คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลดเปลื้องหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย และการปลดเปลื้องหนี้ตามหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยกู้ยืมเงิน 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 180,000 บาท โดยสัญญากู้ยืมเงินแต่ละฉบับตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน แต่ในสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับระบุว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 จำนวน 155,505 บาท จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระแต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้าง ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระต้นเงินที่ค้างชำระแต่ละคราวไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำสืบให้ได้ความชัดเจนว่าการชำระเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท ไม่ได้กำหนระยะเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้สินรายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่ม: หนี้ภาษีมีภาระเงินเพิ่มย่อมได้รับการปลดเปลื้องก่อน
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และเงินเพิ่มภาษีส่วนท้องถิ่นมิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งบทมาตราดังกล่าวหาใช่บทกฎหมายใกล้เคียงที่จะนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระมาหักชำระหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีก่อนได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่า ๆ กัน ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมาย ดังนี้ หนี้ค่าภาษีย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง จึงต้องนำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระไปหักชำระค่าภาษีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินและการชำระหนี้บางส่วน ไม่ปลดเปลื้องหนี้ทั้งหมด แม้คดีอาญาที่เกี่ยวข้องจะเลิกกัน
ศาลได้พิพากษาในคดีนี้ ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดใช้เงินจำนวน 15,000,000 บาท แก่โจทก์ มิฉะนั้นให้บังคับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 7ตามสัญญาจำนองในวงเงิน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 7 ได้ชำระเงินจำนวน600,000 บาท ในคดีที่จำเลยที่ 3 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับเช็คก็เป็นเหตุให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกัน หาเป็นการปลดเปลื้องหนี้ตามสัญญาจำนองที่ดินจากเดิมคงเหลือ 400,000 บาท ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนในคดีอาญาไม่ปลดเปลื้องหนี้ตามสัญญาจำนอง
ศาลได้พิพากษาในคดีนี้ ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดใช้เงินจำนวน 15,000,000 บาท แก่โจทก์ มิฉะนั้นให้บังคับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 7 ตามสัญญาจำนองในวงเงิน 1,000,000 บาทที่จำเลยที่ 7 ได้ชำระเงินจำนวน 600,000 บาท ในคดีที่จำเลยที่ 3ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับเช็คก็เป็นเหตุให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกัน หาเป็นการปลดเปลื้องหนี้ตามสัญญาจำนองที่ดินจากเดิมคงเหลือ 400,000 บาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลายรายการโดยไม่ระบุ การปลดเปลื้องหนี้เก่าที่สุดก่อน
ชำระหนี้หลายรายโดยไม่ระบุว่ารายใด ท่านให้หนี้รายตกหนักและเก่าที่สุดปลดเปลื้องไปก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการฟื้นฟูกิจการต่อหนี้ค้ำประกัน: การปลดเปลื้องหนี้และการไม่มีอำนาจฟ้อง
กฎหมายฟื้นฟูกิจการกำหนดให้เจ้าหนี้ในมูลหนี้เงินทั้งหลายของลูกหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทุกประเภทไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ หรือมีเงื่อนไขก็ตามได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินทั้งปวงของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้นได้รับการชำระสะสางไปภายในกรอบของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว จะทำให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้มาผูกพันกันตามที่กำหนดไว้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ส่วนหนี้อื่น ๆ ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นลูกหนี้จะได้รับการปลดเปลื้องไป และต่อมาเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้ว ในส่วนหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ลูกหนี้ก็คงต้องรับผิดเฉพาะหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ซึ่งยังค้างชำระอยู่ตามที่กำหนดไว้ในแผน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ได้ตกลงผูกพันตนเข้าค้ำประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อบริษัท ท. ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงถือว่า มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์นั้น ก็เนื่องจากบริษัท ท. เจ้าหนี้ ได้ยื่นคำขอ รับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว ตามมาตรา 90/27 วรรคสอง ประกอบมาตรา 101 ทั้งนี้เนื่องจากมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อบริษัท ท. และมูลหนี้ตามภาระค้ำประกันนั้นเป็นมูลหนี้จำนวนเดียวกัน หาใช่มูลหนี้ของโจทก์เป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและจำเลยได้ชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้ว และศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ จึงไม่มีหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามแผนอีกต่อไป การที่โจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. นั้น โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในการที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในฐานะผู้ค้ำประกันที่ได้ชำระหนี้ไปหาได้ไม่ เนื่องจากหนี้ดังกล่าวนั้นจำเลยได้รับการปลดเปลื้องไปแล้ว โดยคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ทั้งโจทก์จะรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะสวมสิทธิของเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ในการฟื้นฟูกิจการของจำเลยในหนี้ที่ยังค้างอยู่ก็ไม่อาจทำได้เนื่องจากจำเลยได้ชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง