พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ ปัญหาการปรึกษาหารือระหว่างจำเลยและทนายไม่เพียงพอ
ตามคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ของจำเลยทั้งสามอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่เดินทางกลับจากอำเภอหาดใหญ่เพราะต้องดูแลหลานอายุ 4 ขวบ ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ เพื่อให้น้องสะใภ้ของจำเลยที่ 2 ไปทำงาน จำเลยทั้งสามกับทนายจำเลยทั้งสามไม่สามารถที่จะร่วมปรึกษากันถึงรูปคดีและมีความเห็นให้ทนายจำเลยทั้งสามดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ทนายจำเลยทั้งสามจึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เช่นนี้ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมพยายามฆ่า: การปรึกษาหารือและไล่ติดตามผู้เสียหายบ่งชี้เจตนา
จำเลยที่ 2 รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนติดตัวอยู่และได้มีการปรึกษาหารือกันก่อนตั้งแต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ลุกขึ้นไปพูดซุบซิบกับจำเลยที่ 1 ที่หน้าร้านที่เกิดเหตุประมาณ 2-3 ครั้งและเมื่อจำเลยทั้งสองหวนกลับมายังที่เกิดเหตุอีกเป็นครั้งที่สองปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถืออาวุธปืนมาด้วย ซึ่งในขณะนั้นผู้เสียหายกับพวกยังคงยืนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายกับพวกเห็นเช่นนั้นจึงวิ่งหลบหนีเข้าไปในวัด จำเลยทั้งสองยังไล่ตามผู้เสียหายกับพวกไปอีกเล็กน้อย จำเลยที่ 1 ก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดแล้วจำเลยทั้งสองวิ่งหนีไปด้วยกัน ดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นคนยิงผู้เสียหาย กรณีเช่นนี้ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความปรึกษาหารือแล้วรับเป็นทนายฝ่ายตรงข้าม มีความผิดตาม พ.ร.บ.ทนายความ
ทนายความรับปรึกษาหารือในทางอัถคดีและได้ตรวจดูหลักฐานเอกสารต่างๆ ของโจทก์ แต่ไม่ได้ตกลงกันภายหลังกลับรับเป็นทนายแก้ต่างให้อีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมมีความผิดตรา พ.ร.บ.ทนายความ 2477 มาตรา 12 ข้อ 4