คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับบท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการยักยอก โจทก์มีสิทธิปรับบทฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5666/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรับของโจร และการปรับบทความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2 กับที่ 3กระทำความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายยืนยันการกระทำของจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ว่าได้กระทำความผิดฐานรับของโจรเพียงประการเดียว แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 กับที่ 3 กลับให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ ซึ่งมิใช่เป็นการกระทำดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จึงมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 กับที่ 3 ให้การรับสารภาพตามฟ้องซึ่งศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 กับที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยานข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดก็มีเพียงเท่าที่โจทก์กล่าวในฟ้อง หาได้มีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม แต่อย่างใดไม่ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเช่นว่านี้มาใช้บังคับเพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ได้
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เพียงว่า จำเลยที่ 1กับพวกหลายคนร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตในเวลากลางคืนแล้วปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรก,83 เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิดและพาทรัพย์นั้นไปศาลฎีกาย่อมปรับบทให้ถูกต้องได้โดยไม่แก้ไขเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อายุความฟ้องคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า: ใช้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าแทนประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273มีองค์ประกอบความผิดเช่นเดียวกับความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 108เพียงแต่มีโทษเบากว่าเท่านั้น ซึ่งเมื่อความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 108 ได้บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงต้องใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 108 แทน ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 3 วรรคสอง ดังนั้น การปรับบทความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 มาด้วยจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7217/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดและลงโทษกรรมเดียวในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขพิพากษาศาลล่าง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขาย คำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ได้ 58.099 กรัม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษหนักกว่าโทษในความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89 จึงต้องปรับบทความผิดจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นบทกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ ส่วนการมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ใน ครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น แม้ของกลางจะมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 58.099 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ที่ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวถือเป็นกฎหมายในส่วนที่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า โดยต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 67 แต่เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองมีไว้เพื่อขายและ เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกันและเป็นการมีไว้ในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว คงลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ที่เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90
เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางทั้งสองจำนวนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษในประเภทเดียวกันไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันจึงเป็นการกระทำความผิดอันเป็นกรรมเดียวกัน ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพียงกรรมเดียว อันเป็นส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า และซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทที่มีโทษหนักที่สุดบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3, 90 แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นความผิด 2 กรรมเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลมิได้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงไม่อาจให้ริบ เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของกระทรวงสาธารณสุขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถประมาทและไม่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นคนละกรรม ศาลแก้ไขโทษปรับบท
ความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายกับความผิดฐานก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่ให้ความช่วยเหลือ มีลักษณะการกระทำที่แตกต่างกันและความผิดฐานหลังเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากที่กระทำความผิดฐานแรกสำเร็จไปแล้วจึงเป็นความผิดสองกรรม
จำเลยกระทำความผิดฐานใช้ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องไม่ถูกต้อง และฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่นอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 34,43(8),151,160 วรรคสาม เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 34 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทมาตรา 33 อันเป็นบททั่วไปซึ่งเป็นความผิดกรณีใช้ทางเดินรถทั่วไปที่มิได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7430/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีเยาวชน การลดโทษ และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในชั้นพิจารณา ผู้เสียหายเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเท่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ซึ่งให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุ เพราะผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแม้เป็นพยานบอกเล่าแต่มีเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2532มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไปจึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่าในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี 6 เดือนการส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม จึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6970/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปรับบทความผิดจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ เมื่อเมทแอมเฟตามีนถูกระบุเป็นยาเสพติดให้โทษ
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเพื่อขายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกัน และถูกจับได้พร้อมกัน แม้วัตถุ แห่งการกระทำต่างชนิดกัน แต่เมื่อเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดต่อบทกฎหมายมาตราเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เมื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 แล้ว แต่ไม่ถึง 20 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ไม่เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดอีกต่อไป เนื่องจากเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนเดียวกันกับมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบท ลงโทษมาตรา 67 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และการริบเมทแอมเฟตามีนก็ไม่อาจริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้เพราะ ไม่ได้ลงโทษตามาตรา 89 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จึงต้องริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537-4540/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียว สินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า การริบของกลาง และการปรับบท
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว โดยแบ่ง สินค้าแยกวางเสนอจำหน่ายในสถานที่ต่างกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 มีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าว ในคราวเดียวกัน เพียงแต่แยกวางจำหน่ายในสถานที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลาง เป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตใน ราชอาณาจักร และไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์สินค้าของกลางตาม ประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นบททั่วไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การใช้กำลังและการปรับบทอาญา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 การ "จับ" นั้น เพียงแต่ทำให้ผู้ถูกจับรู้สึกตัวว่าขาดอิสระภาพไม่สามารถไปไหน ได้สะดวกต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานก็พอไม่จำต้องใช้กำลัง ไม่จำต้องแจ้งข้อหาทันที หรือแจ้งสิทธิของ ผู้ถูกจับหรือต้องทำบันทึกการจับกุมก่อน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง, 295, 296 ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องมาตรา 295 และมาตรา 296 จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาขอเพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 และมาตรา 296 ได้ ถือเป็นการปรับบทให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 212
of 8