พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์ล้มละลายต้องดำเนินการให้ได้ราคาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย
ภายหลังการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดหลายครั้งราคาที่ดินซึ่งถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดทั้งสามแปลงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แม้ พ. จะเป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่เมื่อที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวไม่ได้อยู่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันและผู้คัดค้านไม่ได้มีเจตนาที่จะขายทรัพย์สินเหล่านั้นรวมกันมาตั้งแต่ต้น การที่ผู้คัดค้านอนุญาตให้ขายที่ดินทั้งสามแปลงรวมกันไปตามคำร้องขอของ พ. ผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวนั้น จึงเป็นเหตุให้ขายได้ในราคาต่ำกว่าราคาที่แท้จริง ดังนั้นการขายทอดตลาดดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12041/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรวมระยะเวลาฝึกอบรมเยาวชนในคดีต่างๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 (2) บัญญัติว่า ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญา โดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมตามเวลาที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ห้ามเรื่องการนับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องกัน กรณีจึงเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้นับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องกับระยะเวลาฝึกอบรมของคดีอื่นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งควรได้รับการฝึกอบรมสั่งสอนและสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีและให้เหมาะสมกับตัวเด็กหรือเยาวชนเป็นคน ๆ ไปตามมาตรา 82 ของกฎหมายดังกล่าวเมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรจะให้จำเลยทั้งสามฝึกอบรมต่อเนื่องกับการฝึกอบรมในคดีก่อนของศาลชั้นต้นแล้ว ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาหรือมีคำสั่งได้ โดยการฝึกอบรมต้องไม่ให้ระยะเวลาเกินกว่าจำเลยทั้งสามจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้อนุบาล: พิจารณาจากความผูกพัน การดูแลต่อเนื่อง และประโยชน์สูงสุดของผู้รับอนุบาล
ผู้ร้องเป็นผู้ช่วย ว.ซึ่งเป็นผู้อนุบาลคนเดิมที่ดูแลและเลี้ยงดูอ. ซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริต โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกันตลอดมา และนับแต่ ว. ถึงแก่กรรมผู้ร้องก็เป็นผู้ดูแลและพา อ. ไปรักษายามเจ็บป่วยมาโดยตลอด ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งปกครองดูแล อ.คนไร้ความสามารถจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของอ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28
เมื่อคำนึงถึงประโยชน์และความผาสุกของ อ. ในอันที่จะได้อยู่ในบ้านเดิมที่ตนได้พักอาศัยตลอดมาตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันเป็นเวลาเกินกว่า 50 ปี การได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่องและความรัก ความอบอุ่น รวมตลอดถึงความห่วงใยแล้วผู้ร้องมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาลของ อ.มากกว่าผู้คัดค้านทั้งปรากฏว่าอ. บรรลุนิติภาวะแล้วไม่มีคู่สมรสและบิดามารดา ศาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ อ.แทนว. ซึ่งเป็นผู้อนุบาลคนเดิมที่ถึงแก่ความตายแล้วได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1569/1
เมื่อคำนึงถึงประโยชน์และความผาสุกของ อ. ในอันที่จะได้อยู่ในบ้านเดิมที่ตนได้พักอาศัยตลอดมาตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันเป็นเวลาเกินกว่า 50 ปี การได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่องและความรัก ความอบอุ่น รวมตลอดถึงความห่วงใยแล้วผู้ร้องมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาลของ อ.มากกว่าผู้คัดค้านทั้งปรากฏว่าอ. บรรลุนิติภาวะแล้วไม่มีคู่สมรสและบิดามารดา ศาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ อ.แทนว. ซึ่งเป็นผู้อนุบาลคนเดิมที่ถึงแก่ความตายแล้วได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1569/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: พิจารณาความเหมาะสมของผู้เลี้ยงดู โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ยิ่งกว่าโจทก์ แม้มิได้ฟ้องแย้ง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์หลังการหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาทโดยธรรม
ในการจัดตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้าไม่มีข้อกำหนด พินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ อยู่ในความปกครองของผู้ร้อง ผู้ร้องและบุตรทั้งสามเป็นทายาท โดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดกและผู้ตาย เป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ร้องได้สัญชาติไทยตามผู้ตาย แม้จะ ปรากฏว่าผู้ร้องเคยถูกดำเนินคดีฐานเข้าเมืองโดยไม่ได้ รับอนุญาตและมีคำพิพากษาให้ออกนอกราชอาณาจักรมาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับข้อห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นประโยชน์สูงสุดแก่กองมรดกตามความมุ่งหมายของกฎหมายแล้ว เมื่อกรณีมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่จะให้ผู้คัดค้านที่ 2 จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องจึงมีข้อแสดงให้เห็นเบื้องต้นว่าไม่อาจที่จะจัดการร่วมกันได้ ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ซึ่งต้องระวังรักษา ประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์อีกสามคนที่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (1) ส่วนผู้คัดค้านทั้งสี่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (3) ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย จึงไม่สมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย โดยศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสมและประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
คดีนี้มีการร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคท้าย ซึ่งศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิเคราะห์พฤติการณ์และความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ผู้ร้องได้แก้ฎีกาว่าตามพฤติการณ์แล้วสมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกคนเดียว ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับมรดกของ ช. ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกสืบทอดจากจ.ซึ่งถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ร้อง แต่เป็นหลานโดยเป็นบุตรของพี่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นถัดลงมาตามกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีคุณสมบัติบกพร่องในการจัดการมรดก ประกอบกับเจตนาของ ช. เจ้ามรดกผู้เป็นต้นตระกูลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมว่า "ขอให้บรรดาทายาทของข้าพเจ้าจงมีความสมานสามัคคี ช่วยกันผดุงส่งเสริมตระกูลของเราให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป" แล้ว ดังนี้ ตามพฤติการณ์และความเหมาะสมจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกับผู้ร้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสมและประโยชน์สูงสุดแก่ทายาทและกองมรดก
การตั้งผู้จัดการมรดกศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะให้ประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดก การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ตาย ไม่ทราบว่ามีทรัพย์มรดกอะไรบ้าง ทั้งไม่ทราบเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใด ส่วนผู้คัดค้านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ตาย รู้ว่าทรัพย์มรดกอยู่แห่งใดและทราบความประสงค์ของผู้ตายว่าต้องการยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดนั้น ไม่ใช่เหตุผลที่แสดงถึงความเหมาะสมที่ผู้คัดค้านจะเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดก การให้ผู้ร้องและผู้คัดด้านได้จัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างก็อ้างว่า ตนสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น คดีไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกของผู้ตาย การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่มรดกของผู้ตายจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างก็อ้างว่า ตนสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น คดีไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกของผู้ตาย การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่มรดกของผู้ตายจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร การพิจารณาประโยชน์สูงสุดของผู้เยาว์ ความผูกพันทางจิตใจ และความสามารถในการเลี้ยงดู
เมื่อโจทก์มิได้ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบหรือประพฤติชั่วร้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582เพียงแต่ไม่สามารถปกครองดูแลผู้เยาว์ให้ได้รับความผาสุกอันอาจเป็นเหตุให้สุขภาพจิตของผู้เยาว์เสื่อมลงเท่านั้น กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของโจทก์ได้ แต่เมื่อผู้เยาว์มีความผูกพันกับจำเลยมากกว่าโจทก์ การที่ผู้เยาว์อยู่กับจำเลยจะมีผลดีต่อสุขภาพจิตของผู้เยาว์ จำเลยประกอบอาชีพมั่นคงพอที่จะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ ทั้งมีตาและยายของผู้เยาว์คอยจุนเจือช่วยเหลือสามารถดูแลผู้เยาว์ได้ใกล้ชิด ประกอบกับผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 8 ปีแล้วประสงค์จะอยู่กับจำเลยด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้เยาว์จึงสมควรให้จำเลยซึ่งเป็นมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ฝ่ายเดียวตามบทบัญญัติ มาตรา 1566(5) แห่ง ป.พ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าควรเลื่อนการขายเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ขาย
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามคำสั่งศาลนั้นกฎหมายมีเจตนารมณ์ ว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขาย แล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอราคาสูงสุดซึ่งสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่ราคาดังกล่าวหาใช่เป็นการประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริงไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจคำนวณราคาท้องตลาดได้โดยอาศัยวงเงินที่โจทก์รับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะ รับจำนองในวงเงินที่ต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง ทั้งกรณีเป็นการประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก เจ้าพนักงานบังคับคดีพอจะเห็นได้ว่า ราคาซึ่งโจทก์เสนอสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอโดยต่ำกว่าวงเงินที่โจทก์รับจำนอง ฉะนั้น หากถอนทรัพย์จากการขายทอดตลาดในครั้งนี้แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่ อาจได้ราคาสูงกว่าที่โจทก์เสนอ ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายทรัพย์แก่โจทก์จึงเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 308.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5750-5751/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่ง บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477มาตรา 4 ระบุว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เมื่อปรากฏว่า ถ. บิดาผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาผู้ร้องก่อนที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 ใช้บังคับผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. ส่วนผู้คัดค้านเมื่อจดทะเบียนสมรสกับ ถ. โดยถูกต้องตามกฎหมายมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. เช่นกัน ทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ด้วยกัน
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก