คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประโยชน์เกินควร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการหักบัญชีชำระหนี้หลังล้มละลาย - เจ้าหนี้ได้ประโยชน์เกินควร - การชำระหนี้เป็นโมฆะ
ตาม หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลง กันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่ง ถึง กำหนดชำระหรือถูก เรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ ว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้อง มีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้าง ชำระได้ แต่ ถ้า เงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ ได้ หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ที่ถึงกำหนดชำระหมดแล้ว การหักเงินชำระหนี้ตาม สัญญาข้อ 8 วรรคสองในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย การที่จำเลย ส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วโดย จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็เป็นการที่จำเลย นำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ดังนี้ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้ เพิกถอน การกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว เป็นการฝ่าฝืนต่อ มาตรา 2224แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ นั้นกรณีตกเป็นโมฆะไม่มี ผลบังคับ ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอน การชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ต้อง คืน เงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะ การชำระหนี้ได้ ถูก เพิกถอนนั้นเป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา กรณี ยังถือ ไม่ ได้ว่าได้ มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้อง รับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใด ที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอน ก็ยังถือ ว่าเป็นการ ชำระหนี้โดย ชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15831/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายต่อทรัพย์สิน: กำหนดจำนวนเงินที่ถูกต้องตามจริงเพื่อป้องกันการได้รับประโยชน์เกินควร
โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์กะบะราคา 840,000 บาท ขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ รถยนต์คันนี้โจทก์ร่วมชำระเงินดาวน์และเงินผ่อนไป 196,000 บาท ปัจจุบันบริษัทประกันภัยจ่ายเงินให้แก่บริษัทไฟแนนซ์ไปแล้ว ดังนี้ โจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องราคารถยนต์ที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 จำนวน 196,000 บาท ไม่ใช่ 840,000 บาท มิฉะนั้นโจทก์ร่วมย่อมได้กำไรเกินกว่าราคาที่สูญเสียไป และจำเลยทั้งสามอาจต้องชำระราคารถยนต์ซ้ำซ้อนในกรณีบริษัทประกันภัยใช้สิทธิไล่เบี้ยฟ้องคดีแพ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247