พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
แม้ถ้อยคำในมาตรา 57 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า ถ้าความปรากฏในภายหลังนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าความปรากฏในภายหลังโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดก็ตาม แต่มาตรา 57 เป็นบทบัญญัติที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่คณะกรรมการธุรกรรมของจำเลยมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นไว้ชั่วคราวตามมาตรา 48 วรรคหนึ่ง เพื่อเลขาธิการจะได้ดำเนินการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไปตามมาตรา 49 ซึ่งหากศาลไต่สวนแล้วเชื่อว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แต่หากศาลเห็นว่าไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวย่อมมีนัยแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวว่า คำว่า "ถ้าความปรากฏในภายหลัง" ตามมาตรา 57 วรรคสี่ นั้น ต้องเป็นกรณีที่ความปรากฏในภายหลังตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ทรัพย์สินตามคำร้องนั้นไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น หากตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าวว่าทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด กรณีย่อมไม่เข้าองค์ประกอบตามความในมาตรา 57 วรรคสี่ ที่จะก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่า ทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง กรณีย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองตามฟ้อง จำเลยจึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ว่า "...เลขาธิการอาจสั่งให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินนั้นไปดูแลและใช้ประโยชน์โดยมีประกันหรือหลักประกันหรือให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้" ซึ่งจะเห็นได้ว่าการที่เลขาธิการของจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกทั้ง 209 คัน ของโจทก์ทั้งสองออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการของจำเลยเกี่ยวกับการรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้ จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองเช่นกัน
อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่กล่าวอ้างว่าเลขาธิการของจำเลยใช้อำนาจโดยไม่สุจริตรีบเร่งนำทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองออกขายทอดตลาด อันเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหายดังกล่าวนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวบรรยายฟ้องไว้โดยชัดแจ้ง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ว่า "...เลขาธิการอาจสั่งให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินนั้นไปดูแลและใช้ประโยชน์โดยมีประกันหรือหลักประกันหรือให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้" ซึ่งจะเห็นได้ว่าการที่เลขาธิการของจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกทั้ง 209 คัน ของโจทก์ทั้งสองออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการของจำเลยเกี่ยวกับการรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้ จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองเช่นกัน
อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่กล่าวอ้างว่าเลขาธิการของจำเลยใช้อำนาจโดยไม่สุจริตรีบเร่งนำทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองออกขายทอดตลาด อันเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหายดังกล่าวนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวบรรยายฟ้องไว้โดยชัดแจ้ง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลทรัพย์สินจากความผิดมูลฐานเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทรัพย์สินตามรายการที่ 4 ที่ 11 ถึงที่ 14 ที่ 16 และที่ 17 ตกเป็นของแผ่นดิน และให้ดอกผลของทรัพย์สินตามรายการที่ 9 และที่ 10 ตกเป็นของแผ่นดิน โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ดอกผลของทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 ที่ 11 ถึงที่ 18 ตกเป็นของแผ่นดินด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 เมื่อผู้ร้องฎีกาในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบมาตรา 252
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 11 ถึงที่ 18 เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและคำพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จึงต้องตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ด้วย
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 11 ถึงที่ 18 เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและคำพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จึงต้องตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ด้วย