คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประโยชน์แก่จำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10616/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิดเป็นประโยชน์แก่ผู้กระทำความผิด
คำร้องขอให้ศาลออกหมายจับผู้คัดค้านทั้งสองระบุว่า ผู้คัดค้านทั้งสองมีพฤติการณ์กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 โดยเหตุเกิดระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2539 เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ที่ผู้ร้องขอให้ออกหมายจับมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความสิบห้าปีนับแต่วันกระทำความผิดตามมาตรา 95 (2) แห่ง ป.อ. ความผิดตามที่ผู้ร้องขอให้ศาลออกหมายจับดังกล่าวจึงขาดอายุความนับแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2554 และมีผลทำให้หมายจับดังกล่าวสิ้นผลไปด้วยนับแต่วันดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 68
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 74/1 ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับวันที่ 19 เมษายน 2554 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังการกระทำความผิดของผู้คัดค้านทั้งสองและการนับอายุความโดยมิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเข้าด้วยตามมาตราดังกล่าวมีผลทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาได้ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ตัวผู้คัดค้านทั้งสองมาฟ้องภายใน 15 ปี ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ผู้คัดค้านทั้งสอง จึงต้องนำอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะผู้คัดค้านทั้งสองกระทำความผิดมาบังคับใช้เพราะเป็นคุณแก่ผู้คัดค้านทั้งสองมากกว่า จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการนับอายุความตามมาตรา 98 และมาตรา 74/1 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาใช้บังคับแก่ผู้คัดค้านทั้งสองได้
แม้ความผิดตามหมายจับที่ศาลชั้นต้นออกให้แก่ผู้ร้องขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) และสิ้นผลไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 68 แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากหมายจับดังกล่าวมีข้อความว่า (จนกระทั่งจับตัวได้ตามมาตรา 74/1 ประกอบมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2554)) กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนหมายจับดังกล่าวเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจใบอนุญาตมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่: ตีความกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่จำเลยเมื่อไม่มีข้อห้ามชัดเจน
พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาตรา 49 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กำหนดว่า ผู้ใดประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ก็ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากนายทะเบียน การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งถือเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในการประกอบอาชีพ และมีการกำหนดโทษทางอาญาไว้ตามมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น การพิจารณาว่าใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ บัตรสีชมพู มีเงื่อนไขห้ามนำเที่ยวทางทะเลชายฝั่งในพื้นที่ที่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ จึงต้องตีความบทกฎหมายดังกล่าวตลอดจนข้อกำหนดในกฎกระทรวงโดยเคร่งครัด จะตีความเพื่อขยายความให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่ เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 ซึ่งคู่ความนำสืบรับกันว่ามีผลใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ ข้อ 1 กำหนดว่า ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 1 การอนุญาตให้เป็นมัคคุเทศก์ แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้ (1) มัคคุเทศก์ทั่วไป หมายความว่า มัคคุเทศก์ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับงานนำเที่ยวครอบคลุมในทุกสาขา สำหรับนำนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ (2) มัคคุเทศก์เฉพาะ หมายความว่า มัคคุเทศก์ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับงานนำเที่ยวเฉพาะสาขา เช่น สาขาประวัติศาสตร์ โบราณคดี และการนำเที่ยวป่า เป็นต้น อันเป็นการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในสาขานั้น ๆ ตามที่นักท่องเที่ยวต้องการจะทราบ..." และ ข้อ 2 กำหนดว่า ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 5 ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ก็มีสองประเภท ดังนี้ (1) ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไป ให้ใช้ได้ทั่วราชอาณาจักรตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต (2) ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะ ให้ใช้ได้เฉพาะงานนำเที่ยวเฉพาะสาขาและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต" จะเห็นว่าไม่มีข้อความตอนใดที่กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ให้ได้ความชัดเจน ทั้งที่เหตุผลในการออกกฎกระทรวงท้ายกฎกระทรวงระบุว่า "มัคคุเทศก์เฉพาะปฏิบัติงานนำเที่ยวได้เฉพาะสาขาหรือเฉพาะพื้นที่.." แสดงถึงเจตนารมณ์ในการออกกฎกระทรวงที่ต้องการแยกเงื่อนไขในการใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะสาขาและเฉพาะพื้นที่ออกจากกัน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเงื่อนไขการใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวซึ่งระบุว่าให้ใช้ได้เฉพาะงานนำเที่ยวเฉพาะสาขาจะหมายความรวมถึงใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ด้วยหรือไม่ ประกอบกับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ของจำเลย ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขห้ามนำเที่ยวเฉพาะสาขาด้วยแล้ว กรณีจึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ บัตรสีชมพู ซึ่งออกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539) ไม่มีเงื่อนไขที่กำหนดห้ามนำเที่ยวทางทะเลชายฝั่งในพื้นที่ที่ได้รับใบอนุญาต เมื่อพิจารณาเงื่อนไขในการใช้ใบอนุญาตมัคคุเทศก์ชนิดต่าง ๆ มัคคุเทศก์เฉพาะทางทะเลชายฝั่ง บัตรสีเหลือง สามารถนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว