คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกและปรับตามกฎหมายอาญา, การบวกโทษรอการลงโทษ, และขอบเขตการเพิ่มโทษปรับ
การเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จะเพิ่มโทษได้เฉพาะโทษจำคุกเท่านั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดและศาลเพียงแต่ลงโทษปรับ จึงเพิ่มโทษปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ศาลต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับเสมอ
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ" ดังนั้น เมื่อความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ให้จำคุกและปรับ ศาลจึงต้องจำคุกและปรับจำเลยด้วยเสมอ จะลงโทษจำคุกเพียงอย่างเดียวหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกและปรับในคดียาเสพติด แม้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว การเพิ่มโทษปรับยังคงทำได้
เมื่อศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วย่อมไม่อาจเพิ่มโทษจำคุกได้อีก แต่ความผิดที่จำเลยกระทำตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสาม มีโทษจำคุกและปรับ และตามมาตรา 100/1 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ทั้งโทษปรับเป็นโทษสถานหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วางโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตและลงโทษปรับจำเลยด้วยดังที่กล่าวมาแล้ว การเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 จึงเพิ่มโทษปรับได้ด้วย ที่ศาลชั้นต้นมิได้เพิ่มโทษปรับจำเลยจึงเป็นการมิชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมิได้เพิ่มโทษปรับจำเลย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมไม่อาจเพิ่มโทษปรับได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ต้องเพิ่มโทษปรับด้วย ศาลฎีกายกประเด็นความสงบเรียบร้อย
ความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ ที่มีโทษจำคุกและปรับนั้น มาตรา 100/1 กำหนดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ ดังนั้น การเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยตามมาตรา 97 ซึ่งให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง จึงต้องเพิ่มโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำคุกเพียงอย่างเดียวโดยไม่เพิ่มโทษปรับด้วยจึงไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาปัญหานี้จึงเพิ่มโทษปรับที่จะลงแก่จำเลยไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกและปรับในคดียาเสพติด และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม แต่ไม่เกินยี่สิบกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามมาตรา 66 วรรคสอง มีโทษทั้งจำคุกและปรับ ซึ่งตามมาตรา 100/1 กำหนดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ทั้งโทษปรับเป็นโทษชนิดหนึ่ง ดังนั้น การเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยตามมาตรา 97 จึงต้องเพิ่มโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ต้องกำหนดโทษจำคุกก่อน หากลงโทษปรับสถานเดียวแล้วไม่อาจเพิ่มโทษได้
การเพิ่มโทษอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 92 นั้น จะต้องกำหนดโทษที่จะลงเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ หลังจากนั้นจึงจะลดโทษตาม ป.อ.มาตรา 54
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตาม ป.อ.มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากร และการลดโทษจำคุกเป็นรายกระทงตามกฎหมายอาญา
การลงโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้นั้นค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย และเนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นกรณีจำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกัน เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว อันถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 225
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากยักยอกทรัพย์: โจทก์ฟ้องทั้งจำเลยและผู้ค้ำประกัน ศาลฎีกาเห็นควรให้ปรับและคุมความประพฤติ
ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ได้ยักยอกไปแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่เมื่อได้ความว่าการที่จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปให้แก่โจทก์ร่วมคดีนี้ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่ผู้ค้ำประกันจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระให้แก่โจทก์ร่วมในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับเอาได้ทั้งสองทาง ความรับผิดของจำเลยในส่วนนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาใน ชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นโทษปรับและการวางโทษทวีคูณในความผิดซ้ำเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
การปรับถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 (4) ดังนั้น แม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการ ลงโทษให้จำเลย แต่ปรากฏว่าคดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วน ในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว เมื่อพ้นโทษปรับมายังไม่ครบกำหนดห้าปี จำเลยกลับมากระทำผิดคดีนี้อีก จึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลยตามที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นโทษปรับตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ถือเป็นการพ้นโทษตามกฎหมาย และมีผลในการเพิ่มโทษทวีคูณได้
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 บัญญัติว่า"บุคคลใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีก ให้วางโทษทวีคูณ"ไม่ได้ระบุว่าการพ้นโทษจะต้องเป็นการพ้นโทษจำคุกอย่างเดียว การปรับก็ถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(4) ดังนั้นแม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการลงโทษให้จำเลยแต่ปรากฏว่าคดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใดย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยเคยถูกศาลลงโทษปรับตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาแล้วและพ้นโทษปรับมายังไม่ครบ 5 ปี จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เช่นเดียวกันจึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย
of 11