป โจทก์ตกลงจะนำค่าที่ดินและค่าบริการชำระให้แก่จำเลยให้ครบถ้วนภายใน 7 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้ โจทก์จำเลยได้กำหนดวันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการครบถ้วนแล้ว และตอนล่างของสัญญาดังกล่าวมีบันทึกรับผ่อนเงินดาวน์ (เงินมัดจำ) อีกจำนวน 15,000 บาทโดยจำเลยลงชื่อรับไว้ ดังนี้ สำหรับเงื่อนเวลา 7 ปี ที่สัญญาระบุให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้ครบถ้วนนั้นเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ คือโจทก์ในภาระหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าที่ดินและค่าบริการแก่จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1 ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2 ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1 ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2 ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอทุเลาการบังคับคดีกับการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และการพิจารณาประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับ
ในชั้นบังคับคดีศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้ตามคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวพร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ จำเลยฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ดังนี้การที่จำเลยร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์หรือฎีกาขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ หาใช่เป็นเรื่องขอทุเลาการบังคับคดีไม่ แต่เป็นการร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จำเลยจึงไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228(2),247 จำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้อง แม้ในที่สุดศาลอุทธรณ์จะพิพากษาไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์จำเลยก็จะไม่ได้ประโยชน์แต่ประการใด เพราะโจทก์ก็จะเป็นผู้ได้รับเงินซึ่งได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ไปแต่ผู้เดียวจึงไม่มีประโยชน์ที่จะกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการแก้ไขคำให้การในคดีล้มละลายเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถูกศาลเรียกให้เข้ามาว่าคดีแทนลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ย่อมร้องต่อศาลขอแก้ไขคำให้การเดิมของลูกหนี้ได้ เพราะเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2498)