พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อตกลงสภาพการจ้าง และการตีความข้อตกลงการปรับเงินเดือน
การที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แรงงานจังหวัดเป็นผู้ตีความนั้น มิได้มีข้อห้ามมิให้นำข้อตกลงดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับการตีความข้อตกลงซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายได้
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้นหมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า การปรับเงินเดือนให้ถือเกณฑ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในชั้นที่สูงกว่านั้นหมายความว่าให้ปรับอัตราเงินเดือนเดิมของลูกจ้างให้เท่ากับอัตราเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องนำอัตราเงินเดือนมากำหนดว่าอยู่ในขั้นที่เท่าใด แล้วไปเทียบให้ตรงกับขั้นที่กำหนดแล้วปรับให้สูงขึ้นอีก 1 ขั้นในบัญชีเงินเดือนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างถูกเลิกจ้าง: ค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง, สวัสดิการ, และการปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
ข้อบังคับองค์การจำเลยมีใจความว่า พนักงานที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนอาจถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าการสอบสวนได้ความว่าไม่มีมลทินหรือมัวหมองก็จะสั่งให้กลับเข้าทำงานและมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนนั้นได้ดังนี้ เมื่อโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้วจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามความเห็นของคณะกรรมการ ต่อมาจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมตามคำพิพากษาของศาล ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างไม่
สำหรับเงินค่าช่วยเหลือบุตร เงินค่าการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาลและการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ผู้ที่จะมีสิทธิรับหรือได้รับการพิจารณาจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์พ้นจากฐานะพนักงานของจำเลยแล้ว แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานติดต่อกัน ก็หาได้หมายความว่าในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและไม่มีสิทธิรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับเงินเดือนแก่พนักงานก็มีวัตถุประสงค์จะปรับเงินเดือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติ เมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยและไม่มีอัตราเงินเดือนประจำในขณะนั้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
สำหรับเงินค่าช่วยเหลือบุตร เงินค่าการศึกษาของบุตร ค่ารักษาพยาบาลและการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ผู้ที่จะมีสิทธิรับหรือได้รับการพิจารณาจะต้องมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลย เมื่อโจทก์พ้นจากฐานะพนักงานของจำเลยแล้ว แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยนับอายุงานติดต่อกัน ก็หาได้หมายความว่าในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและไม่มีสิทธิรับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับเงินเดือนแก่พนักงานก็มีวัตถุประสงค์จะปรับเงินเดือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นพนักงานอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติ เมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยและไม่มีอัตราเงินเดือนประจำในขณะนั้น จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงปรับเงินเดือนตามมติรัฐบาล: ไม่ผูกพันตามจำนวนที่รัฐบาลกำหนด
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนนายจ้างกับผู้แทนลูกจ้างมีความว่า การที่พนักงานขอให้ปรับเงินเดือนขึ้นอีก 20เปอร์เซ็นต์ นั้น เรื่องนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาให้แก่ข้าราชการอยู่ และในการนี้ก็จะพิจารณาปรับปรุงให้แก่รัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งบริษัทของนายจ้างด้วย และจะมีผลใช้บังคับในระยะเวลาพร้อมกัน ข้อตกลงดังนี้หมายความเพียงแต่ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นนายจ้างจะปรับปรุงเงินเดือนให้เพียงใดนั้น ไม่มีการระบุไว้แน่ชัดเป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะพิจารณา จะถือว่าบริษัทนายจ้างได้ตกลงรับเป็นข้อผูกพันว่า เมื่อรัฐบาลปรับปรุงเงินเดือนให้แก่ข้าราชการแล้ว จะปรับปรุงเงินเดือนให้ลูกจ้างขึ้นจากเดิม 20 เปอร์เซ็นต์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902-999/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย การปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี และอำนาจศาลแรงงาน
เมื่อจำเลยเห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองมิใช่ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางก่อนวันสืบพยาน เพื่อให้ศาลแรงงานกลางจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิพากษาคดีนี้ได้ และเมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้เนื่องจากเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10458-10663/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการปรับเงินเดือนตามโครงสร้างใหม่หลังพ้นสภาพการจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิแม้มีการอนุมัติในหลักการ
จำเลยกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ ซึ่งต่อมาจำเลยได้ปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าว และพนักงานของจำเลยรวมทั้งโจทก์คดีนี้ได้รับการปรับเงินเดือนครั้งนี้แล้ว ส่วนการปรับโครงสร้างบัญชีอัตราเงินเดือนของจำเลยอีกครั้งหลังการปรับตามข้อตกลง ปรากฏว่ามีการดำเนินการจนเสร็จสิ้นตามขั้นตอนหลังจากโจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการปรับเงินเดือนครั้งหลังด้วย (ฎ.7724 - 8191/2550)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5694-5702/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การปรับเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี และอำนาจการปรับเงินเดือนของนิติบุคคล
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้น จำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การพิจารณาว่าจำเลยต้องปรับค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเก้าตามมติคณะรัฐมนตรีตามฟ้องหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าโจทก์ทั้งเก้าและจำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องการปรับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีตามฟ้องไว้หรือไม่ อย่างไร แม้โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 10 วรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2533 กรรมการผู้จัดการจำเลยมีหนังสือถึงประธานกรรมการดำเนินการของจำเลยว่าสมควรปรับเงินเดือนเจ้าหน้าที่ของจำเลยเข้าสู่ฐานเงินเดือนเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภาที่ได้ปรับปรุงใหม่ตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติแล้ว เนื่องด้วยจำเลยได้ยึดหลักเกณฑ์และฐานเงินเดือนเจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภามาใช้โดยอนุโลม จึงเห็นสมควรปรับเงินเดือนใหม่และให้มีการตกเบิกย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2533 และจำเลยมีคำสั่งที่ 3/2537 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2537 ว่าโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานจำเลยได้ถือบังคับใช้โครงสร้างเงินเดือนเจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของคุรุสภาในฐานะรัฐวิสาหกิจ จึงมีคำสั่งปรับอัตราเงินเดือนของเจ้าหน้าที่จำเลยตามโครงสร้างเงินเดือนที่ทางรัฐบาลได้ปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจในปี 2537 และให้มีผลย้อนหลังตกเบิกตั้งแต่เดือนตุลาคม 2537 เป็นต้นไป ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลย ครั้งที่ 7/2550 - 51 ครั้งที่ 1/2552 - 53 และครั้งที่ 7/2552 - 53 มีมติว่าให้รอองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (องค์การค้าของ สกสค.) ปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อใด จำเลยก็จะปรับให้เจ้าหน้าที่จำเลยเหมือนกัน ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลยครั้งที่ 4/2555 - 56 มีมติว่าองค์การค้าของ สกสค. มีนโยบายปรับเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 จำเลยมีแนวทางปรับเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่จำเลยเช่นกัน จึงให้จัดทำบัญชีเงินเดือนแนบท้ายมาด้วย ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลย ครั้งที่ 6/2555 - 56 มีมติอนุมัติให้ปรับเงินเดือนแก่เจ้าหน้าที่จำเลยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 โดยคำนวณตามที่องค์การค้าของ สกสค. ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค. และในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลย ครั้งที่ 7/2555 - 56 มีมติอนุมัติให้ปรับอัตราเงินเดือนแก่เจ้าหน้าที่จำเลยตามบัญชีปรับอัตราเงินเดือน - ฐานเงินเดือน ตามเสนอ โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 ปัจจุบันองค์การค้าของคุรุสภาได้โอนกิจการ เงินทรัพย์สิน หนี้ สิทธิต่าง ๆ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 83 ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยและโจทก์ทั้งเก้าดังกล่าวต่างแสดงออกยินยอมตกลงให้ยึดถืออัตราเงินเดือนเจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภาหรือองค์การค้าของ สกสค. เป็นอัตราเงินเดือนเจ้าหน้าที่จำเลยตั้งแต่ปี 2533 ตลอดมา ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องอัตราค่าจ้างโดยปริยาย ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือก็มีผลบังคับได้
แม้ในคดีที่เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของ สกสค. เป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้ สกสค. ปรับเงินเดือนแก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภา (ซึ่งต่อมาได้โอนกิจการองค์การค้าของคุรุสภามาเป็นองค์การค้าของ สกสค.) ซึ่ง สกสค. ได้ปรับเงินเดือนเพิ่มให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค. ตามคำพิพากษาศาลฎีกา และจ่ายเงินเพิ่มให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค. ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยคงมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะเรื่องอัตราค่าจ้างโดยตกลงให้ยึดถืออัตราค่าจ้างของเจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภาหรือองค์การค้าของ สกสค. เป็นอัตราค่าจ้างของเจ้าหน้าที่จำเลย ซึ่งหาก สกสค. ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค. เมื่อใด จำเลยก็จะปรับให้เช่นกัน มิได้มีข้อตกลงว่าจำเลยต้องปรับอัตราเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่จำเลยในวันเวลาใดที่แน่นอนและมิได้ตกลงให้ยึดถืออัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีอันจะมีผลให้จำเลยต้องปรับเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่จำเลยย้อนหลังไปในวันที่มติคณะรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับ ทั้งการปรับเงินเดือนให้แก่โจทก์ทั้งเก้าซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จำเลยเป็นอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก สกสค. โดยเฉพาะ เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลยมีมติให้ปรับเงินเดือนแก่โจทก์ทั้งเก้าในอัตราเดียวกับเจ้าหน้าที่องค์การค้า สกสค. โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 และไม่ปรากฏว่าวันที่มีผลบังคับไม่เหมาะสม การปรับเงินเดือนของจำเลยให้แก่โจทก์ทั้งเก้าจึงชอบแล้ว จำเลยไม่ต้องปรับเงินเดือนหรือค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเก้าย้อนหลังตามมติคณะรัฐมนตรี และไม่ต้องจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างเพิ่มขึ้นและเงินโบนัสให้แก่โจทก์ทั้งเก้า
การพิจารณาว่าจำเลยต้องปรับค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเก้าตามมติคณะรัฐมนตรีตามฟ้องหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าโจทก์ทั้งเก้าและจำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องการปรับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีตามฟ้องไว้หรือไม่ อย่างไร แม้โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 10 วรรคสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2533 กรรมการผู้จัดการจำเลยมีหนังสือถึงประธานกรรมการดำเนินการของจำเลยว่าสมควรปรับเงินเดือนเจ้าหน้าที่ของจำเลยเข้าสู่ฐานเงินเดือนเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภาที่ได้ปรับปรุงใหม่ตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติแล้ว เนื่องด้วยจำเลยได้ยึดหลักเกณฑ์และฐานเงินเดือนเจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภามาใช้โดยอนุโลม จึงเห็นสมควรปรับเงินเดือนใหม่และให้มีการตกเบิกย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2533 และจำเลยมีคำสั่งที่ 3/2537 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2537 ว่าโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานจำเลยได้ถือบังคับใช้โครงสร้างเงินเดือนเจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของคุรุสภาในฐานะรัฐวิสาหกิจ จึงมีคำสั่งปรับอัตราเงินเดือนของเจ้าหน้าที่จำเลยตามโครงสร้างเงินเดือนที่ทางรัฐบาลได้ปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจในปี 2537 และให้มีผลย้อนหลังตกเบิกตั้งแต่เดือนตุลาคม 2537 เป็นต้นไป ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลย ครั้งที่ 7/2550 - 51 ครั้งที่ 1/2552 - 53 และครั้งที่ 7/2552 - 53 มีมติว่าให้รอองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (องค์การค้าของ สกสค.) ปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อใด จำเลยก็จะปรับให้เจ้าหน้าที่จำเลยเหมือนกัน ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลยครั้งที่ 4/2555 - 56 มีมติว่าองค์การค้าของ สกสค. มีนโยบายปรับเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 จำเลยมีแนวทางปรับเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่จำเลยเช่นกัน จึงให้จัดทำบัญชีเงินเดือนแนบท้ายมาด้วย ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลย ครั้งที่ 6/2555 - 56 มีมติอนุมัติให้ปรับเงินเดือนแก่เจ้าหน้าที่จำเลยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 โดยคำนวณตามที่องค์การค้าของ สกสค. ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค. และในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลย ครั้งที่ 7/2555 - 56 มีมติอนุมัติให้ปรับอัตราเงินเดือนแก่เจ้าหน้าที่จำเลยตามบัญชีปรับอัตราเงินเดือน - ฐานเงินเดือน ตามเสนอ โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 ปัจจุบันองค์การค้าของคุรุสภาได้โอนกิจการ เงินทรัพย์สิน หนี้ สิทธิต่าง ๆ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 83 ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยและโจทก์ทั้งเก้าดังกล่าวต่างแสดงออกยินยอมตกลงให้ยึดถืออัตราเงินเดือนเจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภาหรือองค์การค้าของ สกสค. เป็นอัตราเงินเดือนเจ้าหน้าที่จำเลยตั้งแต่ปี 2533 ตลอดมา ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องอัตราค่าจ้างโดยปริยาย ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือก็มีผลบังคับได้
แม้ในคดีที่เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของ สกสค. เป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้ สกสค. ปรับเงินเดือนแก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภา (ซึ่งต่อมาได้โอนกิจการองค์การค้าของคุรุสภามาเป็นองค์การค้าของ สกสค.) ซึ่ง สกสค. ได้ปรับเงินเดือนเพิ่มให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค. ตามคำพิพากษาศาลฎีกา และจ่ายเงินเพิ่มให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค. ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยคงมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะเรื่องอัตราค่าจ้างโดยตกลงให้ยึดถืออัตราค่าจ้างของเจ้าหน้าที่องค์การค้าของคุรุสภาหรือองค์การค้าของ สกสค. เป็นอัตราค่าจ้างของเจ้าหน้าที่จำเลย ซึ่งหาก สกสค. ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่องค์การค้าของ สกสค. เมื่อใด จำเลยก็จะปรับให้เช่นกัน มิได้มีข้อตกลงว่าจำเลยต้องปรับอัตราเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่จำเลยในวันเวลาใดที่แน่นอนและมิได้ตกลงให้ยึดถืออัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีอันจะมีผลให้จำเลยต้องปรับเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่จำเลยย้อนหลังไปในวันที่มติคณะรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับ ทั้งการปรับเงินเดือนให้แก่โจทก์ทั้งเก้าซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จำเลยเป็นอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก สกสค. โดยเฉพาะ เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลยมีมติให้ปรับเงินเดือนแก่โจทก์ทั้งเก้าในอัตราเดียวกับเจ้าหน้าที่องค์การค้า สกสค. โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 และไม่ปรากฏว่าวันที่มีผลบังคับไม่เหมาะสม การปรับเงินเดือนของจำเลยให้แก่โจทก์ทั้งเก้าจึงชอบแล้ว จำเลยไม่ต้องปรับเงินเดือนหรือค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเก้าย้อนหลังตามมติคณะรัฐมนตรี และไม่ต้องจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างเพิ่มขึ้นและเงินโบนัสให้แก่โจทก์ทั้งเก้า