คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลดออกจากราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีทางปกครอง: คำสั่งปลดออกจากราชการและการเทียบเคียงกับละเมิด
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2495 มาตรา 103 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2485 มาตรา 60(2) และ 62 เป็นคำสั่งทางปกครองมิใช่นิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องใช้กำหนดเวลาทางปกครองปรับแก่คดี เมื่อตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลาในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ลักษณะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง ประกอบมาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ศาลต้องมีกฎหมายรองรับ การบรรจุข้าราชการหลังถูกปลดไม่มีสิทธิฟ้อง
การยื่นคำร้องขอใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จะต้องพิจารณาด้วยว่ามีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นที่บุคคลนั้นจะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่หรือไม่ตามคำร้องขอของผู้ร้องที่บรรยายมาได้ความว่า ผู้ร้องเคยเป็นข้าราชการของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ถูกปลดออกจากราชการต่อมามีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ออกใช้บังคับ ผู้ร้องเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงยื่นคำร้องขอบรรจุกลับเข้ารับราชการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้มีคำสั่งไม่รับผู้ร้องให้กลับเข้ารับราชการ ซึ่งไม่มีอำนาจกระทำได้ ขอให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเสีย กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นเป็นคำร้องขอได้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำคดีมาให้ศาลวินิจฉัยตามคำร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.ถูกกล่าวหาประพฤติชั่ว แม้เกี่ยวข้องงานบริษัทเอกชน นายกฯมีอำนาจสอบสวน/ปลดออกจากราชการ ศาลไม่ชี้ขาด
โจทก์เป็นข้าราชการพลเรือน โจทก์จะต้องปฏิบัติตนตามวินัยข้าราชการพลเรือนโดยต้องรักษาชื่อเสียง มิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เมื่อโจทก์ถูกกล่าวหาว่า ไม่รักษาชื่อเสียง อันขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วแล้ว แม้ขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จะได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ก็ย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนได้
จำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ คำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งซึ่งสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนอันเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารจะสั่งได้โดยเฉพาะ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะเข้าไปชี้ขาดในเรื่องเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499)
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทน แต่คำบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 ถึง 24 ไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร และที่กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 8 ถึง 24 ทำการประชุมด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ไม่ปรากฏว่าได้กระทำอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ยศตำรวจหลังถูกปลดออก ไม่เป็นความผิด มาตรา 128 หากไม่มีคำสั่งถอดออกจากยศ
นายสิบตำรวจถูกปลดออกจากราชการ แต่ไม่ได้ถูกสั่งให้ออกจากยศประทวนด้วยใช้นามตำแหน่งยศนั้นว่า เป็นตำรวจสันติบาลไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 128