พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดและขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขโทษ รวมถึงการรอการลงโทษและเหตุบรรเทาโทษ
โจทก์อุทธรณ์เพียงว่าไม่ควรรอการลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเอง อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเสียใหม่ด้วย สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง โดย โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองให้หนักขึ้น เป็นการเพิ่มเติม โทษซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทความผิดจากกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ หลังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงสถานะยา
ภายหลังจำเลยกระทำผิดแล้วได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2539 กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1แม้จะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 เนื่องจากมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ ก็ตาม การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานมีเมทแอมเฟ-ตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นความผิดคนละบทมาตรากัน หามีบทใดเป็นบทเฉพาะแก่กันไม่ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย และที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.มาตรา 90 ซึ่งต้องปรับบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย และเมื่อปรากฏว่าภายหลังที่จำเลยกระทำความผิด ได้มีประกาศกระทรวง-สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันมีผลทำให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ในคดีนี้ไม่เกิน 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ซึ่งมีอัตราโทษที่เบากว่าฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ จึงเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 กรณีจึงต้องปรับบทความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ด้วย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดจากยักยอกเป็นฉ้อโกงประชาชน เกินกรอบการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 343 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้เสียหายโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกศาลลงโทษฐานยักยอกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคหนึ่ง จำคุก 3 ปี โจทก์ไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีตามอุทธรณ์ของจำเลย เพียงว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอกหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นการ-หลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนและการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก ให้จำคุก 3 ปีตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับบทลงโทษจำเลยว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี คดีนี้จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 และ 247ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีต่อเนื่อง: ปล้นทรัพย์-รับของโจร, อำนาจศาล, การปรับบทความผิด
แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจทก์เกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกันโดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่งนำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง ดังนั้นพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19
จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีอาญา และการปรับบทความผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าอาวุธปืนสั้นกระบอกที่จำเลยใช้ทำการชิงทรัพย์ผู้เสียหายเป็นอาวุธปืนที่จำเลยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย และจำเลยมิได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ทั้งมิได้นำอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวมาเป็นหลักฐาน แม้จำเลยจะมิได้นำสืบปฏิเสธว่า อาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจำเลยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วและจำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดสองฐานนี้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาเพียงว่า จำเลยมีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปตามทางสาธารณะโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ ซึ่งแก้ไขใหม่แล้วเพียงบทเดียวโดยมิได้ปรับบทความผิดว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371อีกบทหนึ่งจึงเท่ากับยกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้องข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มิได้ เพราะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ข้อนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดร่วมกันมีอาวุธปืนเถื่อน, พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน, และการปรับบทความผิด
จำเลยกับ ร. ขู่บังคับผู้เสียหายให้ยอมร่วมประเวณีโดยจำเลยใช้อาวุธปืนไม่มีทะเบียนของจำเลยจี้ผู้เสียหาย เมื่อสามีผู้เสียหายไปตามพลตำรวจ ส.มาจับกุมส. เอาปืนดังกล่าวจากเอวร. มาเก็บไว้โดยถอดกระสุนปืนออกหมดแล้วจำเลยเข้าแย่งเอาปืนคืนจาก ส.ยกขึ้นจ้องยิงที่หน้าอกส.ดังแชะสามครั้ง ดังนี้พฤติการณ์ที่จำเลยกับ ร. ผลัดกันใช้อาวุธปืนของกลางเช่นนี้ถือว่าร่วมกันมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองและพกพาโดยไม่ได้รับอนุญาต และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยไม่สามารถบรรลุผลอย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยที่ใช้ในการกระทำผิดอีกกระทงหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์และการปรับบทความผิดฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลต้องวินิจฉัยตามพยานหลักฐานที่ฟังได้ ไม่ใช่ตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีส่วนกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ของผู้ตายในเวลากลางคืนไม่พอฟังว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกชิงทรัพย์และปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา339วรรคสองโจทก์ไม่อุทธรณ์ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อสะดวกในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์หรือในการชิงทรัพย์ครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการตายของผู้ตายจึงต้องฟังตามที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายมิได้ถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกชิงทรัพย์ครั้งนี้แม้คดีจะน่าเชื่อว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์และได้ชิงเอาเงิน19,500บาทของผู้ตายไปก็จะปรับบทเป็นความผิดตามมาตรา339วรรคห้าไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักเอาเงินสด19,500บาทของผู้ตายไปโดยใช้ไม้ตีและมีดแทงผู้ตายหลายแห่งโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์และนำสืบเช่นนั้นแต่ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมีส่วนในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และไม่ฟังว่าการตายของผู้ตายเกิดจากการชิงทรัพย์ซึ่งเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงของคู่ความว่าจะเชื่อได้เพียงใดมิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดจากข่มขืนเป็นบุกรุกและกระทำอนาจาร ศาลฎีกาแก้ไขให้ลงโทษตามบทที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ซึ่งเป็นบทหนัก ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 278 แต่ไม่ได้ปรับบทเสียใหม่ ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องโดยลงโทษตามมาตรา 365
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน: ความสมบูรณ์ของฟ้องและการปรับบทความผิด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยได้เห็น ส.คนเดียวลักทรัพย์ มิได้เห็น ร. ร่วมลักทรัพย์ด้วย ดังนี้เป็นการบรรยายข้อความที่เป็นเท็จและที่เป็นจริงไว้ชัดแล้วว่าความจริงจำเลยมิได้เห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์แต่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้เห็น ร. ร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่ว่าความจริงหรือเท็จจะอยู่ตรงที่ว่า ร. ได้ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์หรือไม่เท่านั้น
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา: ความสมบูรณ์ของฟ้อง และการปรับบทความผิด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ร. ร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ซึ่งความจริงแล้วจำเลยได้เห็นส.คนเดียวลักทรัพย์ มิได้เห็น ร. ร่วมลักทรัพย์ด้วย ดังนี้ เป็นการบรรยายข้อความที่เป็นเท็จและที่เป็นจริงไว้ชัดแล้วว่า ความจริงจำเลยมิได้เห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์ แต่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้เห็น ร.ร่วมกับส. ลักทรัพย์ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่ว่าความจริงหรือเท็จจะอยู่ตรงที่ว่า ร. ได้ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์หรือไม่เท่านั้น
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก