คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับโครงสร้างเงินเดือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าจ้างหลังปรับโครงสร้างเงินเดือน: ศาลฎีกาให้ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาข้อตกลงโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาว่า การพิจารณาความดีความชอบในขณะใดๆ ให้องค์การค้าคุรุสภาพิจารณาโดยถือหลักเกณฑ์การพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีหรือระเบียบของทางราชการที่กำหนดสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจในขณะนั้นๆ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้วยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกลาว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.รงบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าจ้าง กรณีการปรับโครงสร้างเงินเดือนตามมติ ครม. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้ว แต่ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว