พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนค่าเล่าเรียนหลังถูกปลดออกจากราชการ และผลของการกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ 9ระบุว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อหรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (โจทก์) เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ 7" เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ 9จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 9 ดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนม์พรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา และโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่ 1 กลับเข้ารับราชการ ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัย: การพักงานเป็นโทษที่เบากว่าการปลดออกได้ แม้ระเบียบจะไม่ได้กำหนดโทษไว้เป็นการเฉพาะ
โดยทั่วไปสิ่งใดที่กล่าวยกขึ้นเป็นตัวอย่างไว้ สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือต้องละเว้นไม่กระทำตามแต่ข้อความก่อนมีการยกตัวอย่างได้ระบุไว้ คำว่า "ตัดค่าจ้าง ถูกพักงาน ถูกภาคทัณฑ์"เป็นข้อความในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในหัวข้อระเบียบวินัยและโทษทางวินัย จึงเป็นโทษทางวินัยอย่างหนึ่ง แต่การกระทำผิดทางวินัยในความผิดประเภทต่าง ๆ ได้มีกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น โทษดังที่กล่าวข้างต้นซึ่งมิได้ระบุถึงในโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะนี้ จำเลยจึงนำมาลงโทษได้เฉพาะเมื่อประสงค์จะลงโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้วเท่านั้น จำเลยมาทำงานสายเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะคือปลดออกจากงาน การที่จำเลยลงโทษเพียงพักงานโจทก์ ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าการปลดออกจากงานจึงชอบด้วยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว และเมื่อการลงโทษพักงานชอบด้วยระเบียบ จำเลยก็มีสิทธิหักค่าจ้างโจทก์ในวันที่พักงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ การลงโทษด้วยการปลดออกชอบด้วยระเบียบ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีคำสั่งเรื่อง ใช้รถยนต์ในส่วนภูมิภาคห้ามพนักงานซึ่งมิใช่พนักงานขับรถ ขับรถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา และให้ใช้รถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการเท่านั้นและข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงานข้อ 43 กำหนดว่า "การลงโทษปลดออกนั้น จะกระทำได้เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ 41 และข้อ 42 แต่โทษยังไม่ถึงกับจะต้องถูกไล่ออก หรือถึงกับจะต้องถูกไล่ออก แต่มีเหตุผลอันควรลดหย่อน" การที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานช่างนำรถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปปักเสา 2 ต้น และยกหม้อแปลงขึ้นบนคานนั่งร้านหม้อแปลงให้แก่เอกชน การกระทำของโจทก์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการผิดข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน หมวด 5 เรื่องวินัย ข้อ 38(3) ที่กำหนดว่า "ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบหรือวิธีปฏิบัติของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ห้ามขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง..."แล้ว ยังต้องด้วยข้อ 41(3) ที่กำหนดว่า "ทุจริตต่อหน้าที่การงาน"ด้วย เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่นซึ่งมีโทษถึงไล่ออก ดังนั้น การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยมีคำสั่งปลดออกจึงเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าวแล้วไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยการปลดออกชอบด้วยระเบียบ หากลูกจ้างกระทำผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลงโทษของจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างกำหนดว่า เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ โทษยังไม่ถึงต้อง ถูก ไล่ออกหรือถึง ต้อง ถูก ไล่ออกแต่ มีเหตุผลอื่นอันสมควรลดหย่อนก็ให้ลงโทษปลดออกได้ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างนำรถของจำเลยไปปักเสาและยกหม้อแปลงขึ้นคานให้แก่ผู้รับเหมา ซึ่ง เป็นการกระทำผิดระเบียบและมีโทษถึง ไล่ออก การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดย การปลดออก จึงชอบด้วยระเบียบดังกล่าว ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัย: การปลดออกจากการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ และการใช้รถของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงานข้อ 43 กำหนดว่า "การลงโทษปลดออกนั้น จะกระทำได้เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ 41 และข้อ 42 แต่โทษยังไม่ถึงกับจะต้องถูกไล่ออก หรือถึงกับจะต้องถูกไล่ออก แต่มีเหตุผลอันควรลดหย่อน" การที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานช่างนำรถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปปักเสา 2 ต้น และยกหม้อแปลงขึ้นบนคานนั่งร้านหม้อแปลงให้แก่ผู้รับเหมา การกระทำของโจทก์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการผิดข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน หมวด 5 เรื่องวินัย ข้อ 38(3) ที่กำหนดว่า "ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบหรือวิธีปฏิบัติของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ห้ามขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง..." แล้วยังต้องด้วยข้อ 41(3) ที่กำหนดว่า "ทุจริตต่อหน้าที่การงาน" ด้วยเพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่น คือผู้รับเหมาที่โจทก์นำรถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปปักเสาและยกหม้อแปลงขึ้นบนคานนั่งร้านให้ซึ่งมีโทษถึงไล่ออก ดังนั้นการที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยมีคำสั่งปลดออกจึงเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าวแล้วไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุจริตการสอบเลื่อนตำแหน่งเป็นความผิดร้ายแรง สิทธิของนายจ้างในการปลดออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นเข้าสอบเลื่อนตำแหน่งแทน เป็นการทุจริตในการสอบซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงอยู่ในตัว จึงถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินับอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิปลดโจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตลอดจนค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11100/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเงินบำเหน็จเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการสิ้นสุดสิทธิประโยชน์กรณีถูกลงโทษปลดออก
โรงงานยาสูบเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง (จำเลยที่ 1) ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มีระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ.2500 ต่อมาปี 2538 โรงงานยาสูบจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานยาสูบซึ่งจดทะเบียนแล้ว (จำเลยที่ 2) ขึ้น มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ทำให้พนักงานยาสูบซึ่งเป็นพนักงานอยู่ก่อนการจัดตั้งจำเลยที่ 2 มีสิทธิเลือกรับเงินบำเหน็จตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ.2500 หรือสมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 แต่เมื่อสมัครเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 แล้วจะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ.2500 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ระบุให้มีการโอนเงินกองทุนบำเหน็จพนักงานยาสูบที่สมัครเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 นำมาเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนของจำเลยที่ 2
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงงานยาสูบก่อนการจัดตั้งจำเลยที่ 2 โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 เท่ากับโจทก์ยินยอมให้โรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้างโอนเงินกองทุนบำเหน็จของโจทก์ไปให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจและหน้าที่จัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอำนาจออกข้อบังคับใช้ในการจัดการกองทุนของจำเลยที่ 2 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยมีข้อบังคับในเรื่องนี้ใช้บังคับมาก่อน ไม่ใช่กรณีการออกข้อบังคับเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 29 วรรคสอง นั้นหมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ตามมาตรา 25 ถึงมาตรา 27 และต้องเป็นกรณีการทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเท่านั้น ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ไม่ได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องและตกลงกันได้จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 29 วรรคสอง ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันสมาชิกของจำเลยที่ 2
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงงานยาสูบก่อนการจัดตั้งจำเลยที่ 2 โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 เท่ากับโจทก์ยินยอมให้โรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้างโอนเงินกองทุนบำเหน็จของโจทก์ไปให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจและหน้าที่จัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอำนาจออกข้อบังคับใช้ในการจัดการกองทุนของจำเลยที่ 2 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยมีข้อบังคับในเรื่องนี้ใช้บังคับมาก่อน ไม่ใช่กรณีการออกข้อบังคับเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 29 วรรคสอง นั้นหมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ตามมาตรา 25 ถึงมาตรา 27 และต้องเป็นกรณีการทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเท่านั้น ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ไม่ได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องและตกลงกันได้จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 29 วรรคสอง ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันสมาชิกของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดหย่อนโทษทางวินัยจากไล่ออกเป็นปลดออก ไม่ทำให้การกระทำผิดร้ายแรงนั้นสิทธิค่าชดเชย
ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 4 ทวิ ซึ่งกำหนดให้พนักงานที่ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงใดๆ ซึ่งมีโทษไล่ออก แต่มีเหตุพิจารณาให้ไม่ถึงกับจะต้องถูกไล่ออกหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนให้เปลี่ยนโทษจากไล่ออกเป็นปลดออกได้ และกรณีที่พนักงานถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่การสอบสวนไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งปลดออกจากงานได้เพราะมีมลทินมัวหมองและอาจเป็นการเสียหายแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยหากคงทำงานอยู่ต่อไปนั้น ตามข้อ 4 ทวิ วรรคสาม ให้สิทธิเพียงแต่ถือว่ามีคำสั่งปลดออกโดยไม่มีความผิดเพื่อประโยชน์ในการได้รับการสงเคราะห์เมื่อออกจากงานตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 เท่านั้น มิได้มีผลเปลี่ยนแปลงการกระทำของบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อโจทก์เมาสุราหรือเสพสุราในเวลาปฏิบัติงานหน้าที่พนักงานกั้นถนนอันเป็นความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงมีโทษไล่ออกจากงาน แต่จำเลยเห็นว่าโจทก์ให้การรับสารภาพและผู้บังคับบัญชารับรองว่ามีความประพฤติดี จึงลดหย่อนโทษให้หนึ่งระดับเป็นปลดออกจากงานแล้ว การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงซึ่งจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ (ข้อ 46 (3))